Movie Guide: McQUEEN กำกับโดย เอียน บอนโฮต 111 นาที / 2018 www.mcqueen.film

พุธ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๔๙
"โชว์ของผมเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์, ยาเสพติด และเพลงร็อคแอนด์โรล มันคือความตื่นเต้นและความขนลุก ผมอยากหัวใจวาย ผมอยากขึ้นไปอยู่บนรถพยาบาล"

- อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน

เรื่องย่อ

McQueen คือภาพยนตร์สารคดีที่พาไปตามติดชีวิตอันน่าอัศจรรย์ เส้นทางอาชีพ และความเป็นศิลปินของยอดดีไซเนอร์นามว่า อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ผ่านการให้สัมภาษณ์ของเครือญาติมิตรสหายผู้ใกล้ชิด ภาพเก่าๆ ที่ถูกเก็บไว้ และภาพและเสียงอันน่าตื่นตา McQueen คือการเฉลิมฉลองและการจับภาพอันน่าทึ่งของผู้ที่ทั้งมอบแรงบันดาลใจ และปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของวงการแฟชั่นอย่างแท้จริง ภาพยนตร์เรื่องนี้คือผลงานการกำกับของ เอียน บอนโฮต และยังร่วมกำกับและเขียนบทโดย ปีเตอร์ เอทเทตกุย

เรื่องราวงานสร้าง

"แฟชั่นเปรียบได้กับฟองสบู่ขนาดใหญ่ และบางครั้งผมก็รู้สึกว่าตัวเองระเบิดออกมา"

ลี อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน เกิดและโตในชุมชนชนชั้นแรงงานแถบเมืองสแตรทฟอร์ท ลอนดอนตะวันออก แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวกำหนดอนาคตของเขา แม็คควีนเป็นลูกชายคนเล็กจากบรดาลูก 6 คนของครอบครัว ลีอาจเคยถูกคาดหวังว่าอยากเป็นช่างประปา ช่างก่ออิฐ รวมถึงคนขับแท็กซี่แบบเดียวกับพ่อเขา แต่กลายเป็นว่า ศิลปะจินตนิยมอันดุร้ายและเพลงแนวพังค์ช่วยให้เขาสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่า "Cool Britanian" ขึ้นมาในยุค 1990s เป็นศิลปะที่เฉลิมฉลองยุคสมัยของคนวัยหนุ่มสาวในสหราชอาณาจักร และน่าจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ในยุค 1960s ที่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมา เด็กหนุ่มจากลอนดอนตะวันออกมีความสามารถและกลายเป็นศิลปินผู้มีความเป้นต้นแบบและมีอิทธิพลมากที่สุดตลอดกาล

2 นักทำหนัง เอียน บอนโฮต และ ปีเตอร์ เอทเทตกุย ได้จับเอาภาพของเขาและผลงานของเขาอันเปี่ยมเอกลักษณ์ในยุคที่เขาขบถสุดขีดมาถ่ายทอดในหนังเรื่องใหม่ชื่อว่า McQueen พวกเขานำเสนอชีวิตอันน่าตื่นตาของแม็คควีนและปมส่วนตัวอันซับซ้อน พาคนดูไปดูการเขย่าโลกแฟชั่นของเขาด้วยวิธีการอันน่าขนลุก จากการฝึกงานที่ห้องตัดเสื้อ Savile Row ที่ซึ่งเขาได้แสดงความสามารถอันเหนือชั้นในการตัดเสื้อสู่การจบชีวิตลงในวัย 40 ปีเพียงเท่านั้น ภาพยนตร์ทำลายกฎเกณฑ์การเล่าเรื่องของหนังสารคดีด้วยการแตกช็อตภาพเดี่ยวๆ ออกมาหลากหลายรูปแบบ โดยแต่ละรูปจะค่อยๆ เพิ่มและรวมตัวกันจนกลายเป็นภาพใบหน้าของเขาอันแหวกแนว

ภาพยนตร์ใช้วิธ๊การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ทั้งคนในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ใช้ภาพที่บันทึกไว้จากการแสดงผลงานของเขา รวมทั้งภาพที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อนเกี่ยวกับแม็คควีนในขณะที่เขากำลังเผยให้เห็นถึงความสามารถอันน่าตื่นตะลึงซึ่งแสดงให้เห็นแฟนตาซีอันแสนมืดหม่น และความทะเยอทะยานอันยิ่งใหญ่ ซึ่งแฝงอยู่ในงานออกแบบปฏิวัติวงการและการจัดแสดงอย่างน่าตื่นตา โดยสิ่งที่หล่อหลอมให้เขากลายเป็นคนแบบนี้ประกอบไปด้วยตำนานปรัมปราและเทพนิยายเกี่ยวกับโยราบุ, Inferno ของดันเต้, และตำนานของเมืองแอตแลนติส เช่นเดียวกับความลุ่มหลงส่วนตัวในประวัติศาสตร์ ความฝัน ทั้งฝันดีและฝันร้าย ความกลัว และความปรารถนา

ภาพยนตร์นำเสนอให้เห็นถึงจินตนาการอันป่วยไข้ของเขา และผสมผสานด้วยศาสตร์ต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ ศิลปะ ดนตรี ประวัติศาสตร์ การเต้นรำ และเทคโนโลยีที่กระตุ้นทั้งความฉาวโฉ่และความปลื้มปริ่มยินดี หากไม่ทำให้ติดใจก็จะขับไล่ไสส่งผู้คนออกไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเบือนหน้าหนีหรือลืมในสิ่งที่เห็นได้ลงเลย

McQueen แบ่งเนื้อหาถ่ายทอดออกมา 5 บทด้วยกัน โดยแต่ละช่วงจะนำเสนอผลงานอันน่าทึ่งของเขาแต่ละชุดซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นตัวเองที่สุด ประกอบไปด้วย "Jack the Ripper Stalks His Victims," ผลงานในปี 1992 ของเขาสมัยเรียนมหาวิทยาลัย, "Highland Rape" ผลงานในยุคแรกที่อื้อฉาวที่สุดของเขา, "Search for the Golden Fleece" ผลงานชุดแรกที่เขาทำให้กับ Givenchy แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของวงการแฟชั่น, "Voss" ผลงานที่พาทุกคนไปสำรวจความงดงามและความบ้าคลั่งในเวลาเดียวกัน และบทสุดท้าย "Plato's Atlantis" ผลงานที่เขาอุทิศให้กับเพื่อนที่แสนดีของเขา อิซาเบลล่า โบลว์ หลังจากที่เธอฆ่าตัวตาย และนี่ยังเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเขาไปโดยปริยายเนื่องจากหลังจากนั้นไม่นาน เขาได้ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองตามไป

อาณาจักรที่แม็คควีนสร้าง

"แฟชั่นดีไซเนอร์ทุกคนต้องอยากสร้างภาพมายาขึ้นมา เพื่อทำให้ผู้คนรู้สึกสะพรั่นพรึง"

เอียน บอนโฮต เป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างโฆษณา มิวสิควิดีโอ และงานเกี่ยวกับแฟชั่นมือรางวัล ด้วยผลงานเหล่านี้ทำให้เขาเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับการมาคุมบังเหียนหนังเกี่ยวกับศิลปินตัวพ่อ "ผมไม่เคยทำหนังสารคดีมาก่อนเลย แต่ที่ Pulse Films เราเคยสร้างสารคดีดนตรีมากกว่า 10 ชิ้นรวมทั้ง 20,000 Days on Earth ซึ่งได้เข้าชิงรางวัล BAFTA ดัผมเลยรู้สึกสนใจอยากทำแต่ไม่เคยเจอเรื่องราวที่ใช่เลย ตอนที่ผมย้ายมาอยู่ลอนดอนช่วงยุค 90s ตอนนั้นชื่อของ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน กำลังโด่งดังพอดี ไม่เพียงแค่ในวงการแฟชั่นเท่านั้น การร่วมงานกับศิลปินในวงการเพลงและวงการวิจิตรศิลป์หลุดเข้ามาสู่วัฒนธรรมกระแสหลัก สไตล์ของเขาสื่อความหมายถึงพลังอันดิบเถื่อนและกระสับกระส่าย ตอนที่บริษัทสร้างหนัง Salon ติดต่อมาให้ผมไปกำกับหนังเรื่องนี้ ผมเลยรู้สึกว่าเราต้องทำให้ได้!" บอนโฮตเท้าความ

ในทางกลับกันฝั่งของ ปีเตอร์ เอทเทตกุย เคยเขียนบทหนังสารคดีมาแล้วหลายเรื่อง โดยเฉพาะ Listen to Me Marlon และ George Best: All by Himself และตัวเขาเองยังมีเส้นสายอยู่ในแวดวงแฟชั่นด้วย "ผมได้ข่าวลือมาว่าเอียนกำลังทำหนังเรื่อง McQueen อยู่ ผมเลยตามไปหาเขาที่งานๆ นึงแล้วถามเขาว่าขอช่วยโปรเจ็คนี้ด้วยได้ไหม พ่อผมทำงานค้าปลีกแล้วให้ความสนใจในตัวดีไซเนอร์รุ่นใหม่ และเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่ขายเสื้อผ้าของแบรนด์ McQueen ผมรู้ว่าลีนำทุกคนมารวมตัวกันผ่านแฟชั่นของเขา ในแบบเดียวกับที่นักดนตรีในแต่ละยุคสมัยทำ"

พวกเขาทั้งคู่ตกลงกันว่าจะซื่อตรงต่อจิตวิญญาณของแม็คควีน "ชีวิตและผลงานของลีหลอมละลายเข้าหากันและกัน" เอทเทตกุยเล่า "โชว์ของเขามีความเป้นส่วนตัวสูง สิ่งที่ทำให้พิเศษและแตกต่างออกไปคือผลงานของเขา และเราอยากหาหนทางนำไปสู่แก่นแท้ของเขา"

หนังเปิดกล้องถ่ายทำในเดือนเมษายน 2017 "ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เหมือนวิธีการทำงานของแม็คควีนเลยครับ" เอทเทตกุยกล่าว "เราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงลางอย่างในช่วงสุดท้ายของการตัดต่อ เนื่องจากเราได้วัตถุดิบใหม่ๆ เข้ามาพอดี สิ่งที่ช่วยเราอย่างมากคือเราทำรีเสิร์ชหนักมาก และเรามีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เราจะเลือกแค่ผลงานที่นำเสนอจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขาเท่านั้น ผมเขียนบทร่างได้อย่างรวดเร็วเพราะเรารู้ว่าระดับของเรื่องราวอยู่ตรงไหน จังหวะการทำงานของเราทำให้เรายิ่งผูกพันธ์ระหว่างกันด้วย"

"เราอยากพูดกับคนทั้งโลกที่ใช้ชีวิตผูกติดอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง" บอนโฮตเผย "เขาคืออัจฉริยะอย่างยิ่ง และน่าทึ่งมากๆ ที่ได้เห็นผลงานของเขา นั่นคือสิ่งที่เราอยากถ่ายทอดออกมาให้ได้ เขาเปรียบได้กับโมซาร์ทใน Amadeus เป็นอัจฉริยะที่ลุ่มหลงอยู่กับสัญชาตญาณและพลังงานดิบ มันมีอะไรบางอย่างในตัวเขาที่ไม่ค่อยมีอารยธรรมเท่าไหร่"

"แต่สิ่งที่ยากคือการต้องเกลี้ยกล่อมคนที่เราอยากสัมภาษณ์ครับ" ผู้กำกับเล่าต่อ "ถ้าคุณมีเวลา 4 ปีจะไม่เป็นไรเลย เราเลยต้องทำต่อไป ปีเตอร์และผมเราทั้งคู่ไว้ใจกัน เราคนนึงเลยจะคอยไปออกกองถ่ายในขณะที่อีกคนจะไปพบปะกับสปอนเซอร์ที่อาจมาเป็นผู้สนับสนุนให้เราได้ แม้ว่าเราจะมีพื้นเพที่แตกต่างกัน หรือบางทีอาจจะเพราะพวกเขาก็ได้ เราเลยเจอช่องทางที่ลงตัว"

"อาการกลัวในระยะเริ่มแรกของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับแม็คควีนเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้" เอทเทตกุย กล่าวหลังจากพบว่ามีนักข่าวหนังสือพิมพ์จำนวนมากพยายามเขียนเรื่องราวแก่กับชีวิตของแม็คควีน "แต่เราเองก็กำลังทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เราต้องการนำเสนอว่าเขาสร้างสรรค์ผลงานอะไรออกมา ถ้ามีสักคนหรือ 2 คนตกลงที่จะให้ข้อมูลกับเราในหนัง พวกเขาซึ่งก็จะได้ถ่ายทอดข้อความที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับเขา แล้วสุดท้ายพวกเขาก็ให้การอนุญาตแก่เรา"

