ปัจจัยที่ทำให้รถไฟเข้าไทยช้ากว่าประเทศอื่น

จันทร์ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๐๑
Electricity car จะเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเราช้ากว่าประเทศอื่นจริงหรือ

วันนี้ทาง Drivemate.asia จะมาเล่าเรื่องราวในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2560 จนถึงเดือนมิถุนายน 2561 ว่าเรื่องราวในโลกรถยนต์ใบนี้ มีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง คงไม่ได้ลงลึกไปในรายละเอียด เพราะข่าวคราวแวดวง ยานยนต์ เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่มีเวลา พักผ่อน ไม่มีเว้นวันหยุด เพียงเอาเรื่องที่ควรรู้มาเรียงร้อยให้ได้รับทราบ หรืออาจเก็บเป็นความทรงจำ

ปีนี้มาคุยกันในเรื่องของโลกใบเล็กๆ นี้ก่อน ขอ แยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ 3 ประเด็น

ประเด็นแรก อดีตซีอีโอกลุ่ม เฟียต ไดรสเลอร์ ถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลในเมืองซูริค สวิทเชอร์ แลนด์ ด้วยวัยเพียง 66 ปี หลังจากเข้ารับการผ่าตัด ไหล่ข้างขวา แต่อยู่ในโรงพยาบาลนานเกือบ 3 สัปดาห์ จนคณะกรมการกลุ่ม เฟียต ไดรสเลอร์ ต้องแต่งตั้ง ประธานใหม่ และมาออกข่าวทีหลังว่า แซร์โจ มาร์ชิ โอนเน ถึงแก่กรรมแล้ว

เป็นที่ทราบกันในวงการผู้สื่อข่าว ว่าอดีตซีอีโอ ของกลุ่ม เพียต และประธานบริษัท แฟร์รารี ติดกาแฟ อย่างหนัก รวมทั้งเคยสูบบุหรี่จัดด้วย เลยไม่ค่อยมีวาระ ซ่อนเร้นให้ได้ขุดคุยกันมากเท่ได ทั้งก่อนหน้าที่จะเข้าโรงพยาบาล อดีตซีอีโอประกาศอย่างเป็นทางการ วา เตรียมที่จะสละตำแหน่ง ในเวลาอันควร แต่ยังไม่มี โอกาสได้ชี้แจงมากนัก

คณะกรรมการกลุ่ม เฟียต แต่งตั้ง บไรทัน ไมค์ แมนลีย์ อดีตผู้บริหารค่าย จีพ ให้เข้ามาทำหน้าที่ชีอีโอ

ถัดมาประเด็นที่ 2 ประเด็นนี้เริ่มกันราวเดือน กรกฎาคม 2561 ที่กระเทือนกับค่ายรถยนต์ไปทั่วทั้ง โลก เมื่อท่านประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมพ์ ประกาศ สงครามการคกับประเทศจีน โดยเริ่มเรียกเก็บภาษี เพิ่มอีก 25 % จำนวน 818 รายการ วงเงิน 34,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ สำหรับสินค้ที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่ง ประเด็นใหญ่ คือ รถยนต์ และอะไหล่ และประเทศจีน ก็ตอบโต้โดยการตั้งมาตรการเรียกเก็บภาษีที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เพิ่มอีก 25 % เช่นกัน ในวงเงิน 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสินค้า 282 รายการ เรียกว่าตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยมาตรการของทั้ง 2 ฝ่าย เริ่มมีผลบังคับใช้เอาปลายเดือนสิงหาคม

ขณะเดียวกัน ท่านประธานาธิบดี ทรัมพ์ ก็อาละวาดไปถึงกลุ่มสหภาพยุโรปเช่นกัน โดยเรียกเก็บอัตราภาษีเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้สั่งนำเข้า

และแม้ว่าประเทศไทย จะไม่มีปฏิสัมพันธ์กับ สหรัฐอเมริกาโดยตรง แต่บอกได้ทันทีว่า เรากระเทือน แน่นอน แต่น่าจะเป็นในระยะยาว โดยเฉพาะทางด้าน อะไหล่ยานยนต์ ที่ส่งออกแบบเงียบๆ ไปสหรัฐอเมริกา บ้าง จีนบ้าง ไม่ค่อยเป็นข่าว ก็คงกลางปี 2562 นี่แหละ ที่จะเริ่มเป็นข่าวกันได้เสียที

ส่วนประเด็นที่ 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องของค่ายรถยนต์ จากจีน โดยเฉพาะบรรดาค่ายที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่ๆ ประเภทรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ พากันเตรียมการบุกเข้าไป จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และยุโรป นำรถไปจัดแสดง ในงานมหกรรมยานยนต์ดีทรอยท์. มหกรรมยานยนต์ ปารีส รวมทั้งเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ของสหรัฐอเมริกา ประกาศขายหุ้นอย่างเป็นทางการ มากมายหลายยี่ห้อ แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะประกาศ สงครามการคกับประเทศจีน ก็ไม่หวั่นแต่อย่างใด

เรื่องนี้เรียกไต้วเป็นข่วคันมาแทบทุกเดือน สำหรับค่ายรถยนต์ชื่อแปลกๆ ที่เพิ่งก้าวเข้าสวงการ บุกเข้าสู่ตลาดอเมริกาเหนือ และยุโรป นั่นคือความ เป็นไปที่น่จับตามองสำหรับวงการยานยนต์ของโลก ใบนี้ หันกลับมามองกันแค่ในประเทศไทยกันบ้าง ว่า 6 เดือนหลังของปีก่อน กับ 6 เดือนแรกของปีนี้ มีอะไร น่าสนใจกันบ้าง

ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2560 ตูลาดรถยนต์ เติบโตค่อนข้างดี 124 % ทำได้ 340.182 คัน บรรดา ค่ายรถยนต์พากันประเมินว่า ปี 2560 ยอดขายจะ สามารถทำได้เกิน 840.00 คัน เพราะไม่มีความวุ่นวาย ใด การเมืองนิ่ง เศรษฐกิจไหลเรื่อย นักการตลาดก็ยัง พากันโหมกระหน่ำแคมเปญ มีกันถึงถ้าเป็นลูกค้าเก่า ไม่ต้องดาวน์ก็ได้ แถมรถราคาแพง ก็ยินดีให้ดอกเบี้ย 0 % สนุกสนานกันมากมาย

ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวด้านการสนับสนุน รถไฟฟ้า ให้เกิดขึ้นได้ในบ้านเรา ก็เริ่มมีข่าวหนาหูขึ้น เรื่อยๆ โดยค่ายยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันของไทย ออกมา เปิดเผยถึงแผนงานในแผนกลยุทธ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560- 2564 ของ ปตท.ฯ ในส่วนของธุรกิจน้ำมัน ก็มีการเตรียม ความพร้อมที่จะเข้สู่ธุรกิจด้ปลีกที่ไม่ใช่น้ำมัน หรือ NON-0iL มากขึ้น

ค่าย ปตทฯ ได้เริ่มศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี รถไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2554 เพื่อสร้างองค์ความรู้และ เตรียมความพร้อมรองรับธุรกิจรถไฟฟ้า โดยปัจจุบัน ปตท.ฯ มี PTT EV STATION ที่มีเครื่องชาร์จไฟที่ได้ มาตรฐานยุโรป (C) และมาตรฐานญี่ปุ่น (CHADEMO) ทั้งหมด 6 แห่ง โดยมีแผนที่จะขยายความร่วมมือด้าน ธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยจับมือกับ 2 ค่าย รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น คือ นิสสัน และมิตชูบิชิ และ กับอีก 4 ค่ายรถยนต์ชั้นนำ บีเอมดับเบิลยู เมร์เชเดส- เบนซ์ โพร์เช และโวลโว

ขณะเดียวกัน สถาบันยานยนต์ก็เปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการให้ความรู้ ด้านรถไฟฟ เพราะประเมินว่า ภายใน 2-3 ปี ตลาด รถไฟฟ้จะขยายตัวมากขึ้น ตามนโยบายส่งเสริมของ รัฐบาล ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีเส้นตาย กำหนดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561

และน่าจะเป็นเรื่องคู่ขนานกัน เพราะบรรดาค่าย รถยนต์ ต่างพากันสนใจยื่นขอแผนส่งเสริมการลงทุน รถยนต์ไฮบริด ซึ่งเส้นตายกำหนดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เพราะข้อเสนอ การลดภาษีสรรพสามิต ลงครึ่งหนึ่งในทุกอัตราการปล่อยไอเสียหรือไม่เกิน 100 กรัม/กม. จาก 10% เหลือ 5% ขณะที่ อีวี ปรับให้เหลือ 2% จากเดิม 10%

