โคคา-โคลาเดินหน้า 'โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ เกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย’ เสริมแกร่งพันธมิตรทางธุรกิจ พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยร่วมกัน

พุธ ๑๔ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๓:๕๙
· โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา ระยะแรก ที่เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้ช่วยพัฒนาศักยภาพเจ้าของร้านค้าปลีกหญิงไปแล้วกว่า 10,000 คน ทั่วประเทศ

· เดินหน้าโครงการฯ ระยะที่ 2 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย นำร่อง 1 ปี ด้วยงบลงทุนโครงการนำร่องจากโคคา-โคลา 4 ล้านบาท มุ่งพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย 600 คน

· มุ่งสร้างคุณค่าร่วมอย่างยั่งยืนให้กับผู้หญิงในห่วงโซ่คุณค่าหรือแวลูเชนของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาผ่านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน และร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่สร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่า 150,000 ล้านบาท ต่อปี

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย)จำกัด บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้า 'โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย' ร่วมกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม หลังจากเปิดตัวโครงการฯ เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเจ้าของร้านค้าปลีกหญิงเมื่อปีพ.ศ. 2557 โดยล่าสุด โคคา-โคลา ลงทุน 4 ล้านบาทในโครงการนำร่องเพิ่มศักยภาพเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย 600 คน ในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ด้วยการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการการเงินและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใน 1 ปี (สิงหาคม พ.ศ. 2559 – กรกฎาคม พ.ศ. 2560) โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายผลการดำเนินโครงการฯ นำร่องไปสู่เกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยและกลุ่มพันธมิตรผู้ผลิตวัตถุดิบน้ำตาลรายอื่นในระยะต่อไป เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมกัน และการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ

นายพรวุฒิ สารสิน ประธานกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กล่าวว่า "ในฐานะผู้นำตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทย กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคลาฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม กล่าวคือการสร้างธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน จากการเปิดตัวโครงการในระยะแรกในปี 2557 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าของร้านค้าปลีกหญิง จนถึงขณะนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ"

"ในปีนี้ กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาฯ ได้ขยายโครงการฯ ไปสู่กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย โดยเราได้ร่วมกับพันธมิตรในการออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นในสองหัวข้อหลัก คือ การบริหารการเงินส่วนบุคคล และการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน อันเกิดจากการประเมินความต้องการของเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย[1] ซึ่งพบว่า กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลครอบครัวและมีอำนาจตัดสินใจทางการเงิน แต่ยังขาดความรู้และทักษะในสองเรื่องนี้ ทั้งนี้ โครงการฯ ในระยะที่สองนี้ จะไม่เพียงสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยในการประกอบอาชีพและดูแลครอบครัวเท่านั้น แต่ยังสร้างคุณค่าร่วมให้ทุกฝ่ายที่ทำงานในโครงการฯ คือ ส่งเสริมพันธกิจพัฒนาศักยภาพเกษตรกรชาวไร่อ้อยของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลและจัดหาวัตถุดิบที่ได้คุณภาพของน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยองค์ความรู้ของสถาบันคีนันแห่งเอเซีย และ สอดคล้องกับพันธกิจการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน (Sustainable Sourcing) ของโคคา-โคลา"

ดร.ณัฐพล อัษฎาธร กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าวว่า "โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างแท้จริง และสอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ที่เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวไร่อ้อย และได้ดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการเตรียมและบำรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรีย์และปรับปรุงคุณภาพดิน การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน ไปจนกระทั่งการส่งเสริมการลดการเผาอ้อยในฤดูเก็บเกี่ยว ตลอดจนมีการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกอ้อยและการทำอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้คัดเลือกเกษตรกรสตรีกลุ่มเป้าหมายรวม 600 คน ที่มีศักยภาพในการต่อยอดองค์ความรู้ให้เครือข่ายเกษตรกร เข้าร่วมโครงการฯ และมีเจ้าหน้าที่บริษัทฯ 30 คน เข้ารับการอบรมเพื่อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงกับกลุ่มเกษตรกรให้คำแนะนำและติดตามผลตลอดโครงการฯ โดยคาดว่าหลังจากนี้ 1 ปี เกษตรกรสตรีที่เข้าร่วมโครงการจะมีผลการทดสอบระดับความรู้เรื่องการทำเกษตรอย่างยั่งยืน เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20"

นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการและรองประธานกรรมการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า "การฝึกอบรมเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยในโครงการฯ นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไร่อ้อยให้ดีขึ้นผ่านการเสริมสร้างทักษะการทำบัญชีและการบริหารจัดการเงินในครัวเรือน โดยสถาบันคีนันแห่งเอเซียเป็นองค์กรซึ่งทำงานด้านนี้มายาวนานกว่า 15 ปี เราจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับโครงการฯ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการของเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยกลุ่มเป้าหมาย และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการการเงิน ที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้น ซึ่งเบื้องต้นได้เริ่มทำการอบรมไปแล้วกว่า 200 คน และตลอดการดำเนินโครงการฯ จะมีการติดตามและประเมินผลเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการหรือปัจจัยต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ คาดว่า ภายหลังเข้ารับการอบรม เกษตรกรสตรีจะมีผลการทดสอบระดับความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงิน เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และมีระดับความตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการการเงินเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30"

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า "อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจไทย เพราะสร้างงานให้เกษตรกรกว่า 600,000 คน สร้างรายได้ให้ประเทศจากการบริโภคในประเทศและส่งออกถึงปีละ 150,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.6 % ของจีดีพี[2] โดยไทยส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล และอันดับ 1 ในเอเชีย และยังเอื้อต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ อาหาร พลังงาน ผลิตภัณฑ์ชีวเคมี สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีพันธกิจขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสู่ความเป็นเลิศ และจะร่วมผลักดันและประชาสัมพันธ์การส่งเสริมศักยภาพกลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ในโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลาฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยให้เกษตรกรปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

'โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา' เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลก '5by20' ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงในห่วงโซ่คุณค่าของโคคา-โคลา ได้แก่ ร้านค้าปลีก ผู้ผลิตวัตถุดิบ ซัพพลายเออร์ผู้แทนจำหน่าย คนเก็บบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไป รีไซเคิล และช่างฝีมือที่ใช้วัสดุจากผลิตภัณฑ์ จำนวน 5 ล้านคน ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ภายในปีพ.ศ. 2563 มีที่มาจากรายงานขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ที่ระบุว่า ผู้หญิงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือ การใช้จ่ายทั่วโลกที่เกิดจากผู้หญิงมีมูลค่าสูงกว่า 20 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และแรงงานของผู้หญิงคิดเป็นร้อยละ 66 ของแรงงานทั่วโลก แต่รายได้ของผู้หญิงกลับมีเพียงร้อยละ 10 ของรายได้รวมของทั้งโลก ในขณะที่ผู้หญิงนำรายได้กว่าร้อยละ 90 ไปใช้จ่ายในครัวเรือน ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพของผู้หญิงให้สามารถเพิ่มรายได้จึงถือเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ของสังคมในภาพรวม ปัจจุบัน ในระดับโลก โคคา-โคลาได้พัฒนาศักยภาพผู้หญิงไปแล้วกว่า 1.2 ล้านคน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!