อีริคสันเผย เทรนด์ 10 อันดับยอดนิยมสำหรับปี 2015: กับการเชื่อมต่อที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน

ศุกร์ ๒๓ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๐:๓๔
- ผลการวิจัยของ ของ Ericsson ConsumerLab แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความต้องการให้เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่ กระจกห้องน้ำ ไปจนถึงทางเดิน และกระปุกยา

- ผู้บริโภคมีความสบายใจมากขึ้นกับความคิดต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นความคิดที่เกินกว่าจินตนาการ เช่นการมีหุ่นยนต์ในบ้านและการแบ่งข้อมูลผ่านทางความคิด

- ในปี 2015 ผู้บริโภคจะรับชมวีดีโอสตรีมมิ่งมากกว่ารายการทีวีตามผังรายการ

ผลการวิจัยของ Ericsson ConsumerLab เผยข้อมูลจากรายงานเทรนด์ประจำปีฉบับที่ 4 ซึ่งมีการนำเสนอ 10 เทรนด์อันดับยอดนิยมของกลุ่มผู้บริโภคประจำปี 2015

ทั้งนี้ ทาง นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า "ผลจากการที่สมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมกระแสหลักนั้นเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ในฐานะผู้บริโภค เราลองใช้แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และเก็บแอพพลิเคชั่นที่เราคิดว่ามันทำให้ชีวิตของเราความสมบูรณ์แบบมากขึ้น จนเราไม่ทันสังเกตว่าทัศนคติและพฤติกรรมของเรากำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา บริการและสินค้าที่เมื่อไม่นานมานี้เราเคยคิดว่าไกลเกินจินตนาการ ตอนนี้กลับเป็นที่ยอมรับและคาดว่าจะเข้าถึงมือตลาดคนหมู่มากได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 5 ปีเท่านั้นก่อนที่เราจะไปถึงปี 2020 กับอนาคตที่ดูใกล้กับเรามากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา

ผลการศึกษาในรายงาน 10 เทรนด์ผู้บริโภคในปี 2015 และปีถัดจากนั้น มาจากโครงการวิจัยทั่วโลกของ Ericsson ConsumerLab ที่ในปีนี้มุ่งเน้นศึกษาผู้เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ถึง 69 ปีที่อาศัยอยู่ในเมือง โจฮันเนสเบิร์ก ลอนดอน เม็กซิโกซิตี นิวยอร์ก มอสโคว์ ซานฟรานซิสโก เซาเปาลู เซียงไฮ้ ซิดนีย์และโตเกียว โดยตามตัวเลขสถิติจะเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรจำนวน 85 ล้านคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ

โดย 10 เทรนด์อันดับเทรนด์ของผู้บริโภคในปี 2015 มีดังต่อไปนี้

1. อนาคตกับการรับชมแบบสตรีม รูปแบบการใช้งานสื่อแบบต่างๆ กำลังแพร่ขยายไปทั่วโลก ผู้ชมกำลังหันไปหาบริการออนดีมานด์ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงเนื้อหาวีดีโอข้ามแพลทฟอร์มได้โดยง่าย โดยในปี 2015 จะเป็นปีสำคัญที่ผู้คนจะชมวีดีโอจากการสตรีมเป็นรายสัปดาห์มากกว่าการดูรายการทีวีตามผังรายการ

2. บ้านที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อาศัย ผู้บริโภคให้ความสนใจอย่างมากในการติดตั้งเซนเซอร์ในบ้านที่สามารถแจ้งให้ทราบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับน้ำและไฟฟ้าอะไรบ้างหรือสมาชิกครอบครัวนั้นออกไปข้างนอกหรือกลับบ้านเมื่อไหร่

3. การสื่อสารผ่านทางความคิด การสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ จะปรากฏออกมาเรื่อยๆ ทำให้เรามีวิธีติดต่อกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัวมากขึ้น เจ้าของสมาร์ทโฟนหลายคนอยากใช้งานอุปกรณ์แวร์เอเบิ้ลที่ทำให้สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ผ่านทางความคิด และเชื่อว่าอุปกรณ์นี้จะกลายเป็นของกระแสหลักในปี 2020

4. พลเมืองอัจฉริยะ แนวคิดเรื่องเมืองอัจฉริยะนั้นน่าสนใจอยู่ แต่ความฉลาดที่ประกอบเป็นความอัจฉริยะดังกล่าวนั้นอาจเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปของพลเมือง ยิ่งอินเทอร์เน็ตทำให้เรารับข้อมูลมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งตัดสินใจได้ดีมากขึ้นเท่านั้น ผู้บริโภคเชื่อว่าแผนที่แสดงการใช้งานอินเทอร์เน็ต แอพพลิเคชั่นเปรียบเทียบการใช้พลังงานและเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์นั้นจะกลายเป็นของกระแสหลักในปี 2020

5. เศรษฐกิจแบบแบ่งปันกัน ยิ่งอินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้แบบง่ายดายยิ่งกว่าที่เคยเป็นมามากเท่าไหร่ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจแบบแบ่งปันนั้นก็ยิ่งแพร่หลายมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้สมาร์ทโฟนครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดนั้นมีความเปิดกว้างต่อแนวคิดในการให้เช่าห้องว่าง เครื่องใช้ส่วนตัวในบ้านและอุปกรณ์หรูหราที่เหลือใช้เพราะว่าสะดวกและสามารถประหยัดเงินได้มากขึ้น