หลังจากตัวเลขการขาย 6 เดือนแรกของปี 2560 รายงานโดยค่ายยักษ์ใหญ่ มียอดขายรวมอยู่ที่ 409,980 คัน เพิ่มขึ้น 11.2 % ทำให้บรรดาค่ายรถยนต์ต่างพากัน ปรับเป้าการขายประจำปีกันยกใหญ่ โดยค่าย โตโยตา ปรับประมาณการยอดขายโดยรวม :30.000 คัน เพิ่ม ขึ้น : % ขณะเดียวกัน ก็ยืนยันที่จะทำตลาดรถยนต์ ไฮบริดตามการส่งเสริมของรัฐบาล ด้วยเงินลงทุน 2 หมื่นล้านบาท

ตามมาด้วยการเปิดสนามทดสอบ ฮอนดา อาร์ แอนด์ดี เอเชียแปซิฟิค ปราจีนบุรี อย่างเป็นทางการ ณ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ. ปราจีนบุรี ในพื้นที่กว่า 500 ไร่ ด้วยเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท โดยไทยเป็นประเทศ ที่ 3 ที่มีสนามทดสอบของ ฮอนดา ต่อจากญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ฮอนดา ในประเทศไทย และในตลาดเอเชีย และโอเชียเนีย รวม ทั้งยานยนต์จากภูมิภาคอื่นมาทดสอบที่นี่ด้วยในอนาคต

หันมองทางภาคราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม ก็ขยับตัวรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ด้วยการ วางแนวทาง หรือ ROADMAP เพื่อเป็นเข็มทิศนำทาง และขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 40 อย่าง เป็นรูปธรรม โดยดำเนินการใน 4 สาขานำร่อง ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 2. อุตสาหกรรม หุ่นยนต์ 3. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 4 อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

และในห้วงนี้ ข่าวจากคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน หรือ บีโอไอ ก็ประกาศการสนับสนุน กไรอัมฟ มอเตอร์ไซเคิลส์ ขยายกิจการประกอบรถจักรยานยนต์ ที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 500 ซีขึ้นไป เงินลงทุน 3,359 ล้นบาท กำลังผลิตปีละประมาณ 120,000 คัน

ตามมาด้วย โตโยตา ส่งเสริมขยายกิจการผลิต รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HEV: HYBRID ELECTRIC VEHICLES) กำลังการผลิตปีละ 70,000 คัน การผลิต แบกเตอรีสำหรับรถไฟฟ้า ปีละประมาณ 70๐๐0 ชิ้น และชิ้นส่วนยานพาหนะ ปีละประมาณ 9.100,000 ชิ้น เงินลงทุน 19,016 ล้านบาท

และอีก 3 ค่าย ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายระยะทาง 2 กม. เงินลงทุน 22036 ล้านบาท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรลฯ สาย สีชมพู ระยะทาง 345 กม. เงินลงทุน 46,06 ล้านบาท และอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรลฯ สายสีเหลือง ระยะ ทาง 30.4 กม. เงินลงทุน 43404 ล้านบาท

ตามมาด้วยข่าวคราวของสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ลงนามร่วมกับค่ายรถยนตั ในการเลือกใช้ยางล้อที่ได้มาตรฐาน มอก. เพื่อความ ปลอดภัยของผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนน พร้อมระบุ มาตรฐานบังคับ 4 มาตรฐาน ได้แก่ มอก. 2718 255e ยางล้อแบบสูบลมสำหรับรถยนต์และส่วนพ่วง มอก. 2719-2558 ยางล้อแบบสูบลมสำหรับรถยนต์เชิง พาณิชย์และส่วนพ่วง มอก. 2720-2558 ยางล้อแบบ สูบลมสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปด มอก. 2721- 2559 การยึดเกาะถนนบนพื้นเปียก ความต้านทานการ หมุน และเสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน ที่พร้อมจะ บังคับใช้ในปี 2561

จากนั้นก็เป็นข่าวของโครงการศูนย์ทดสอบ ยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ที่เตรียมจะมอบหมาย ให้สถาบันยานยนต์เป็นผู้บริหารศูนย์ทดสอบ ซึ่งกำลัง ก่อสร้าง กำหนดแล้วเสร็จในปี 2561

ขณะเดียวกันค่ายยักษ์ใหญ่โตโยตา ก็เริ่มแนะนำ ระบบ คาร์ แชริง (CAR SHARING) ด้วยการนำรถยนต์ ไฟฟ้าที่นั่งเดี่ยว HAMO ขนาดเล็ก เข้ามาแนะนำใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นทั้งใน ส่วนของการผลิตรถยนต์ และการใช้ชีวิตในสังคม ก็ ร่วมกันทำโครงการทดสอบระบบการแบ่งปันรถกันใช้ สำหรับการเดินทางส่วนบุคคล โดยเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคม 250 เป็นโครงการนำร่องเพื่อการเก็บข้อมูลเบื้องตัน

ตามมาด้วยข่วใหญ่แห่งอุตสาหกรรมการผลิตชิ้น ส่วน เมื่อค่าย ไทยซัมมิทฯ ประกาศตั้งโรงงานผลิตตัว ถังรถยนต์ ในมลรัฐเคนทัดกี สหรัฐอเมริกา เพื่อการ ผลิตป้อนให้กับรถไฟฟ้า เทสลา สำหรับรุ่น โมเดล 3

ส่วนการลงออกชิ้นส่วนยานยนต์ ในช่วง 6 เดือน แรกของปี 2560 ขยายตัว 13.9 % คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9,0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการขยายตั้วทั้งกลุ่มผลิต เพื่อการประกอบรถยนต์ หรือโออีเอม กลุ่มชิ้นส่วน อะไหล่ และกลุ่มการประกอบตกแต่งยานยนต์ โดย มั่นใจว่าการส่งออกในปี 2560 จะขยายตัวได้ 5 % หรือ มีมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ต่อด้วยข่าวคราวของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาค ตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลกำหนดเป็นพื้นที่พิเศษ เริ่ม ด้วย ค่าย โตโยตา ก็เตรียมผลิตรถไฮบริด-ไฟฟ้า ด้วย เงินทุน 19,016 ล้านบาท หลังได้รับการส่งเสริมการ ลงทุนเรียบร้อย ส่วนค่ายอื่นๆ ก็นจะมีบีเอมดับเบิลยู ผลิตรถไฮบริดไฟฟ และแบกเตอรี ส่วน ฟอมม์ และ บีวายดี ก็สนใจเรื่องรถบัสไฟฟ้า ตามมาต้วยศูนย์ซ่อม บำรุงอากาศยานที่การบินไทยร่วมกับแอร์บัส

ด้านภาคเอกชน โดยพลังงานบริสุทธิ์ฯ ก็ลงนาม บันทึกความเข้าใจกับการไฟฟ้านครหลวง ผลักดัน โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าภายในปี 251 จะมีจุดบริการทั่วประเทศ 1,000 แห่ง ด้วยเงินลงทุนราว 60 ล้านบาท พร้อมเปิดแผน ลงทุนตั้งโรงงานผลิตแบทเตอรึไนประเทศไทย คาดว่า จะเริ่มเฟสแรกด้วยขนาดกำลังการผลิต 1.000 เมกะ วัตต์ชั่วโมง (ทพ) และจากนั้นจะเริ่มลงทุนในเฟส 2 อีก 49.000 เมกะวัตต์ชั่วโมง (ทพH) ซึ่งจะแล้วเสร็จใน ปี 2564 มีกำลังการผลิตรวม 50.00 เมกะวัตต์เชั่วโมง รวมวงเงินลงทุนทั้งหมด 10.000 ล้านบาท โดยมีเป้า หมายส่งออกไปยังประเทศในย่านอาเชียนเป็นหลัก

แต่ที่เป็นเรื่องปวดหัวของค่ายรถยนต์ในปี 2560 เห็นจะเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง ที่ได้ประกาศอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ เมื่อวันที่ 16 กันยายน โดย ปรับรูปแบบการจัดเก็บภาษีรถยนต์ จากเดิมคิดอัตรา ภาษีหน้าโรงงาน ไปเป็นการจัดเก็บภาษี ณ ที่ขาย

แม้ว่าอัตราภาษีดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบ หรือ การเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยอัตราภาษีส่วนใหญ่อยู่ใน เกณฑ์ที่ลดลงจากของเดิม พียงแต่รูปแบบและวิธีการ คำนวณที่เปลี่ยนไปจากเดิม คิดจากราคาหน้าโรงงาน จากฐานภาษีเดิม มาจากราคาขายปลีก 76 % ขยับเป็น ฐานภาษีจากราคาขายปลึก 100 % ณ จุดจำหน่ายนั้นให้ ช่องว่างของราคา ก็เลยวุ่นวายกันพอสมควร

ล่าสุดยังมีประเด็นการเปิดเขตการคเสรี "เอฟที่ เอ"จีน-อาเซียน ที่ลดภาษีนำเข้าสินคระหว่างกันหลาย รายการ และหนึ่งในนั้นมีรถพลังงานไฟฟ้ารวมอยู่ด้วย จึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้ค่ายรถยนต์จากจีน หรือผู้ ประกอบการไทย อาศัยช่องทางนี้นำเข้ารถ อีวี โดยไม่ เสียภาษีนำเข้า และทำราคาได้น่าสนใจมากขึ้น แม้จะ เสียภาษีสรรพสามิต 10%

เรื่องนี้ ทำให้ ครม. ต้องมอบหมายให้กรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ เข้าไปดูรายละเอียด เพื่อไม่ให้ ไทยเกิดความเสียเปรียบ ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์ที่ สนใจจะผลิตรถยนต์ฟฟก็มีการพูดคุยกันบ้าง แต่ใน เบื้องตันยังไม่รู้ว่าผลจะออกมาในลักษณะไหน แต่ต้อง ยอมรับว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะแรงทีเดียว

แต่รายงานข่าวจากกรมศุลกากร ระบุระหว่างปื 2555-2559 ไทยมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามา ภายใต้สิทธิ์ CFT เพียง 7 คัน มูลค่ารวม 87 ล้าน บาท ส่วนการนำเข้ารถยนต์นั่งไฟฟ้าเข้ามาจำหน่าย เชิงพาณิชย์ในไทยถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะจะ ต้องมีการลงทุนตั้งสถานีชาร์จไฟรองรับ ขณะรถยนต์ นั่งไฟฟ้าในจีนก็ถือว่าเพิ่งเริ่มต้น ยังผลิตจำหน่ายเชิง พาณิชย์หลักแสนคัน เท่านั้นเอง

แต่รายงานข่าวที่นสนใจที่สุดในช่วงปลายปี 2560 เป็นเรื่องที่กระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น (มติ) มอบหมายให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนด้าน ไฟฟ้า เดนโซ เข้ามาหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือให้เกิดการ เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้น สูงของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้า

"การทำเอมโอยูครั้งนี้ คล้ายๆ กับให้มีเวทีการ เจรจาเกิดขึ้น ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมกับการสนับสนุนและข้อเสนอจากทางฝ่าย ญี่ปุ่น ว่าต้องการอะไรบ้าง รวมถึงการฝึกอบรมด้าน บุคลากรขึ้นมารองรับ ซึ่งจะมีค่ายรถยนต์ต่างๆ เข้า มาร่วมด้วย"

และขอบันทึกเป็นข่าวสุดท้ายไว้ตรงนี้ว่า งาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34" ปี 2560 ที่ผ่านมา ยอด จองรถยนต์ในงานมีจำนวนทั้งสิ้น 39832 คัน เพิ่มขึ้น จากปีก่อน 229 % โดย 5 อันดับสูงสุด ได้แก่ อันดับ 1 ฮอนดา 6488 คัน อันดับ 2โตโยตา 5456 คัน อันดับ 3 มาชดา 5.015 คัน อันดับ 4 อีซูชุ 4479 คัน และอันดับ 5 เมร์เซเดส-เบนช์ 2,701 คัน

ยอดจองรถจักรยานยนต์รวม 7.711 คัน สูงกว่า เป้าที่ตั้งไว้เล็กน้อย อันดับ 1 ได้แก่ จีพีเอกซ์ 1.115 คัน อันดับ 2 คาวาชากิ 904 คัน อันดับ 3 ริวคะ 831 คัน อันดับ 4 ยามาฮา 805 คัน และอันดับ 5 ฮอนดา 741 คัน มีเงินหมุนเวียนภายในงานราว 52.000 ล้านบาท ผู เข้าชุมงานจำนวน 1.360.605 คน เพิ่มขึ้น 14.2 % "

งานปีนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยการ สนับสนุนจาก บริษัทรถยนต์รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ เกี่ยวเนื่อง รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ตลอดจนผู้เข้าชมงาน และสื่อมวลชนทุกแขนง"

ปี 2561 บันทึกไว้เป็นเรื่องแรกของปี เมื่อสภา อุตสาหกรรม ตั้งเป้ายอดการผลิตเอาไว้ 1.97 ล้านคัน แบ่งเป็น ขายในประเทศ 8.7 แสนคัน เติบโต 2 % โดย ประเมินการส่งออกเท่ากับปี 2560 ที่ 1.1 ล้านคัน

ปี 2561 เพียงเริ่มต้นปี ก็มีการคาดการณ์เอาไว้ ว่าน่าจะขายได้กว่า 880.000 คัน เพราะมีปัจจัยที่ชี้ไป ในทิศทางที่จะเป็นบวกต่อยอดขายรถยนต์ อาทิ การ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนภาคเอกชน

ที่ฟื้นตัวดีขึ้น รวมถึงภาคการส่งออกที่มีทิศทางขยาย ตัวต่อเนื่องจากปีก่อน, การท่องเที่ยวในประเทศที่ยังคง ขยายตัวจากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น, ระดับอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวในปี 2561 เป็น ผลเชิงบวกให้สถาบันการเงินไม่มีปัจจัยกดดันให้ต้อง เพิ่มความเข้มงวดเป็นพิเศษในการปล่อยสินเชื่อ. การ เปลี่ยนการถือครองรถยนต์คันแรก ที่ครบกำหนด 5 ปี แล้ว เป็นรถคันใหม

ขณะที่ เจกโร ประเทศไทย (JETRO) สำรวจ แนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นใน ประเทศไทย พบว่า บริษัทญี่ปุ่นในไทยมองว่าในช่วงครึ่ง ปีหลังของ 2560 มีแนวโน้มปรับตัวดีอย่างชัดเจน และ คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของ 2561 ดัชนีแนวโน้ม เศรษฐกิจไทย (DI) จะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับประเด็นการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

อีอีซี พบว่า ภายหลังร่าง พรบ. อีอีซี แล้วเสร็จ ซึ่งคาด ว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ผู้ประกอบการ ญี่ปุ่นก็คาดหวังจะได้เห็นนโยบายเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนั้นน่าจะทำให้หลายบริษัทตัดสินใจได้ชัดเจนว่าจะ ทำอย่างไรต่อไป

ขณะเดียวกัน ค่าย เมร์เซเดส-เบนซ์ ก็ทำพิธีวาง ศิลาฤกษ์โรงงานผลิตแบทเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าแบบ พลัก-อิน ไฮบริด ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ รัฐบาล โดยก่อสร้างและเตรียมการประกอบยานยนต์ ไฟฟ้า (อีวี) ที่โรงงาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟค เจอวิ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิที จ. ระยอง โดย บริษัทได้ยื่นขอสนับสนุนการลงทุนต่อสำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตยานยนต์ ไฟฟ้าส่วนของพลัก-อิน ไฮบริด และโรงงานประกอบ แบกเตอรีลงทุนราว 2.00 ล้านบาท คาดจะเริ่มการ ผลิตในปี 2562

แต่ที่กระทบกระเทือนการส่งออกตั้งแต่ต้นปี ก็คือ การที่รัฐบาลเวียดนามออกกฎระเบียบเงื่อนไขเกี่ยวกับ การผลิต การค้า และการนำเข้ารถยนต์ (DECREE 116) มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2561 ส่งผลให้รถยนต์ที่นำ เข้าทุกการขนส่ง (SHPMENT) ต้องตรวจไอเสีย และ ความปลอดภัย รวมถึงมีเอกสารรับรองจากหน่วยงาน ของประเทศผู้ส่งออก โดยให้เหตุผลว่าเป็นระเบียบที่ กำหนดเพื่อควบคุมความปลอดภัยของรถยนต์จากทุก ประเทศ สร้างความกังวลใจให้แก่ผู้ประกอบการไทย และทำให้การส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบของ ไทยไปยังตลาดเวียดนามในช่วง 2 เดือนแรกของปื คือ มกราคม-กุมภาพันธ์ ปรับตัวลดลง จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 30 % ทำให้รัฐบาลไทยและเวียดนามผลัก ดันการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวนี้มากว่า 3 เดือน

ล่าสุด กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ ฮอนดา ได้ทดลองส่ง ออกรถยนต์ลอกแรกไปเวียดนามแล้ว 2.000 คัน อยู่ ระหว่างติดตามผลการดำเนินการตรวจสอบ

ตามมาด้วยข่าวที่กระทรวงพลังงาน จะส่งเสริมการ ผสมไบโอดีเซล บี 10 ในเนื้อน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 10 % ไบโอดีเชล บี 10) จากปัจจุบัน 7 % ไบโอดีเชล บี 7) โดยจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่า สามารถนำไป ใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ แต่ยังต้องใช้เวลาทดสอบ ให้ค่ายรถยนต์เกิดความมั่นใจก่อน คาดว่าผลการศึกษา จะแล้วเสร็จสิ้นก่อนปลายปีนี้ จากนั้นกรมคาดว่าจะ สามารถออก "ประกาศ กำหนดสัดส่วนการผสมน้ำมัน ปาล์มบริสุทธิ์ 100 % (บี 100) ในน้ำมันดีเชล เพิ่มขึ้นจาก 7% เป็น 10%" เพื่อจำหน่ายเป็นน้ำมันไบโอดีเซล บี 10 ได้เร็วสุดในปลายปีนี้

และแล้วก็กลับมาถึงเรื่องโครงการศูนย์ทดสอบยางล้อแห่งชาติ โดยการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ เฟส 1 จะเสร็จในเดือนกันยายน 2561 ล่าช้ากว่ากำหนด 3 เดือน เพราะการประมูลครั้งแรกไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล แต่ขณะนี้ได้ผู้ก่อสร้างแล้ว คือ บริษัทนิปปอนการโยธา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และมีประสบการณ์สร้างสนามทดสอบรถยนต์ที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น

ก่อนจะถึงครึ่งปี สมอ ก็ประกาศเตรียมยกร่าง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-CURVE) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ในประเภทกลุ่มรถยนต์ ไฟฟ้า (ะง ทั้งหมด 18 มาตรฐาน โดยในจำนวนนี้มี 5 มาตรฐานที่เตรียมจะประกาศใช้ ได้แก่ 1. มอก. 61851 (เล่ม 1-25x) ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ ไฟฟ้า ข้อกำหนดทั่วไป 2. มอก. 61851 (เล่ม 21-25xx) ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า ขอ กำหนดของยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมผ่านตัวนำ ไปยังแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ/ตรง 3. มอก. 61851 (เล่ม 22-25x) ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยาน ยนต์ไฟฟ้า เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับ ยานยนต์ไฟฟ้า 4. มอก. 61851 (เล่ม 23-25xx) ระบบ ประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องอัด ประจุไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 5. มอก. 61851 (เล่ม 23-25x) ระบบประจุไฟฟ้ผ่านตัวนำของ ยานยนต์ไฟฟ้า การสื่อสารแบบดิจิทอลระหว่างสถานี อัดประจุยานยนต์ ไฟฟ้ากระแสตรงและยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับควบคุมการอัดประจุ

ก็เป็นเรื่องที่ดี ที่มีการเตรียมการเพื่อรองรับการ ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพียงแต่ที่เหลืออีก 13 มาตรฐาน ก็ ควรจะพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในปี 2561 น่าจะเป็น เรื่องที่ดีมากทีเดียว

อีกข่าวหนึ่ง องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ของญี่ปุ่น (งETRO) ร่วมลงนามกับ สถาบันยานยนต์ ในหนังสือแสดงเจตจำนง (LETTER OF INTENT: LO) เรื่อง "การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่" เพื่อประสานความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ และการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของทั้ง 2 ประเทศ ประกอบด้วย ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV ยานยนต์ไฟฟ้พลัก-อิน ไฮบริด (PHEV ยานยนต์ไฟฟ้า แบกเตอรี (BEV) ยานยนต์ไฟฟ้าเชลล์เชื้อเพลิง (FCEV) และยานยนต์แห่งอนาคต ระยะเวลา 3 ปี

นับว่าเป็นก้าวสำคัญ ในการแสดงศักยภาพร่วม กันระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ยานยนต์ ให้มีความก้าวหน้าอย่างมั่นคงทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต

นอกจากนี้ สถาบันยานยนต์ ยังให้ความเห็นอย่าง เป็นทางการครั้งแรกว่า กระแสความตื่นตัวเรื่องรถยนต์ พลังงานไฟฟ้าพลัก-อิน ไฮบริดนั้น เชื่อว่าจะต้องใช้ที่คาดว่าประเทศไทยจะมีความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ราว 25 % ของยอดผลิตรถยนต์ทั้งหมด

และข่าวแสดงความยินดีที่ มิตชูบิชิ มอเตอร์ส คอร์พอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น และมิตชูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทยฯ ฉลองอีกหนึ่งความสำเร็จการดำเนิน ธุรกิจในประเทศไทย หลังจากผลิตรถยนต์ครบ 5 ล้าน คัน ที่ศูนย์การผลิตแหลมฉบัง โดยรถยนต์คันที่ 5 ล้าน คือมิตชูบิชิ ปาเจโร สปอร์ท ที่ค่ายมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ยาหอมเอาไว้ว่า กำลังการผลิตในประเทศไทยมีบทบาท สำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตของ มิตชูบิชิ มอเตอร์ส ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ในระดับโลก

ล่าสุด ค่ายรถยนต์ญี่ปุนหลายรายเข้ามาหารือ พร้อมเสนอรายละเอียดการลงทุนแพคเกจ อีโคคาร์ เฟส 2 แต่จะขอพ่วงแพคเกจไฮบริด, พลัก-อิน ไฮบริด และอีวี เข้าไปด้วย พร้อมระบุว่า เทคโนโลยีไฮบริด นั้นในปัจจุบันมีหลายแบบหลายขั้นหลากหลายชีรีส สิ่งที่รัฐบาลควรโฟคัส คือ ผลลัพธ์ของการใช้เทคโนโลยี โดยมองที่อัตราสิ้นเปลืองและการปล่อยค่าไอเสีย มากกว่า จึงขอให้มีการพิจารณาทางด้นอัตราภาษี ใหม่ โดยควรดูที่เอาท์พุกการปล่อยไอเสียและการ ประหยัดน้ำมัน

และท้ายสุด ยอดการผลิตรถยนต์เดือนมิถุนายน 2561 ผลิตได้ 188970 คัน เพิ่มขึ้น 771 % จำหน่ายใน ประเทศ 93.407 คัน เพิ่มขึ้น 20.1 % ดังนั้นจึงมีโอกาส ที่ปี 2561 ไทยจะสามารถผลิตรถยนต์รวม 2.1 ล้านคัน สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดไว้ 2 ล้านคัน

โดยสรุปรวมตลาดรถยนต์ครึ่งหลังของปี 2560 และครึ่งแรกของปี 2561 ก็นับว่าไม่เลวเลยที่เดียว ยอดการจำหน่ายรถยนต์ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ อันจะ ทำให้ปลายปี 2561 นี้ ได้เฉลิมฉลองยอดการจำหน่าย กันอีกครั้ง

แต่สำหรับเรื่องของรถไฟฟ้ สำหรับประเทศไทย นั้น ยังคงมีอีกหลายยกที่จะต้องพิจารณากันในราย ละเอียด โดยเฉพาะที่เพิ่งมาท้วงกันเรื่องอัตราภาษี ที ระบบไฮบริดล้วนๆ ระบบไฮบริด-ไฟฟ้า หรือ พลัก-อิน ไฮบริด กับรถยนต์ไฟฟ้า ระบบการทำงานไม่เหมือนกัน ความสิ้นเปลืองแตกต่งกัน ขอให้รัฐบาลทบทวนด้วย ก็แสดงว่า รถยนต์ไฟฟ้า จะมาช้า นะจ๊ะ

Supported Content by Drivemate.asia

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!