Ericsson Consumer Lab ชี้ถึงพฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ทีวีและวิดีโอที่เปลี่ยนแปลงไป

อังคาร ๒๔ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๗:๑๖
Ericsson Consumer Lab ชี้ถึงพฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ทีวีและวิดีโอที่เปลี่ยนแปลงไป

- 72 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาชมทีวีและวิดีโอบนโทรศัพท์ทุกๆสัปดาห์

- พฤติกรรมผู้รับชมต่างต้องการที่จะสามารถรับชมวีดีโอได้อย่างต่อเนื่องแม้จะมีการเปลี่ยนอุปกรณ์การรับชมในสถานการณ์หรือเวลาที่แตกต่างกัน

- มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของคนที่อายุมากกว่า 60 ปี ชอบที่จะรับชมทีวี แบบ on demand

- ผู้บริโภคจัดอันดับ การรับชมในรูปแบบ “อะ ลา คาร์ท วิดีโอ” (? la carte VDO) เป็นหนึ่งในห้า (top 5) ปัจจัยหลักที่ช่วยสร้างประสบการณ์ทางการรับชม (viewing experience)ได้ดีที่สุด

ผลการวิจัยประจำปีฉบับที่ 4 ของอีริคสัน คอนซูเมอร์แล็บ (Ericsson ConsumerLab) ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติและแนวโน้มของผู้บริโภคต่อการรับชมทีวีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจ

72 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือเพื่อรับชมวิดีโออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดย 42 เปอร์เซ็นต์รับชมในเวลาที่อยู่นอกบ้าน และที่สำคํญ 75 เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มคนที่มีชอบทำกิจกรรมหลายๆอย่างพร้อมๆกัน (multi-tasks) นั้นจะมีใช้การใช้โทรศัพท์มือถือด้วยในขณะที่กำลังรับชมทีวี

นอกจากนี้ ยังแนวโน้มใหม่อีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจก็คือ ผู้บริโภคมีการรับชมวีดีโอหรือคอนเทนต์แบบต่อเนื่องกันในช่วงเวลาและสถานที่ต่างกันอีกด้วย อีริคสัน คอนซูเมอร์แล็บเรียกแนวโน้มนี้ว่าเป็นการรับชมแบบ “place-shifted viewing” หรือ “การรับชมได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆสถานที่”

41 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 69 ปี รับชมทีวีบนรายการในแบบ streamed on-demand หรือ “place-shifted viewing” (การรับชมได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆสถานที่) มากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์

นาย บัญญัติ เกิดนิยม, ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์, อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า"ในประเทศไทย ประมาณ 27% ของผู้ใช้แท็บเล็ตรับชมเนื้อหาของรายการโทรทัศน์หรือวิดีโอบนแท็บเล็ตของพวกเขา โดยขณะที่ 32% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนก็ชมผ่านสตรีมมิ่งวิดีโอบนอุปกรณ์ของพวกเขาเช่นกัน "

นาย บัญญัติ กล่าวเสริมว่า “ในเวลาที่อุตสาหกรรมทีวีต่างเริ่มมีการพูดถึงทีวีบนมือถือ ทุกคนต่างคิดเหมารวมว่าทีวีบนมือถือ ก็คือ การชมวิดีโอคลิปอย่างสั้นๆที่ได้รับการตัดต่อมาอย่างดีเยี่ยม แต่ทุกวันนี้ เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้ชมทีวีบนมือถือที่ต่างออกไป ซึ่งนั่นคือพวกเขาต่างรับชมโชว์และภาพยนตร์ที่ยาวๆเหมือนที่ชมอยู่ในทีวีที่บ้านนั้นเอง เพียงแต่จะเป็นการรับชมแบบช่วงสั่นๆแบบต่อเนื่องกันโดยมีการใช้ฟังค์ชั่น pause (หยุด) และ resume (เล่นต่อ) เพื่อที่จะรับชมได้อย่างต่อเนื่องจากครั้งก่อนได้ในทุกๆสถานที่และทุกๆช่วงเวลาที่เอื้ออำนวยต่อการรับชมของพวกเขานั้นเอง ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจเริ่มรับชมในขณะกำลังเดินทางไปทำงานและหยุดเมื่อถึงที่ทำงาน เริ่มชมต่อในขณะทานข้าว ระหว่างพักเบรค ในขณะเดินทางกลับบ้าน และแม้แต่กระทั่งช่วงก่อนนอนก็ตาม

“นอกจากนี้ เรายังสังเกตว่ากำลังมีการให้คำนิยามในแบบใหม่ๆสำหรับการรับชมทีวีและวิดีโอของผู้บริโภคอีกด้วย ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคนจำนวนกว่า 82 เปอร์เซ็นต์ใช้ youtube หรือบริการที่คล้ายคลึงกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง ดังนั้นเราก็อาจจะตั้งข้อสงสัยได้ว่า การรับชมรายการสอนทำอาหารออนไลน์ควรจะถูกจัดอยู่ในประเภท “การรับชมทีวี” หรือว่า “การเรียนการสอนวิธีการทำอาหาร” กันแน่” นาย บัญญัติ กล่าวเสริม

ในความเป็นจริง ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งกล่าวว่าการเชื่อมต่อทั้งคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนตนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการรับชมทีวีและวิดีโอไปแล้ว โดยเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้ผู้ชมสามารถที่จะเลือกและค้นหา รายการข้อมูล และกำหนดช่วงเวลาที่ต้องการรับชมได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย

นาย บัญญัติ กล่าวต่อไปอีกว่า “การให้บริการ อะ ลา คาร์ททีวี (? la carte TV) จะช่วยรองรับความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของเลือกและรับชมทีวีและวิดีโอได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย และที่สำคัญ ผู้บริโภคยังมีการจัดอันดับว่า อะลาคาร์ท ทีวี (? la carte TV) เป็นหนึ่งในห้าปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ทางการรับชมที่ดีอีกด้วย

การรับชมมัลติมีเดีย (multimedia) ที่หลากหลายเป็นสิ่งที่สำคัญ โดย นาย บัญญัติ กล่าวต่อไปอีกว่า “ในอดีต เราได้เห็นการเติบโตของบริการ on demand viewing ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ ณ ปัจจุบันแม้เราเห็นว่าแนวโน้มนั้นเริ่มที่จะกำลังลดน้อยลง แต่เราก็ยังเห็นอัตราการขยายตัวของ on demand viewing ในบางกลุ่มโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 55-59 ปี ซึ่งเราอาจมองกลุ่มนี้เป็นพวก ผู้ตอบรับการใช้งานรุ่นหลัง หรือ late adopters ก็ได้ โดย 18 เปอร์เซ็นต์บอกว่ามีการรับชม on demand viewing เพิ่มมากขึ้นกว่าทุกสัปดาห์ ตั้งแต่ปี 2011

และที่สำคัญ นี้ยังไม่ใช่การสิ้นสุดของยุคการรับชมถ่ายทอดทีวีในแบบคลาสสิค โดยการรับชมการถ่ายทอดทีวียังคงมีความสำคัญกับผู้บริโภค และเรายังไม่เห็นปริมาณการรับชมที่ลดลง ในจำนวน 36 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าการรับชมถ่ายทอดสดกีฬาทางทีวียังคงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพวกเขาอีกด้วย

ผลการวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาจากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศบลาซิล แคนาดา ชิลี จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เม็กซิโก รัสเซีย เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ไต้หวัน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Face-to-face interview) กับผู้บริโภคจำนวน 30 คนจาก 4 เมืองใหญ่และ การสัมภาษณ์ออนไลน์ กับ 15,000 คนอีกด้วย

ข้อมูลประเทศไทยมีพื้นฐานมากจากการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์แบบออนไลน์กับ 1000 คนที่อยู่ในเมืองไทยที่มีอายุระหว่าง 16-60 ปีโดยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาจาก 43 ประเทศครอบคลุมทั้งหมด 38,000 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital