จุฬาฯ - สอวช. สร้างเวที BCG Global Network กุญแจสำคัญขับเคลื่อน BCG Economy ไทย เชิญผู้เกี่ยวข้องด้านวิชาการและภาคเอกชนทั้งไทย - เทศ ตบเท้าแลกเปลี่ยนพร้อมสร้างเครือข่าย

พฤหัส ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๐๙:๐๔
"สุวิทย์" ร่วมเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ The 7 th International Conference on Bio-based Polymers (ICBP 2019) กล่าวปาฐกถา "BCG Model: New Inclusive Growth Engine for Thailand" ส่งท้ายงาน พร้อมจับมือเครือข่ายผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกพัฒนา BCG Model ของไทยอย่างก้าวกระโดด

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 7 th International Conference on Bio-based Polymers (ICBP2019) ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2562 ภายใต้หัวข้อเรื่อง Bio-based Polymers for Bio-Circular-Green Economy โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้จากเครือข่ายวิชาการ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยเฉพาะด้านวัสดุฐานชีวภาพ (Bio-based) สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก

ที่ครอบคลุมทั้ง เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และ พลาสติกชีวภาพ อย่างครบวงจร รวมถึงภาคอุตสาหกรรม จากประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี เช่น เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลี ไต้หวัน และภาคอุตสาหกรรมจากประเทศไทยกว่า 200 คน ร่วมแลกเปลี่ยนหารือตลอดการประชุม 3 วันเต็ม โดยในการประชุมครั้งนี้ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดปาฐกถาในหัวข้อเรื่อง "BCG Model: New Inclusive Growth Engine for Thailand" โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาเป็นผู้กล่าวปาฐกถาส่งท้ายการประชุม

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เปิดเผยในช่วงปาฐกถาว่า

การประชุมเชิงวิชาการนี้เป็นเวทีที่นักวิชาการนานาชาติมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาไบโอรีไฟเนอรี่ ไบโอเคมิคัล ไบโอโพลีเมอร์ และไบโอพลาสติก ซึ่งล้วนเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อน BCG Economy ที่เป็นข้อริเริ่มที่ อว. ต้องการจะผลักดัน โดยหัวใจสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อน BCG Economy คือ การผนึกกำลังการทำงานในรูปแบบของ "จตุภาคี" หรือ Quadruple Helix ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ/เอกชน ชุมชน/สังคม มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย รวมถึงเครือข่ายต่างประเทศ เพื่อพัฒนาต่อยอดและปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบทของไทย ซึ่งการประชุมหารือครั้งนี้ถือเป็นเวทีที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือจากนักวิจัยชั้นนำ และผู้เล่นสำคัญในด้าน Bio-based Polymer จากนานาประเทศ เพื่อหาแนวทางที่จะไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย แต่ยังรวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อพันธมิตรในระดับโลกด้วย และเชื่อว่าการประชุมในครั้งนี้ ที่มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้งจากภาครัฐและเอกชน นักวิชาการจากทั้งไทยและบริษัทชั้นนำระดับโลกมาร่วมงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ขั้นสูงที่จะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ Bio-based Polymer ของไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจมั่งคั่งอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางและอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 ได้นั้น ประเทศไทยจะต้องพัฒนาจากประเทศผู้ผลิตในอุตสาหกรรมหนักที่ใช้ทรัพยากรมาก (Thailand 3.0) ไปสู่ประเทศที่เน้นการใช้ความรู้เพื่อสร้างเศรษฐกิจ หรือ Thailand 4.0 ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อีกทั้งยังต้องสอดคล้องไปกับแนวทางการพัฒนาของประชาคมโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ดังนั้น BCG Economy จึงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ โดยหลักการของ BCG คือ การเปลี่ยนจุดแข็งของประเทศไทยในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้กลายเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี BCG จะต้องกลายมาเป็นอุตสาหกรรมและบริการที่สร้างเสถียรภาพและมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ 4.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 24% ของจีดีพี รวมถึงสร้างโอกาสในการส่งออก และสร้างงานรายได้สูงให้กับคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตำแหน่งในขณะเดียวกันทุกคนจะได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ตลอดจนคาดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มเป็น 240,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว การพัฒนาตามแนวทาง BCG ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้ทรัพยากรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนลดขยะและมลพิษอีกด้วย

ดร.สุวิทย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การพัฒนา BCG Economy ไม่เพียงส่งผลดีต่อประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในระดับภูมิภาคและระดับโลก เช่น การแก้ไขปัญหา PM2.5 การใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้น โดยการริเริ่ม BCG Economy ของประเทศไทยได้มีข้อริเริ่มใน 4 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ คือ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยจะมุ่งไปที่การอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้และการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ และการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยมีการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า โดยรัฐบาลจะส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนให้เกิดการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีนักศึกษากว่า 2 ล้านคน ที่กำลังเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจ BCG ซึ่งกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ธุรกิจ SME และผู้ประกอบการนวัตกรรม (IDE) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะชูข้อริเริ่ม BCG เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่สถานะที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้อย่างเท่าเทียมโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ

"ในวันนี้ เราต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อไปสู่ความยั่งยืน และต้องอาศัยกำลังความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องของการผลิตแต่รวมถึงการบริโภคด้วย เพราะฉะนั้น การจัดงาน ICBP 2019 ในครั้งนี้ ถือว่ายิ่งใหญ่และมาได้ถูกจังหวะถูกเวลา เพราะประเทศไทยเองกำลังผลักดันเรื่อง BCG Model ซึ่งก็สอดรับกับการจัดงานตลอด 3 วันที่ผ่านมานี้ ทั้งเรื่อง ไบโอเคมิคัล ไบโอโพลีเมอร์ และไบโอพลาสติก ซึ่งล้วนแล้วแต่ไปตอบโจทย์ของความยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไปอย่างมีคุณภาพและมีความสมดุล ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังผลักดัน BCG Model หลายเรื่อง ทั้งเรื่อง Zero Waste PM 2.5 การสร้างมูลค่าจากขยะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ อว. และ สอวช.พยายามผลักดันภายใต้แพลตฟอร์มโจทย์ประเด็นท้าทายทางสังคม ซึ่งเป็นประเด็นที่เราทุกคนต้องช่วยกัน และ อว. ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยการดำเนินงานของเรามีโจทย์การวิจัยที่ชัดเจนที่ไม่ใช่แค่ดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพียงด้านเดียว แต่รวมถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ขณะเดียวกันการขับเคลื่อน BCG Model จะประสบความสำเร็จได้นั้น มหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เรามีความหลากหลายของมหาวิทยาลัย เรามีมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องการวิจัยขั้นแนวหน้า หรือ Frontier Research อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นเรื่องของเทคโนโลยี อย่างมหาวิทยาลัยราชมงคล มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า และยังมีมหาวิทยาลัยในเชิงพื้นที่อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฎ ประเด็น BCG เป็นเรื่องที่ต้องผนึกกำลังทุกภาคส่วน ไม่ใช่เป็นการพัฒนาแค่ในระดับนโยบาย แต่ต้องขับเคลื่อนลงไปสู่ระดับพื้นที่ให้ได้ เพราะฉะนั้นกลไกของ อว. ที่มีมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันวิจัยมาผนึกกำลัง จะสามารถทำงานตอบโจทย์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประสิทธิภาพ และยิ่งมีความร่วมมือจากต่างประเทศ มาผนวกร่วมกับความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และชุมชนแล้ว

จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ประเทศไทยจะพลิกโฉม และเป็นประเทศที่มีส่วนในการทำให้โลกเราน่าอยู่และเติบโตอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง" ดร.สุวิทย์ กล่าว

สำหรับกลไกการพัฒนา BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย "4 ประเด็นขับเคลื่อน" และ "4 ประเด็นส่งเสริม" โดย 4 ประเด็นขับเคลื่อน BCG ประกอบด้วย 1. การพัฒนาสาขายุทธศาสตร์ BCG 2. การเตรียมกำลังคน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ BCG โดยกลุ่มคนเป้าหมายที่ต้องพัฒนาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน BCG Economy ประกอบด้วย 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสตาร์ทอัพ (Startups) กลุ่มผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprises: IDEs) กลุ่มสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmers) กลุ่มผู้ให้บริการมูลค่าสูง (High Value Service Providers)

กลุ่มผู้สร้างนวัตกรรมเชิงลึก (Deep Technology Developers) และกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneurs) ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Enterprise) 3. การพัฒนาเชิงพื้นที่ BCG

โดยสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการเชื่อมโยงและมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในระดับภูมิภาคควบคู่ไปด้วยกัน ประกอบด้วย ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เน้นการพัฒนาระบบการเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าสูง ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมล้านนา (Creative Lanna) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) เน้นแก้ไขปัญหาสุขภาพหลักของประชากรในพื้นที่ เช่น พยาธิใบไม้ตับ รวมถึงส่งเสริมการผลิตสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) มุ่งเน้นการพัฒนาผลผลิตทางด้านการเกษตรโดยเฉพาะกลุ่มไม้ผล รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอนาคต และระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) มุ่งเน้นการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวปักษ์ใต้ยุคใหม่ 4. การพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า BCG ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ Complex Microbiota เทคโนโลยีโอมิกส์ (OMICs) วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering) Gene Editing และ Synthetic Biology เทคโนโลยีในย่านความถี่เทราเฮิร์ซ (Terahertz Technology) เทคโนโลยีการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ (Decarbonization) และการนำคาร์บอนไดออกไซด์ระดับโมเลกุลพัฒนาเป็นวัสดุชีวภาพในรูปแบบวัสดุหมุนเวียนขั้นสูง เทคโนโลยีประมวลความเร็วสูงด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ และเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มขั้นสูง เป็นต้น ส่วน 4 ประเด็นส่งเสริมการพัฒนา BCG ประกอบด้วย 1. การปลดล็อคกฏหมาย กฎระเบียบและการกำหนดมาตรการ BCG เช่น Regulatory Sandbox การออกกฎหมาย กฏ ระเบียบที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม 2. โครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุน BCG เช่น Biobank, National Quality Infrastructure (NQI), pilot plant, High Performance Computing (HPC), high speed connection network 3. การยกระดับความสามารถของกำลังคน BCG เพื่อรองรับเศรษฐกิจ BCG จำเป็นต้องดำเนินการในหลายระดับเพื่อเสริมความรู้และสร้างทักษะ BGC อาทิ การพัฒนาบุคลากรวิชาชีพเฉพาะ เช่น นักวิจัยเคมีชีวภาพศาสตร์ด้าน biorefinery นักอนุกรมวิธานวิทยา (Taxonomy) ปรับปรุงหรือเพิ่มหลักสูตรที่เกี่ยวข้องรองรับความต้องการของทั้งนิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน และ 4. การยกระดับเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ BCG (BCG Global Network) การเชื่อมโยงเครือข่ายต่างประเทศเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนา BCG Economy โดยประเทศไทยต้องสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก สถาบันการวิจัยชั้นนำ และบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นนำของโลก เพื่อพัฒนาต่อยอด ดึงความร่วมมือ การลงทุน และปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบทของไทย เช่น การสร้างการเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศดังที่ได้เห็นจากการจัดงานประชุมในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตามแนวทาง BCG จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนและปลูกฝังมุมมอง (Mindset) หรือวัฒนธรรมของคนไทย ใน 4 เรื่อง (4 W's) คือ Human Wisdom การปรับเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาจาก "Ego Centric" คือ การยึดหลักมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เป็น "Eco Centric" คือ การยึดโลกเป็นศูนย์กลางแล้วจึงนำมาสู่สังคม เศรษฐกิจและมนุษย์ Social Wellbeing การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก "Me Society" เป็น "We Society" ซึ่ง BCG จะมุ่งสร้างวัฒนธรรมความร่วมมือในการสรรค์สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคมโดยรวม Environmental Wellness เปลี่ยนจาก "Nature as Resource" เป็น "Nature as Source" ธรรมชาติไม่ใช่แค่เพียงทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตเท่านั้น แต่ธรรมชาติคือแหล่งกำเนิดของชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลกซึ่งรวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์เรา ดังนั้นจึงต้องรักษาสมดุลที่ดีไว้ และ Economic Wealth ที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจที่มุ่งเน้นการแข่งกันผลิตและขายให้ได้จำนวนมาก "Making & Selling" เป็นรูปแบบธุรกิจที่อาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน "Sharing & Caring"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้