ซีพีเอฟอานิสงส์เอดี คาดส่งออกกุ้งทั้งปีเติบโตฉลุย

จันทร์ ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๐๙:๒๔
นายพิสิฐ โอมพรนุวัฒน์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจการค้าต่างประเทศ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากผลการทบทวนอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping หรือ AD) สินค้ากุ้งแช่แข็งของประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำปีครั้งที่ 5 (POR 5) โดยมีอัตราภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 0.41 — 0.73% ลดลงจากเดิมที่มีอัตรา 1.11 — 4.39% ว่าจะส่งผลดีโดยรวมต่อประเทศ เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของไทย โดยสินค้ากุ้งกว่าร้อยละ 46 ในปี 2553 ที่ไทยผลิตถูกส่งไปขายในตลาดนี้ อัตราภาษีที่ลดลงข้างต้นจึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกุ้งแช่แข็งไทยในตลาดสหรัฐฯ สำหรับซีพีเอฟ ซึ่งเป็นผู้นำการส่งออกในอุตสาหกรรมกุ้ง ก็จะได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีที่ลดลงนี้ด้วย โดยในภาพรวมการส่งออกกุ้งของปีนี้คาดว่าจะสามารถส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกาฯเพิ่มขึ้นประมาณ 35% จากปริมาณการส่งออกในปีที่ผ่านมา (2553)

นายพิสิฐ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาตลาดสหรัฐฯยอมรับในคุณภาพและมาตรฐานการผลิตกุ้งของไทย และจากผลการทบทวนอัตราภาษีเอดีที่ลดลง ก็นับเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสินค้าส่งออกกุ้งไทยไม่ได้มีการทุ่มตลาดในสหรัฐฯแต่อย่างใด โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกกุ้งโดยรวมทั้งอุตสาหกรรมที่ปริมาณ 407,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 100,400 ล้านบาท ในส่วนของซีพีเอฟมีสัดส่วนส่งออกกุ้งในปีดังกล่าวอยู่ที่ 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ร้อยละ 20 ในปีนี้ (2554) โดยคาดการจะมีสัดส่วนส่งออกที่เพิ่มขึ้นโดดเด่นในตลาดหลักคือ สหรัฐฯ ที่ 35% ส่วนยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่ 15-25%

ทั้งนี้ จากปริมาณการส่งออกของประเทศไทยข้างต้นส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯที่ 45% และในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมาของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย. 2554) ส่งออกที่ 58,970 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น คือจาก 14,224 ล้านบาท เป็น 16,123 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สามารถสร้างมูลค่าราคาที่สูงขึ้นได้ในตลาด ส่งผลให้ยอดส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน ซึ่งในส่วนของซีพีเอฟได้ดำเนินกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักของอาหารปลอดภัย (Food safety) และการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่ดำเนินธุรกิจกุ้งครบวงจร จึงนับเป็นผลดีต่อการเติบโตของยอดขายอาหารกุ้ง และการผลิตลูกกุ้งตามไปด้วย

สำหรับ อัตราภาษีเอดีที่ไทยได้รับปัจจุบันเฉลี่ยที่ 0.73% เป็นอัตราที่ต่ำกว่าคู่แข่งสำคัญ อย่างประเทศจีน ที่ถูกเรียกเก็บอัตราร้อยละ 112.8 อินเดีย ที่อัตราร้อยละ 1.69 และเวียดนาม ซึ่งถูกเรียกเก็บที่ 1.52%./

ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ CPF

โทร. 02-625-7343-5, 02-631-0641, 02-638-2713

E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน
๑๖:๕๑ realme เสริมทัพ Portrait Master! เตรียมนำเข้ารุ่นเล็กสเปกคุ้ม ทั้ง realme 12 5G และ realme 12X 5G
๑๖:๔๕ งานช้อปคุ้มค่าเพื่อบ้าน FURNITURE LIVING DESIGN 2024@BITEC
๑๖:๓๑ แซนดี้กลับมาทวงบัลลังก์แชมป์ Super Car GT3 อีกครั้ง
๑๖:๕๖ อวานี สุขุมวิท กรุงเทพฯ ชวนนักชิมมาปลดล็อคความอร่อยกับเช็ตเมนูอาหารนานาชาติรังสรรค์โดยเชฟภิญโญ เพชรหยอย
๑๖:๕๕ หน้าร้อนประเทศไทย แตะ 45 องศา เปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่ อาจเป็นวิธีดับร้อนดีกว่าที่คิด