ในหนังเต็มไปด้วยบทสัมภาษณ์ใหม่ๆ จากเพื่อน และเพื่อนร่วมงานของเขารวมทั้ง มิร่า ไช ไฮด์ สไตล์ลิสต์คนดัง และผู้ช่วยดีไซเนอร์ เซบาสเตียน พอนส์, ผู้สนับสนุนในช่วงแรกอย่าง จอห์น แม็คคิทเทอริค และบ็อบบี้ ฮิลสัน เช่นเดียวกับ เดตม่า โบลว์ สามีของ อิซาเบลล่า โบลว์ ผู้ล่วงลับซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและผู้ถ่ายทอดวิชาให้กับลี นอกจากนั้นยังมีบทสัมภาษณ์บางส่วนในอดีตของ อิซาเบลล่า รวมทั้งดาวเด่นของเรื่องอย่างตัวของ แม็คควีน เอง โดยคนทำหนังตั้งใจที่จะตามหาบทสัมภาษณ์ทุกชิ้นที่แม็คควีนเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้บนโลก เช่นเดียวกับการตามหาฟุตเตจผลงานของเขาที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน โดย 2 นักทำหนังต้องการให้แม็คควีนได้พูดเรื่องราวทุกอย่างออกมาด้วยตัวเอง

"คำถามที่สำคัญที่สุดที่เราต้องการตอบคือชายชนชั้นแรงงานผู้ขี้อายและไม่มีเส้นสายใดๆ กลายมาเป็นอเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ผู้ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร" เอทเทตกุย เผย "บางครั้งเราอาจได้คนที่พูดถึงเส้นทางของเขาได้อย่างยอดเยี่ยมก็จริง แต่ผมกับเอียนจะคุยกันเสมอว่า ถ้าเราได้ลีมาพูดเรื่องนี้เองล่ะก็นะ! ในช่วงท้ายๆของการตัดต่อพวกเราได้รับคลังฟุตเตจที่เราตามหามาเกือบปี แล้วมันน่าทึ่งมากครับ เพราะมันเต็มไปด้วยสิ่งที่เราปรารถนาว่าอยากพบเจอในบทสัมภาษณ์เก่าๆ ของเขา ลีเป็นคนเขินกล้องหน่อยๆ แต่ถ้าเขาไว้เนื้อเชื่อใจในตัวผู้ให้สัมภาษณ์แล้วล่ะก็ เขาจะผ่อนคลายและพูดถึงชีวิตและงานตัวเองออกมาอย่างฉะฉานเลยครับ"

บางทีบทสัมภาษณ์ที่น่าจดจำที่สุดของเรื่องน่าจะเป็นตอนที่สัมภาษณ์ เจเน็ท พี่สาวของเขาและลูกของเธอ แกรี่ ซึ่งทำงานเป็นดีไซนเนอร์ให้กับลุงของตัวเองในแบรนด์ Alexander McQueen ในขณะที่อาชีพของเขาพุ่งทะยาน แม็คควีนก็ยังคงอยู่กับครอบครัว สำหรับบอนโฮตและเอทเทตกุย การมีส่วนร่วมของครอบครัวทั้ง 2 คนนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่พวกเขาแทบไม่เคยให้สัมภาษณ์ออกสื่อใดๆ บอนโฮตจึงเริ่มเข้าหาพูดคุยกับแกรี่ แล้วทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี

"เอียน เข้ามาหาผมแบบไม่ทันรู้ตัว" แกรี่ แม็คควีน เล่าให้ฟัง "วิสัยทัศน์และกระบวนการทำงานทั้งหมดของเขาเข้าเป้ามากครับ จะเห็นได้เลยว่าเขาตั้งใจที่จะทำงานนี้อย่างเต็มที่และอยากทำออกมาให้ได้ดี ซึ่งมันมีความหมายต่อผมมากๆ เขาบอกว่าหนังเรื่องนี้จะพาคนดูไปดูเรื่องราวในชีวิตของลีทั้งหมด 5 บทด้วยกัน ซึ่งจะนำเสนอออกมาอย่างน่าตื่นตา หนังค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ ตลอดการทำงาน และนั่นคือส่วนหนึ่งของความสำเร็จของหนังเรื่องนี้ครับ"

แกรี่ยังเป็นคนเกลี้ยกล่อมให้แม่ของเขา เจเน็ท ผู้มีอายุมากกว่าลี 15 ปีมาให้สัมภาษณ์กับทีมงานสร้างหนังเรื่องนี้ด้วย "ฉันจำไม่ได้ว่าพวกเขาคุยอะไรกับฉันตอนนั้น แต่ที่จำได้แน่ๆ คือพวกเขาทำหนังเรื่องนี้เพราะพวกเขาเคารพในความสามารถของลี" เจเน็ทเผย "พวกเขาสัญญาว่าจะแสดงให้เห็นตัวตน เห็นชีวิตของเขาอย่างแท้จริง และเขาอยากเล่าว่าเขาไต่เต้าจากการเป็นศิลปินตัวเล็กๆ ขึ้นมาเป็นดีไซเนอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้ยังไง"

ตอนที่ลีเริ่มเข้าสู่วงการแฟชั่น เจเน็ทแต่งงานและออกจากครอบครัวไปอยู่ด้วยตัวเองแล้ว "ไม่มีใครเลยคาดหวังให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็น แต่ลีมีความสามารถที่พวกเราไม่รู้มาก่อน ตอนเขาอายุ 16 ปี เขาไปเข้าชั้นเรียนศิลปะในโรงเรียนแล้วก็เริ่มสนใจแฟชั่นนับจากนั้นเป็นต้นมา เราคิดว่าตอนนั้นเขาน่าจะสนใจมาก่อนนานพอควรแล้วก่อนที่จะแสดงออกมาให้เห็นมาขึ้น"

แต่เธอก็ตระหนักดีว่าเขาหาพื้นที่ให้ตัวเองได้แล้วบนโลกใบนี้ "แฟชั่นคือชีวิตของเขา ลีมีชีวิตและหายใจเข้าหายใจออกเป็นแฟชั่น และมันมาจากก้นบึ้งหัวใจเขาจริงๆ เขาเดินหน้าแล้วตั้งใจจะเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ แต่ตอนที่เขาเริ่มคิดจะลงหลักปักฐานให้ตัวเอง เขายังเป็นแค่เด็กตัวน้อยที่กลัวว่าคนทั้งโลกจะหัวเราะเยาะเย้ยเขา" เจเน็ทเผย

แกรี่หวังว่าหนังเรื่องนี้จะทำให้ผู้คนเข้าใจในตัวลุงของเขามากกว่าแค่การเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์เท่านั้น "ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงเข้ากับคนที่อยู่หลังความเป็น อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน เขาเป็นคนมีความสามารถมากๆ และทุ่มเททำงานหนักมาโดยตลอดเพียงเพื่อ 20 นาทีบนรันเวย์ เขาชอบเห็นปฏิกิริยาของผู้คนที่มีต่องานของเขา ผมอยากเห็นจริงๆ ครับว่าเขาจะใช้เทคโนโลยีที่ในอดีตไม่มีแบบในทุกวันนี้อย่างแบบจำลอง 3 มิติมาปรับใช้ในงานของเขาได้อย่างไรครับ"

การมาถึงของอเล็กซานเดอร์

"ผมอยากจะเข้าไปให้ถึงด้านมืดที่ลึกที่สุดในตัวผมและดึงเอาความสยดสยองทั้งหมดออกมาให้ในงานบนรันเวย์"

ผลงานชิ้นแรกของ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน คือ "Jack the Ripper Stalks His Victims" เป็นผลงานตัวจบตอนเรียนที่ St. Martin's สถาบันชื่อดังที่สอนเกี่ยวกับแฟชั่น ซึ่งมีศิษย์เก่าชื่อดังมากมายไม่ว่าจะเป็น จอห์น กัลเลียโน่, สเตลล่า แม็คคาร์ธนี่ย์, แซค โพเซ่น และ ฟีบี้ ฟิโล แม็คควีนออกจากโณงเรียนตอนอายุ 16 ปีแล้วออกมาเรียนเกี่ยวกับการตัดเสื้อหลังจากนั้น เขามาเรียนที่ St. Martin's เพื่อหาครูผู้ชี้แนะ แม้ว่าเขาจะไม่มีคุณสมบัติที่สามารถเข้าเรียนที่นี่ได้ แต่ บ็อบบี้ ฮิลสัน ซึ่งในขณะนั้นเป็นหัวหน้า ดูแลการเรียนการสอนด้านแฟชั่นได้บอกให้เขาลองสมัครเข้ามาก่อน

พื้นเพอันแหกคอกของเขากลายเป็นจุดเด่นประจำตัว บอนโฮตอธิบายว่าการไม่รู้กฎเกณฑ์ของเขาปลดปล่อยตัวเขาให้เป็นอิสระ "ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ทุกวันนี้รู้จักทุกชื่อทุกแบรนด์ แต่ตอนลีสมัครเข้าเรียนที่นี่ เขาไม่รู้จักอะไรเลย แต่เขาก็ไม่อายและไม่กลัวด้วย เขาเปรียบได้กับฟองน้ำที่ดูดซับทุกอย่าง"

ตัวหนังจับภาพให้เห็นค่ำคืนอันน่าตื่นตาของงานแสดงผลงานของเขา ผลงานชิ้นแรกที่ส่งให้ชื่อของแม็คควีนกลายเป็นตำนาน ผลงานชิ้นนั้นวาดภาพอันน่ากลัวของคดีฆาตกรรม แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ในลอนดอนตะวันออก เขาจัดแสงให้ออกมาในโทนโกธิคอันมืดมนและใช้ชุดที่ร่วมสมัย สไตล์ของเขาและการใช้คอนเซ็ปต์ที่เป็นแรงบันดาลใจกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของงานของเขาไปโดยปริยาย

โชว์ดังกล่าวยังเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความสัมพันธ์กับมิตรสหายที่มีความสำคัญต่อชีวิตแม็คควีนมากที่สุด อิซาเบลล่า โบลว์ หรือ อิซซี่ สไตลิสต์ที่ได้ค้นพบผลงานครั้งสำคัญโดยเธอตัดสินใจซื้อผลงานทั้งคอลเลกชั่นของเขาเลย

"ตอนนั้นฉันต้องนั่งพื้น เพราะหาที่นั่งดีๆ สำหรับรับชมงานที่ St.Martin ไม่ได้ แล้วงานแต่ละชิ้นที่ผ่านหน้าฉันไปเป็นสิ่งที๋ฉันไม่เคยพบเห็นมาก่อนในชีวิต ฉันอยากได้มาก การใช้ชีที่สุดทาง เขาใช้เสื้อโค้ทสีดำแต่ทำมาจากเส้นผมของมนุษย์แล้วด้านในมีสีแดงของเลือดอยู่ด้วยเหมือนกับว่ามันเป็นร่างกายคน ฉันคิดว่ามันเป็นสิ่งที่สวยที่สุดที่ฉันเคยเห็นมาเลยค่ะ"

เมื่อเรื่องราวอันอื้อฉาวของงานชุดดังกล่าวแพร่กระขายออกไป ทำให้เขาได้รับการยกย่องชื่นชมจากบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการแฟชั่นมากมาย กว่า 2 ทศวรรษที่ความคิดสร้างสรรค์ของเขาดูไร้ซึ่งขอบเขตหลังจากจัดแสดงผลงานงานแล้วงานเล่า เขาได้แรงบันดาลใจในการทำงานมาจากหลายที่ ทั้งภาพเกี่ยวกับความตายของช่างภาพ โจล ปีเตอร์ วิทกิ้น ตำนานต่างๆ และหนังสยองขวัญที่เขาชื่นชอบ แม็คควีนนำสิ่งที่ได้มาสร้างสรรค์ผลงานเปี่ยมจินตนาการ พาผู้ชมก้าวเข้าไปสู่โลกใบใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

"ลีเริ่มสร้างกระบวนการที่เรียกว่า อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน" เซบาสเตียน พอนส์ นักออกแบบที่มาฝึกงานในสตูดิโอของลีและได้เป็นผู้ช่วยของเขาในเวลาต่อมา "ไม่เคยมีอะไรแบบนี้เกิดขึ้นมาก่อน เขาเคยพูดว่าแฟชั่นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ และเขาจะทำลายกฎเกณฑ์แล้วสร้างสิ่งใหม่ๆ และความหมายใหม่ขึ้นมา เขาสร้างโณงละครที่เปิดให้ทุกคนได้เข้าสู่โลกใบใหม่ขึ้นมา"

เขาส่งนางแบบเดินขึ้นไปบนรันเวย์พร้อมกับผูกเชือกจูงหมาป่าไปด้วย เชาใช้เกราะและหน้ากากเพื่อปิดบังใบหน้าของนางแบบท่สวยที่สุดในโลก ทำให้รันเวย์เปียกโชกไปด้วยฝนและเทหิมะใส่ให้ขาวโพลน เขาทดลองกับความโป๊เปลือย เขาทำเสื้อผ้าโดยใช้จากเทปไฟฟ้าและเขายังประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่ากางเกง "บัมสเตอร์" ซึ่งตัดขอบช่วงเอวลงไปเผยให้เห็นง่ามก้น กลายเป็นสิ่งเร้าที่ทั้งอหังการและถูกพินิจพิเคราะห์มาอย่างดีแล้ว เดทม่า โบลว์ สามีของ อิซซี่ เล่าให้ฟังว่า "เขาบอกว่าคุณจะต้องดึงขนเพชรเอาไปใส่หน้าแอนนา วินทัวร์ มันเป็นพฤติกรรมที่แสบมากๆ"

แม็คควีนผลิตผลงานที่เป็นหนึ่งเดียว น่าตื่นตาและมีพลังเหลือล้นมากกว่างานชิ้นก่อน แต่เขาก็ยังสร้างงานที่สง่าที่ผู้หญิงเจนโลกต่างโหยหา เป็นผลงานที่สร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณืหลากหลายอย่าง ทั้งลูกไม้ โลหะและเพชร "ลีพูดเสมอว่าเขาไม่ได้ทำชุดผู้หญิงเพื่อสามีของคนเหล่านั้น" บอนโฮตกล่าว "เขาทำชุดเพื่อผู้หญิงที่รู้จักตัวตนตัวเองดี คนที่มีอำนาจ ไม่จำเป็นต้องหวังพึ่งพาใครให้มาคอยดูแล อิซซี่เคยพูดไว้ครั้งหนึ่งว่า ผู้หญิงที่ได้ใส่เสื้อผ้าคอลเลกชั่นนี้เปรียบได้กับอัศวินในยุคปัจจุบันที่คอยปกป้องผู้คนทั่วโลกจากความโหดร้ายทารุน"

เหล่าผู้นำด้านแฟชั่นต่างมารวมตัวกันที่แบรนด์ McQueen เพื่อรับชมผลงานของเขาโดยไม่รู้เลยว่าตัวเองต้องพบเจอกับอะไร "โชว์ของเขาเริ่มแล้ว เขาจัดฉากแบบจัดเต็มและเปิดเสียงดนตรีบรรเลงคลอ บางครั้งเขาก็ปล่อยให้ผู้ชมรอนานเป็นชั่วโมงเพื่อสร้างความตึงเครียด เขาเป็นคนที่ในวงการแฟชั่นไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนบนโลกนี้" เอกเทตกุยเล่า

แกรี่ แม็คควีนยังจำวันแรกที่เขาได้ดูงานของลุง เป็นงานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2002 เขาอยู่ในงานของกูรูด้านแฟชั่นซึ่งไม่กี่ปีก่อนหน้ายังเพิ่งเป็นพี่เลี้ยงเด็กคอยเลี้ยงเขามาก่อน "ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่ มันเป็นโชว์เกี่ยวกับหมาป่า ไม่เคยได้สนใจเรื่องแฟชั่นมาก่อน แต่ผมชอบงานที่เป็นมหรสพ ผมจำได้ว่าว์นี้มันเป็นมากกว่าการจัดแสดงเสื้อผ้า แต่ลีสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างดีเลยครับ"

ไม่นานนักผงานของเขาก็ได้รับการแซ่ซ้องไปทั่ว บอนโฮตและเอทเทตกุย นั่งค้นหาฟุตเตจอย่างละเอียดจากคลิปที่มีอยู่หลายร้อยชั่วโมงเพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงเนื้อในสุดช็อคของงานของแม็คควีนจริงๆ ในคลิปหนึ่ง ชาร์ลอม ฮาร์โลว์ ซูเปอร์โมเดลสวมเสื้อผ้าสีขาวบริสุทธิ์ก่อนจะถูกหุ่นยนต์พ่นสีใส่ มีคลิปของ เคท มอส ที่เดินแบบในรูปแบบของภาพโฮโลแกรม และภาพของ นาโอมิ แคมป์เบล เดินบนแคทวอล์คพร้อมกับสวมเขาแกะสีทองไว้บนหัว และระหว่างโชว์ครั้งหนึ่งมีไฟก็ลุกไหม้ใส่ฉาก แต่แม็คควีนก็ยังยืนยันให้นางแบบของเขาเดินไปบนแคทวอล์คต่อไป ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจินตนาการของเขาไร้ขอบเขตอย่างมาก

งานภาพและเสียง

"มันเหมือนกับพิธีไล่ผี งานนี้มันว่าด้วยสิ่งที่ถูกฝังอยู่ในจิตของผม"

นอกจากได้ฟุตเตจผลงานของแม็คควีนมาแล้ว ทีมงานยังได้รวบรวมเอาสัญลักษณ์หรือโมทีฟที่เป็น หัวกะโหลกและนก ซึ่งแม็คควีนใช้ในงานของเขาเสมอเป็นสะพานเพื่อเชื่อมจากบทหนึ่งไปสู่อีกบทหนึ่ง เขายังปรับเปลี่ยนความโกลาหลในชีวิตของศิลปินรายนี้โดยการใช้เพลงของนักดนตรีที่เขาชอบมากที่สุด ไมเคิล นายแมน ประกอบเรื่องราวด้วย จากศิลปินผู้ชอบทำลายขนบในช่วงแรกๆ ของอาชีพของลี สู่ความมืดหม่นในช่วงบั้นปลายของชีวิต จากการเฉลิมฉลองชีวิตของเขา สู่ความตายอันเป็นโศกนาฏกรรม ดนตรีที่นายแมนใช้ในหนังบ่งบอกถึงความเป็นแม็คควีนได้อย่างดี

"ชื่อของ ไมเคิล นายแมน ปรากฏขึ้นมาเสมอตอนที่เรารีเสิร์ชชีวิตของลี" เอทเทตกุยเล่า "ทั้งเพื่อนร่วมงานและเพื่อนของเขาต่างจดจำได้ถึงช่วงเวลายามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยเสียงเพลงของไมเคิลในสตูดิโอ เราได้รู้ว่าเส้นทางของพวกเขามาบรรจบกันในยุค 1990s และทั้งไมเคิลและลีได้กลายเป็นเพื่อนกัน"

ตอนที่บอนโฮตและเอทเทตกุยได้พบกับนายแมน นักประพันธ์ดนตรีชื่อดังได้เล่าว่าเขาเคยแต่งเพลงให้กับลีด้วยครั้งหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lee's Sarabande ซึ่งกลั่นออกมาจากทั้งความสุขและความเศร้าที่อยู่ในหัวใจเขา มันกลายเป็นแก่นหลักของหนังเรื่องนี้ "ไมเคิลเล่นเพลงนี้ให้เราฟังตอนเจอกัน" บอนโฮตนึกย้อน "การได้ยินเพลงนั้นเป็นครั้งแรกถือเป็นช่วงเวลาที่ชวนขนลุกอย่างมากสำหรับพวกเราเลยครับ"

นายแมนได้ประพันธ์ดนตรีความยาวกว่า 25 ชั่วโมงมาให้ทั้งคู่เลือกใช้ในหนังเรื่องนี้ ดนตรีที่ใช้ในหนังนั้นนำมาจากทุกอาณาบริเวร ไม่ว่าจะซิมโฟนี่ ดนตรีแชมเบอร์ คอนแชร์โต และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดย Michael Nyman Band ซึ่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

งานใหญ่ซึ่งน่าตื่นเต้นที่สุดอยู่ที่การสร้างเสียงดนตรีที่คลออยู่ในฉากแฟชั่นโชว์ 5 ชิ้นใน 5 บทของหนังเรื่องนี้ "เราพบเจอมันจากการเล่นแร่แปรธาตุของไมเคิล เขาเปลี่ยนมันให้กลายเป็นสิ่งที่เข้ากับความเป็นภาพยนตร์และยิ่งใหญ่มากๆ" บอนโฮตเล่า "ความเป็นลีพุ่งเข้าสู่โสตประสาทของเราทันทีที่เสียงดนตรีดังขึ้น และมันนำเสนอให้เห็นถึงแฟชั่นอันยิ่งใหญ่ของเขา"

ปฏิวัติวงการแฟชั่น

"ผมไม่ได้โกรธตัวเอง แต่ผมโกรธโลกทั้งใบ"

เมื่อมองจากภายนอกเข้ามา อาชีพในช่วงแรกของแม็คควีนช่างเปี่ยมเสน่ห์ เด็ก "ธรรมดา" จากลอนดอนตะวันออกรายนี้ได้รางวัลดีไซเนอร์ชาวอังกฤษแห่งปี 2 สมัย มีกลุ่มคนที่อุทิศตัวเองมาช่วยงานเขา ยอมทำงานหนักเหนื่อยสายตัวแทบขาดเพื่อทำให้จินตนาการของเขากลายเป็นความจริง "ในยุคแรกๆ ช่างเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์" ไมร่า ชาย ไฮด์ เพื่อนร่วมแฟลตและสไตลิสต์ที่คอยแต่งหน้าทำผมนางแบบให้กับงานของแม็คควีนอยู่บ่อยๆ เล่า "เราใช้เวลานั่งคุยกันตอนกลางคืนบ่อยๆ ตอนนั้นมันสนุกมาก เขาจะนั่งวาดรูปไปเรื่อยๆ แล้วตอนเช้าก็จะได้มา 1 คอลเลกชั่นทันที"

ทางฝั่งของ เซบาสเตียน พอนส์ เล่าให้ฟังว่า "เมื่อคุณทำงานกับแม็คควีน คุณจะได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ เขาไม่เพียงแค่จัดแสดงเสื้อแต่ยังใส่อารมณ์ลงไปบนแคทวอล์คด้วย เขาเคยมีจิตวิญญาณที่ไม่มั่นคงและเขารู้ว่าจะเขย่าจิตใจของผู้ชมอย่างไร มันราวกับว่า นี่เขาทำอย่างนี้จริงๆ เหรอเนี่ย? แฟชั่นโชว์สามารถทำในรูปแบบนี้ได้ด้วยเหรอ?"

ในความเป็นจริง ในขณะที่หนังพาคนดูไปพบกับเบื้องหลังงานสร้างโชว์ต่างๆ เราจะพบกับทีมงานซึ่งก็คือเพื่อนๆ ของเขาเองที่อาสามาช่วยงานโดยไม่ต้องการค่าจ้าง เขามีเงินแค่พอจะนั่งกินแฮมเบอร์เกอร์ที่แมคโดนัลด์ งานแต่ละชิ้นของเขานั้นผ่านการหยิบยืมเงินจากเพื่อนฝูง ครอบครัวและผู้สนับสนุนคนอื่นๆ มาเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น หลังจากงานสิ้นสุดลง แม็คควีนเองก็ยอมรับว่า "โชว์ออกมาเจ๋งมาก แต่ผมก็ต้องตื่นมานั่งกังวลในตอนเช้าอีกว่าผมจะหานมสักขวดดื่มได้ยังไง"

ตอนเขาอายุได้ 27 ปี ผ่านการมีผลงานออกแสดงแค่ 8 ชุด โอกาสครั้งสำคัญในชีวิตก็เข้ามาหาเขา เขาได้รับเลือกให้เป็นผอ.ฝ่ายสร้างสรรค์ให้กับแบรนด์ Givenchy ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1950s และภาพลักษณ์สวยสง่าอ่อนโยน มีนางแบบสำคัญคือนักแสดงสาว ออเดรย์ เฮปเบิร์น เมื่อได้ทำงานในห้องทำงานจริงๆ ที่ Place de Vosges และมีเงินเดือน 4 แสนดอลลาร์ แต่ลีก็ซื่อสัตย์ต่อช่างตัดเสื้อของเขา

"ในช่วงแรกๆ ที่ Givenchy มันราวกับมนต์ขลังครับ" พอนส์ ย้อนความทรงจำ "เราได้เจออะไรดีๆ มากมาย ได้เจอเพื่อนและคนเก่งๆ จำนวนมาก ลีสามารถเข้าถึงวัตถุดิบดีๆ เข้าถึงนางแบบระดับท็อปและช่างฝีมือสุดเนี้ยบได้ ผมได้เห็นบริษัทนี้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีทั้งโต๊ะหรือจักรเย็บผ้า แต่อยู่ดีๆ เราก็ได้มาอยู่ในห้องตัดเสื้อสุดหรูกลางปารีส ผมโชคดีที่ได้เห็นตำนานถือกำเนิดในขณะที่ลีสร้างสรรค์ศตวรรษใหม่ของวงการแฟชั่น"

แต่ถึงแม้แม็คควีนจะรักปารีสมากแค่ไหน แต่เขาก็เข้ากับที่นั่นได้ยาก พอนส์เล่าต่อว่า "มันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นผู้นำในสังคมที่คุยเข้าด้วยไม่ได้ การไปเที่ยวปารีสก็เรื่องนึง แต่การเป็นคนปารีสก็เป็นอีกเรื่องนึง ลีเขาคิดถึงลอนดอน คิดถึงหมาและเพื่อนๆ มิตรสหายของเขามากๆ ครับ"

สื่อสายแฟชั่นของฝรั่งเศสจับจ้องงานโชว์แรกของลีที่นี่ การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของผู้คนที่มาดูการจัดแสดงเสื้อผ้าสีทองและขาวอย่างประณีต ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากอภินิหารขนแกะทองคำ แต่พวกเขาไม่ประทับใจในตัวของดีไซเนอร์เจ้าของงาน ซึ่งปรากฏตัวในช่วงท้ายของโชว์พร้อมกับใส่กางเกงขาบาน ใส่เสื้อแขนสั้นเอวต่ำและรองเท้าวิ่ง พร้อมกับถือกระป๋องเบียร์อยู่ในมือ ความหัวขบถของเขาไม่ได้รับการยอมรับในปารีส

สิ่งที่แย่กว่านั้นคือการแตกหักกันระหว่างเขาและอิซซี่ เธอกำลังเจรจายกเลิกสัญญากับ Givenchy หลังจากคิดว่าตัวเองคงได้มีบทบาทอยู่ในธุรกิจนี้ เมื่อไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ เธอจึงถอนตัวออกไปด้วยความเจ็บปวด หลังจากนั้นชีวิตของเธอก็ลงดิ่งแล้วสุดท้ายก็ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

พอนส์กล่าวว่าแบรนด์ Alexander McQueen เปรียบได้กับลูกรักของลี แต่ราคาที่ต้องจ่ายจากการทำงานที่ Givenchy นั้นสูงมาก หลังจาก 20 ปีที่เต็มไปด้วยความอื้อฉาว แม็คควีนพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เข้าสู่โลกแฟชั่นที่ดีไซเนอร์ทุกคนต้องการ ทันใดนั้น เขาก็หันมาสวมใส่แจ็คเกตแบรนด์ Comme de Garcons ที่สมส่วนกับร่างกาย เขาติดเหล้ายาและควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ขายขายหุ้น 51 เปอร์เซ็นให้กับ Gucci แลกกับเงิน 50 ล้านดอลลาร์และหันไปใช้ชีวิตอย่างหรูหรา แต่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว ความสนุกที่เคยมีหายไปไม่เหลือแม้แต่ร่องรอย

เมื่อแม็คควีนเสร็จสิ้นการทำคอลเลกชั่น "Plato's Atlantis" ซึ่งเขาถือว่าเป็นผลงานมาสเตอร์พีซ เขาก็บอกกับเพื่อนร่วมงานว่านี่จะเป็นงานสุดท้ายของเขา "ลีอยากสร้างสรรค์ผลงานที่สมบูรณ์แบบมาโดยตลอด" พอนส์เล่า "เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมเข้าไปแสดงความยินดีกับเขาหลังงานจบ เขาจะพูดเสมอว่า เราน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่หลังจบงานนั้น เหมือนเขาจะรู้สึกว่าเขาได้สร้างสรรค์งานที่ดีที่สุดเรียบร้อยแล้ว"

บทสั่งลา

การสร้างชื่อของแม็คควีนนั้นเปรียบได้กับเทพนิยายในโลกปัจจุบันที่มาพร้อมตอนจบอันมืดหม่น จากเด็กชนชั้นแรงงานที่มาจากลอนดอนตะวันออก สู่คนที่สร้างโลกใบใหม่ขึ้นมาโดยใช้ปีศาจในตัวที่หลอกหลอนเขามาตลอด แล้วกลายเป็นบุคคลที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษนี้ แต่จากคนที่มีเส้นทางอาชีพอันสุดยอด ได้ลักไสไล่ส่งเพื่อนและคนรอบข้างไปจนหมด ยิ่งเมื่อ อิซาเบลล่า โบลว์ และ จอยซ์ แม่ผู้เป็นที่รักของเขาจะเสียชีวิตไป ชีวิตของเขาก็ยิ่งโดดเดี่ยวมากขึ้นกว่าเดิมจนซึมเศร้าอย่างหนัก

ในช่วงที่ผลงานคอลเลกชั่นสุดท้ายของเขาออกจำหน่าย ลี แม็คควีน ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองอย่างโดดเดี่ยวในบ้าน ปราศจากสายตาของใคร คนที่เคยไปถึงจุดสูงสุดของโลก ได้ร่วมงานกับคนดังๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ ทิม เบอร์ตัน และ เลดี้ กาก้า ได้ออกแบบเครื่องแต่งกายให้ เดวิด โบวี่ และได้กำกับเอ็มวีให้กับ บียอร์ก ได้ทำเรื่องช็อคโลกอีกครั้ง

ถึงกระนั้น ผลงานของแม็คควีนก็ยังอยู่คู่โลกนี้สืบไป "พวกเราต่างหลงใหลคนที่ประสบความสำเร็จด้วยความสามารถอันโดดเด่น" เอทเทตกุย กล่าว "เรื่องราวของลีนั้นเป็นมากกว่าแค่เรื่องของแฟชั่น เขาผลักดันขอบเขตของคำว่าแฟชั่นให้ก้าวไกลไปกว่าเดิม ด้วยผลงานที่ทั้งเปี่ยมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถที่ไม่เป็นสองรองใคร ความตรงไปตรงมาในการนำเสนอของเขาเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว บางทีจะมีแค่สักครั้งหรือ 2 ครั้งเท่านั้นที่มีคนสามารถประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในแต่ละยุค แต่ลีทำได้ถึง 3 ครั้ง ถ้าเปรียบเทียบแล้วเขาไม่ต่างอะไรกับโมซาร์ทที่เปลี่ยนแปลงซิมโฟนี่ไปตลอดกาล รวมถึงปิกาสโซ่ที่เปลี่ยนทิศทางของศิลปะร่วมสมัย"

"เขามอบแรงบันดาลใจให้กับนักทำหนัง นักดนตรี และศิลปินทั้งยุค" บอนโฮตยกย่อง "ดีไซเนอร์รุ่นใหม่เขาไม่สนใจศึกษา Chanel หรือ Lagerfeld อีกแล้ว แต่พวกเขาศึกษา McQueen ตอนนั้นความคิดที่ว่าใครสักคนเช่นลี ผู้ที่มาจากย่านลอนดอนตะวันตกสามารถเปลี่ยนแปลงโลกแฟชั่นทั้งใบได้เป็นสิ่งที่บ้ามากๆ แต่ไม่ใช่อีกต่อไป"

นักทำหนังรายนี้ยังกล่าวต่ออีกว่า "แต่ความเป้นตำนานของเขามีมากกว่าแค่เรื่องการออกแบบเสื้อผ้า มันเหมือนกับว่าที่สหราชอาณาจักรมันมีโลกยุคก่อนลี และโลกยุคหลังลี เสื้อผ้าแฟชั่นกลายเป็นสินค้าทำงานนับตั้งแต่ชื่อของเขาดังขึ้นมา เขาเป็นดีไซเนอร์คนสุดท้ายจริงๆ ที่สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาจากศูนย์แล้วสามารถประสบความสำเร็จในระดับปรากฏการณ์"

ในปี 2011 หลังจากที่ลีจากไป สถาบันด้านแฟชั่น Metropolitan Museum of Art ที่นิวยอร์คได้ได้จัดแสดงงานศิลปะเกี่ยวกับเขาในชื่อว่า Savage Beauty ซึ่งสะท้อนอย่างครอบคลุมให้เห็นถึงโลกของเขาที่ทั้งน่าทุกข์ทรมานและแสนสวยงามในเวลาเดียวกัน เฉลิมฉลองความหัวขบถและชวนให้หลงใหลในความเป็นอัจฉริยะของเขา ถือเป็นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยจัดมา มีผู้คนมาร่วมชมงานมากกว่า 65,000 คน และหลายคนในนั้นต้องรอนานหลายชั่วโมงกว่าจะได้เข้าไปสัมผัสโลกใบนี้

เอทเทตกุยกล่าวถึงงานแสดงผลงานนี้ว่า มันคือพินัยกรรมที่แสดงถึงความทุ่มเทและความอัจฉริยะของแม็คควีน "เซบาสเตียน พอนส์ บอกเราว่าเขาเดินผ่านห้องแล้วห้องเล่าที่เต็มไปด้วยเสื้อผ้ายอดเยี่ยมจากทั่วทุกแห่งหน และมันเพิ่งตัดเย็บเสร็จสิ้นเพียง 10 วัน เซบาสเตียนไม่อยากเชื่อสายตาว่าพวกเขาทำอะไรกันลงไป แม็คควีนมีความเข้าใจในงานฝีมือ งานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ไม่มีใครทัดเทียบได้ เขาสามารถผลักดันทุกอย่างไปในทุกทิศทุกทาง ตลอดเวลา 20 ปีที่เขาทำงานนี้ เขาสร้างสรรค์ผลงานไว้มากกว่าใครบางคนที่ใช้เวลามากถึง 80 ปีเสียอีก"

ทีมงานสร้าง

เอียน บอนโฮต (อำนวยการสร้าง, กำกับ)

ผู้กำกับและนักทำหนังมือรางวัลผู้เคยมีผลงานการกำกับมิวสิควิดีโอ โฆษณา และหนังแฟชั่น เขาเป็นผู้ก่อตั้ง Pulse Films บริษัทสร้างหนังที่เขาเป็นผู้บริหารร่วมกับ โทมัส เบนสกี้ และ มาริสา คลิฟฟอร์ด โดย Pulse Films ได้สร้างหนังเด่นๆ อย่างเรื่อง The Witch และ American Honey ซึ่งคว้ารางวัลมาครองจากหลายเวทีรางวัลเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ปีเตอร์ เอทเทตกุย (กำกับร่วม, เขียนบท)

มือเขียนบทที่มีผลงานทั้งหนังเล่าเรื่องขนาดยาวและหนังสารคดี ผลงานที่ผ่านมาของเขาประกอบด้วย Kinky Boots หนังเกี่ยวกับแฟชั่นที่ถูกนำไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์ออกแสดงหลายที่, สารคดี Listen to Me Marlon ว่าด้วยชีวิตของยอดนักแสดง มาร์ลอน แบรนโด และ McQueen คือสารคดีเรื่องแรกที่เขาควบตำแหน่งผู้กำกับร่วมด้วย

นอกจากจะทำงานเขียนบทแล้ว เอทเทตกุยยังทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านบทภาพยนตร์ให้กับโปรเจ็คหลายๆ เรื่อง รวมทั้งภาพยนตร์สายลับ เจมส์ บอนด์ 007 ในระยะหลังๆ และยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Dancing Lodge บริษัทสร้างหนังอิสระของอังกฤษที่มีผลงานทั้งหนังใหญ่ หนังทีวีและรายการวิทยุมากมาย

แอนดี้ ไรเดอร์ (อำนวยการสร้าง)

ผู้อำนวยการสร้างที่มีประสบการณ์การทำงานในแวดวงโทรทัศน์และภาพยนตร์มานานหลายปี เคยทำงานในหนังฮอลลีวู้ดเรื่องใหญ่ๆ ภาพยนตร์สารคดี มิวสิควิดีโอ โฆษณา และอื่นๆ อีกมากมาย เธอเปิดบริษัท Misfits Entertainment ขึ้นในปี 2017 ร่วมกับผู้กำกับเอียน บอนโฮต

ผลงานเรื่องแรกที่ แอนดี้ ไรเดอร์ สร้างคือ Alleycats ซึ่งได้รับการจัดจำหน่ายไปฉายยังโรงภาพยนตร์อีก 20 กว่าประเทศทั่วโลก และผลงานชิ้นล่าสุดคือสารคดีเกี่ยวกับดีไซนเนอร์ชื่อดัง McQueen

พอล แวน คาร์เตอร์ (อำนวยการสร้าง)

ผู้อำนวยการสร้างคู่หูของ นิค ทอสซิก เคยสร้างหนังมา 15 เรื่องโดยมีเรื่องเด่นๆ คือ Churchill หนังที่นำแสดงโดย ไบรอัน ค็อกซ์, My Name is Lenny หนังเรื่องสุดท้ายในชีวิตของ จอห์น เฮิร์ท และหนังสารคดีอีกหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Breaking Habits, Surrender, Gascoigne, The Challenge และ The Iconoclast โดยนอกจากอำนวยการสร้างแล้ว พอล แวน คาร์เตอร์ ยังเคยกำกับหนังเรื่อง The Guv'nor เมื่อปี 2016 แล้วได้เข้าชิงรางวัลสารคดียอดเยี่ยมจากเวที East End Film Festival ด้วย

นิค ทอสซิก (อำนวยการสร้าง)

สหายคู่ซี้ของ พอล แวน คาร์เตอร์ ทั้งคู่เปิดบริษัท Salon Pictures ขึ้นในปี 2013 แล้วผลิตผลงานเด่นๆ ออกมามากมายหลายเรื่อง โดยนอกจากทำงานให้ Salon Pictures แล้ว เขายังไปทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของ Revolver Entertainment สร้างสรรค์ผลงานดีