กระทรวงการต่างประเทศและกองทุนประชากรแห่งสหประชาติร่วมจัดกิจกรรม TICA Connect ครั้งที่ 4

ศุกร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๔๕
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ร่วมจัดกิจกรรม TICA Connect ครั้งที่ 4 'The 4th TICA Connect: Five Decades of Thailand and UNFPA partnership: Advancing towards Sustainable Development Goals (SDGs)' ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อฉลองปีที่ 47 ที่ประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติดำเนินงานในการเป็นหุ้นส่วนและมีความร่วมมือแบบใต้-ใต้ (South-South Cooperation) เพื่อสนับสนุนสุขภาพมารดา นโยบายด้านประชากรและการพัฒนา และเพื่อจัดแสดงหลักปฏิบัติที่ดีจากประเทศไทยในการเป็นภาคีเพื่อการพัฒนาทางสังคมที่สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ที่กำลังพัฒนาบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573

ในโอกาสนี้ พณฯ วีระศักดิ์ ฟูตระกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเปิดกิจกรรมฉลองการครบรอบ 47 ปีของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ว่า "ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติได้ร่วมมือทำงานกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนในการดูแลสุขภาพมารดา การวางแผนครอบครัว การลดการติดเชื้อเอชไอวี และนโยบายด้านประชากรและการพัฒนา ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 5 ของความร่วมมือและมีความมุ่งมั่นให้ประชากรหนุ่มสาวและกลุ่มเปราะบางเข้าถึงสิทธิและบริการด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และแบ่งปันหลักปฏิบัติที่ดีจากประเทศไทยในการสนับสนุนสุขภาพมารดาสู่ประเทศกำลังพัฒนาผ่านกรอบความร่วมมือแบบใต้-ใต้ โดยกรอบครวมร่วมมือดังกล่าวเป็นเวทีที่ให้ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลกให้สามารถบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573"

ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนสุขภาพมารดา นโยบายด้านประชากรและการพัฒนา โดยเห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตของมารดาที่ลดลงอย่างมาก จากอัตรามารดาตาย 115 คนต่อเกิดมีชีพ 100,000 คนเมื่อพ.ศ. 2523 สู่อัตรามารดาตาย 44 คนต่อเกิดมีชีพ 100,000 คนเมื่อพ.ศ. 2533 และสู่อัตรามารดาตาย 20 คนต่อเกิดมีชีพ 100,000 คน ในพ.ศ. 2558 จำนวนอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้ลดลงจากประมาณร้อยละ 20-40 ในช่วงปีพ.ศ. 2533 ไปสู่ร้อยละ 1.9 ในช่วงปีพ.ศ. 2558 และจำนวนการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ได้ลดลงจากร้อยละ 2 สู่ร้อยละ 0.6 ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ให้คำมั่นสัญญาในการดูแลสุขภาพของทุกคนในประเทศผ่านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งจะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่ 3 ของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้แน่ใจว่าประชากรทุกคนทุกวัยในประเทศจะมีชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีความเป็นอยู่ที่ดี

และเมื่อมองไปสู่ปีต่อๆ ไปข้างหน้าในการที่จะทำให้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 เกิดขึ้นจริง คุณมาเซล่า

ซูอาโซ ผู้อำนวยการกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวเน้นย้ำถึงการที่ประเทศไทยเป็นภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับประชาคมโลก ว่า "ประเทศไทยได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและศักยภาพในการดูแลประชากรทุกกลุ่มในประเทศรวมไปถึงประชากรกลุ่มเปราะบาง กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติชื่นชมที่ประเทศไทยได้กำหนดให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 เพื่อสนับสนุนประชากรทุกกลุ่มรวมถึงวัยรุ่นให้มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างแท้จริง โดยพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนี้สร้างหลักประกันให้วัยรุ่นทุกคนได้เข้าถึงสิทธิและบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญที่ได้พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริงในการส่งเสริมสุขภาพมารดากับประเทศกำลังพัฒนาผ่านกรอบความร่วมมือแบบใต้-ใต้ตลอดเกือบ 5 ทศวรรษที่ผ่านมาและในปีต่อๆ ไปที่กำลังมาถึง ทั้งนี้ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติยืนหยัดที่จะทำงานผนึกกำลังกับประเทศไทยผ่านกรอบความร่วมมือแบบใต้-ใต้นี้เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสักคนในประเทศไทยและในที่ต่างๆ ของโลกถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง"

ทั้งนี้ ประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติริเริ่มความร่วมมือกันในปี พ.ศ. 2515 โดยตลอดเกือบ 5 ทศวรรษนี้ ประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มต่างๆ ซึ่งได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ประชาคมสังคม เพื่อผลักดันเป้าหมายภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องประชากรกับการพัฒนา (ICPD) ที่เน้นการปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพมารดา การเข้าถึงการให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์แบบองค์รวม การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่อการพัฒนาและการตอบสนองต่อข้อท้าทายใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นด้านประชากร เช่น การเข้าสู่ภาวะสูงวัย ปัจจุบัน ประเทศไทยและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติปรารถนาที่จะลดภาวะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กำหนดนโยบายที่ตอบสนองต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัย และการเป็นภาคีที่มีความมุ่งมั่นต่อกันและกันในการผลักดันการพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือแบบใต้-ใต้กับประเทศต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและในประชาคมโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๒๔ เม.ย. อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