Ericsson ConsumerLab ชี้ การรับชมแบบสตรีมมิ่ง Streaming มีอัตราใกล้เคียงกับการรับชมทีวีแบบดั้งเดิม โดยผู้ใช้ต่างต้องการเข้าถึงสื่อในทุกๆที่

พุธ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๐๗
- การรับชมแบบสตรีมมิ่งนั้นขยับเข้าใกล้การรับชมทีวีแบบตามผังเวลามากขึ้น โดยต่างกันประมาณ สองเปอร์เซ็นต์ ในการรับชมต่อสัปดาห์

- ในช่วงเวลาเพียงแค่สองปีเท่านั้น ผู้บริโภคนั้นมีความพร้อมที่จะจ่ายเพื่อเข้าถึงเนื้อหาบนเครื่องมือถือต่างๆ มากขึ้นโดยจำนวนของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นมานั้นคิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 25 เมื่อเปรียบกับ ปี 2012

- ความนิยมในการรับชมรายการโทรทัศน์หลายตอนแบบยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบหรือ Binge viewing กำลังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากบริการวีดีโอออนดีมานด์ใหม่ๆ ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น

รายงานประจำปีฉบับล่าสุด Ericsson ConsumerLab TV & Media Report 2014 ได้ชี้ให้เห็นว่าการสตรีมมิ่ง (Streaming) วีดีโอนั้นได้รับความนิยมอย่างมากจนเกือบเทียบเท่าการรับชมโทรทัศน์แบบดั้งเดิมที่ถ่ายทอดตามผังเวลาแล้ว โดยสถิติผู้ชมร้อยละ 75 ที่รับชมเนื้อหาสตรีมหลายครั้งต่อสัปดาห์เทียบกับร้อยละ 77 ของผู้ที่ยังรับชมรายการทีวีแบบดั้งเดิมหลายครั้งต่อสัปดาห์

การวิจัยนี้ได้ทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ห้า โดยพบว่าเกือบหนึ่งในห้าของผู้ชม (ร้อยละ 19) นั้นมีความพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อที่จะเข้าถึงเนื้อหาที่พวกเขาชอบบนเครื่องมือไหนๆก็ได้ ทั้งนี้ จำนวนของผู้ชมในกลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้นมาถึงร้อยละ 25 ในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น

ผลการวิจัยนั้นมาจากกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์มากกว่า 23,000 คนใน 23 ประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้ชมนั้นจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโทรทัศน์และสื่อ โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบและการให้บริการเก่าๆ และนำมาซึ่งยุคใหม่แห่งความบันเทิงออนดีมานด์คุณภาพสูง

นอกจากนี้ ในรายงานยังแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาในการรับชมเนื้อหาบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการเปิดเผยด้วยว่าผู้บริโภคหลายคนมองว่าการออกอากาศทีวีแบบดั้งเดิมและช่องรายการแบบเพย์ทีวีเปรียบเป็น "คลังเนื้อหา" ที่สามารถคัดสรรเนื้อหาไว้รับชมในภายหลังได้ด้วยการใช้เครื่องบันทึกวีดีโอดิจิตอลหรือ DVR (Digital Video Recorder) นอกจากนั้นแล้วฟังค์ชั่นของ DVR ยังช่วยสร้างความต่อเนื่องให้กับกระแสการรับชมแบบ Binge viewing หรือการดูรายการโทรทัศน์หลายตอนแบบยาวนานต่อเนื่อง โดยแต่เดิมเริ่มได้รับอิทธิพลมาจากการรับชมแผ่นละครทีวีและภาพยนตร์ภาคต่อแบบ Boxed Set โดยเราจะเห็นว่าประสบการณ์รับชมนั้นจะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการรับชมทีวีแบบดั้งเดิมด้วยการรอรับชมรายการโปรดตอนใหม่ในแต่ละสัปดาห์

พร้อมกันนี้ผู้ชมหลายคนยังหันมาใช้บริการวีดีโอออนดีมานด์แบบบอกรับสมาชิกหรือ S-VOD (Subscription-Video On Demand) เช่น Netflix และ Hulu โดยผู้ชมร้อยละ 48 กล่าวว่าอยากจะให้ละครเรื่องโปรดทุกตอนอย่าง Breaking Bad และ House of Cards นั้นออกมาพร้อมๆ กันจะได้เลือกได้ว่าจะรับชมตอนไหน

นาย บัญญัติ เกิดนิยม, ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์บริษัทอีริคสัน ประเทศไทยกล่าวว่า "งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 56 ของคนที่จ่ายให้กับบริการวีดีโอออนดีมานด์แบบบอกรับสมาชิก (S-VOD) นั้นอยากจะให้มีละครทีวีที่ดูได้ทุกตอนในคราวเดียวกันเพื่อที่จะได้รับชมตามความสะดวกของตน เทียบกับร้อยละ 45 ของผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการดังกล่าว และ นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่บริการดังกล่าวมีต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค"

"นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในพฤติกรรมการรับชมแบบ Binge watch ผู้ชมบางคนเริ่มดูละครทีวีก็เมื่อละครมีการออกฉายออกอากาศไปซักระยะหนึ่ง โดยพวกเขาจะสามารถรับชมได้หลายๆตอนอย่างต่อเนื่องกัน แต่บางคนก็ชอบที่จะรอจนละครเล่นครบทุกตอน แล้วค่อยรับชมทีเดียวซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถรับชมตอนต่างๆทั้งหมด ในช่วงที่พวกเขาต้องการ"

แม้ในขณะที่ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 41 แสดงความต้องการที่จะรับชมรายการโปรดของพวกเขาที่ไหนก็ได้นั้น แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญสองข้อด้วยกัน นั่นคือ ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ต และ ราคาของตัวเนื้อหาเอง ผลวิจัยยังพบอีกด้วยว่าหลายคนให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของภาพบนหน้าจอ โดยกว่าร้อยละ 43 กล่าวว่าคุณภาพระดับ Ultra High Definition หรือ UHD มีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา

นาย บัญญัติ ยังกล่าวเสริมด้วยอีกว่า "รายงานการวิจัยนั้นสะท้อนผลที่ค่อนข้างชัดเจนว่า บริษัทผลิตสื่อต่างๆนั้นต้องคิดใหม่ให้ดีว่าจะผลิตและออกเนื้อหาของตัวเองอย่างไร ในขณะที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์นั้นต้องนำเสนอคุณภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ชมไม่ว่าจะรับชมบนเครื่องมือไหนก็ตาม และที่สำคัญรูปแบบการรับชมนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการนั้นจะต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงนี้หากยังต้องการจะมีคุณค่าในสายตาผู้บริโภค"

เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

รายงาน TV & Media 2014 ของ The Ericsson ConsumerLab นั้นมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างออนไลน์ 23,000 คน โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศบราซิล แคนาดา ชิลี ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ อิตาลี มาเลเซีย เม็กซิโก โปรตุเกส รัสเซีย สิงคโปร์ สเปน เกาหลีใต้ สวีเดน ไต้หวัน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ผู้ทำแบบสอบถามเกือบทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวัน ผลการวิจัยนี้เป็นตัวแทนของมุมมองของคนมากกว่า 620 ล้านคน

ข้อมูลที่แนบมาด้วยนี้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก 22 ชิ้นกับผู้บริโภคนั้นในเมืองซานฟรานซิสโก ลอนดอน และสตอกโฮล์ม รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งหมด 11 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้