“เสถียรภาพ” การใช้พลังงานหมุนเวียน เอาแน่ เอานอน ได้หรือไม่ ??

ศุกร์ ๒๗ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๑๗
วันนี้พลังงานกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญแนวโน้มการใช้พลังงานประเภทต่างๆเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม เราต้องอย่าลืมว่ากว่าร้อยปีที่ผ่านมาหลังจากที่เราค้นพบและรู้จักเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) ประเภทต่างๆ เช่น นำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลังงานหลักที่เรายังคงใช้กันอยู่จนทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลนั่นเอง

เชื้อเพลิงฟอสซิล คือ อินทรีย์สารใต้พื้นโลกที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์เมื่อหลายล้านปีก่อน เราต้องยอมรับว่าตอนนี้เรากำลังใช้ของที่เกิดขึ้นในอดีตอยู่ และใช้กันอย่างแพร่หลายไม่บันยะบันยังกันมาเวลานาน สมบัติเก่าที่ใช้เวลานับล้านปีในการกำเนิดถูกเรานำมันมาเผาเพียงไม่กี่วินาที แน่นอนว่าจะมีปริมาณลดลงและมีราคาที่สูงขึ้น และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นผลตามมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็คือ ก๊าซเรือนกระจกซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน

การแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆมาใช้ทดแทนแหล่งพลังงานเดิมที่มีอยู่จึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน และที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในวันนี้คงเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) นั่นเอง พลังงานหมุนเวียน ก็คือพลังงานจากแหล่งที่สามารถนำมาใช้โดยไม่มีวันหมด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานที่เกิดจากขยะมูลฝอย ทั้งจากภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม พลังงานเหล่านี้แตกต่างจากพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล คือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสามารถสร้างขึ้นทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น

แม้ว่าพลังงานหมุนเวียนจะเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีให้ใช้อยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ จึงทำให้ยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนแหล่งพลังงานดั้งเดิมที่ถูกใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้ทั้งหมด ซึ่งข้อจำกัดที่สำคัญนั่นก็คือ "เสถียรภาพในการใช้งาน" ตัวอย่างใกล้ตัวเห็นจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีอยู่ในช่วง 12.00 - 16.00 น ในขณะที่ช่วงเวลาที่เราต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด คือ หลังเลิกงาน 18.00 - 21.00 น และอีกข้อจำกัดก็คือในฤดูฝนเราจะทำอย่างไรหากมีเมฆฝนหรือเกิดฝนฟ้าคะนองทั้งวันทั้งคืนและไม่มีแสงแดด เช่น ภาคใต้ ซึ่งมีสภาพอากาศแบบ ฝน 8 แดด 4 โดยเฉพาะพลังงานลมซึ่งก็หนักกว่า นึกจะมาก็มา บางครั้งมาเบาๆ บางช่วงมาเป็นพายุ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้พลังงานที่ผลิตได้อาจจะไม่พอเพียงกับความต้องการของเราหรือยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า นี่แหละที่เรียกว่า "ขาดเสถียรภาพในการใช้" หากเป็นการใช้ในบ้านเรือนทั่วไปก็คงไม่มีผลกระทบเท่าไหร่ แต่หากเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมคงเสียหายเป็นจำนวนมาก

แน่นอนวิธีแก้ไขก็มี หากต้องการใช้แหล่งพลังงานธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ ก็มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเสริม เช่น ระบบสะสมพลังงาน (Energy storage) และ ระบบจัดการการใช้พลังงาน (Energy management) แน่นอนเทคโนโลยีเหล่านี้มาพร้อมกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

ปัญหาเสถียรภาพของพลังงานที่ผลิตจากแหล่งพลังงานจากธรรมชาติมิใช่เกิดกับระบบเล็กๆ เพียงเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเชื่อมต่อกับระบบสายส่งเพื่อจำหน่ายกระแสไฟฟ้าคืนสู่ทางการไฟฟ้า ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีและน่าส่งเสริมในการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญยังเป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและลดปริมาณการนำเข้าพลังงานสิ้นเปลืองบางประเภทจากต่างประเทศได้อีกด้วย แต่เราต้องเข้าใจว่าสามารถทำได้อย่างจำนวนจำกัด เพราะหากมากเกินไปจะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศขาดเสถียรภาพไม่ต่างจากระบบเล็กๆเลย เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ต้นทุนในการบริหารจัดการสูงขึ้น สุดท้ายกลายเป็นภาระที่พวกเราประชาชนทั่วไปต้องรับผิดชอบค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่เพิ่มสูงขึ้น

ผมเห็นด้วยกับการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานสะอาด ร่วมเป็นแนวร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อมและลดปริมาณการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศครับ แต่ในส่วนของผู้ประกอบการซึ่งทำเป็นธุรกิจเพื่อเชื่อมต่อสายและส่งจำหน่ายคืนทางการคงจะต้องทำในสัดส่วนที่เหมาะสม เพราะหากมากเกินไปจนอาจส่งผลต่อเสถียรภาพในการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าของประเทศ อันนี้จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาของประเทศ

โดย ผศ.ดร.ฐกฤต ปานขลิบ

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?