6. กระเป๋าเงินดิจิตอล ร้อยละ 48 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นอยากใช้โทรศัพท์ในการจ่ายค่าสินค้าและบริการ ร้อยละ 80 เชื่อว่าสมาร์ทโฟนจะเข้ามาแทนที่กระเป๋าเงินในปี 2020

7. ข้อมูลของฉัน แม้ว่าการแบ่งปันข้อมูลเมื่อมีผลประโยชน์นั้นจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนก็ยังไม่เห็นว่าควรจะเปิดเผยการกระทำของตนเองให้กับผู้อื่น ร้อยละ 47 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องการจะจ่ายผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่มีการส่งข้อมูลส่วนบุคคลแบบอัตโนมัติตามไปด้วย ร้อยละ 56 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องการให้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตทั้งหมดนั้นมีการเข้ารหัส

8. อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น ผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นเห็นว่าบริการคลาวด์ในหลากหลายรูปแบบนั้นเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีสุขภาพที่ดีและยืนยาวกว่าเดิม แอพพลิเคชั่นที่ใช้ขณะวิ่งจ็อกกิ้ง ตรวจวัดหัวใจและแผ่นที่สามารถตรวจวัดอาหารของเราได้นั้นถูกเชื่อว่าจะช่วยยืดชีวิตของเราได้ถึง 2 ปีต่อหนึ่งแอปพลิเคชั่น

9. หุ่นยนต์ใช้งานในครัวเรือน ผู้บริโภคนั้นเปิดรับต่อแนวคิดในการมีหุ่นยนต์ไว้ใช้งานในครัวเรือนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้านในแต่ละวัน ร้อยละ 64 เชื่อว่าหุ่นยนต์จะมีอยู่ในบ้านเป็นเรื่องปกติในปี 2020

10. เด็กๆ นั้นสามารถเชื่อมต่อได้ทุกอย่าง เด็กๆ นั้นจะเป็นผู้ที่ผลักดันความต้องการอินเทอร์เน็ตที่สัมผัสได้มากขึ้นต่อไป ซึ่งเป็นโลกทางกายภาพของเราที่มีการเชื่อมถึงกันเฉกเช่นเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมถึงกัน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนร้อยละ 46 นั้นกล่าวว่าเด็กๆ นั้นคาดหวังว่าของทุกอย่างจะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้เมื่อพวกเขาโตขึ้น

นาย บัญญัติ กล่าวเสริมว่า คนไทยส่วนใหญมีแนวโน้มที่จะยอมรับเทรนด์สุดฮอตต่างๆของพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2015 โดยมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่จะส่งเสริมให้มีการยอมรับเทรนด์ดังกล่าวอย่างรวดเร็วและในสังคมวงกว้างมากขึ้นก็คือ

1. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี ICT ของกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่กระตุ้นให้กลุ่มผู้ปกครองและผู้ใหญ่ใช้ตาม

2. อัตราการขยายตัวของสังคมเมือง

3. การเข้าถึงและใช้สมาร์ทโฟนที่สูงมากขึ้น

และที่น่าสนใจ ไลฟสไตล์ที่ผูกติดกับการเชื่อมต่อ (Connected Lifestyle with Connected Services) กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในสังคมไทย โดยจากงานวิจัยพบว่า

- 23% ของคนไทยมองว่า โซเชียลมีเดียและการส่งข้อความ (Instant Messaging : IM) นั้นมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา

- 89% ของคนไทยใช้งานโซเชียลมีเดียในทุกๆ สัปดาห์

- คนไทยมีความนิยมในการดูวิดีโอและใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สูงมากขึ้น

การใช้สมาร์ทโฟนและปริมาณการรับส่งข้อมูลนั้นมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2015 อีริคสันคาดการณ์ว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยจะอยู่ที่ 103 ล้านการใช้งาน (ประมาณ 150% ของจำนวนประชากร) จากในปี 2014 ตัวเลขอยู่ที่ 97.7 ล้านการใช้งาน (ประมาณ 145% ของจำนวนประชากร) โดยการเข้าถึงเครื่องสมาร์ทโฟนคิดเป็นสัดส่วนที่ประมาณ 50% ในปี 2015 และ การใช้งานโมบายด์ดาต้าจะเพิ่มขึ้น 8 เท่า ในช่วงระหว่างปี 2014 - 2020

ทั้งนี้ สังคมเครือข่าย (Networked Society) ทำให้ผู้คน ธุรกิจและสังคม เราสามารถเข้าถึงศักยภาพของตนเองได้สูงสุดและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนต่อไป โดยใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี โมบาย คลาวด์ และ บรอด์แบนด์ โดยสังคมแห่งเครือข่าย (Networked Society) กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวและเพิ่มขีดความสามารถในระบบ Digital Economy ทั้งในภาคธุรกิจและสังคมไทยโดยรวม

นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศในอันดับที่ 3 จากในกลุ่มประเทศ AEC ที่มีการเข้าถึงโมบายด์บรอดแบรนด์ โดยอุตสาหกรรมด้านโทรศัพท์มือถือมีความต้องการเข้าถึงคลื่นความที่มากขึ้น เพื่อการเข้าถึงโมบายด์บรอดแบรนด์ในราคาที่ถูกลง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในด้านของการแข่งขันและความน่าสนใจในภูมิภาค รวมทั้งนับเป็นโอกาสสำคัญของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นของไทยที่จะก้าวไปสู่ตลาดในกลุ่มประเทศ AEC

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?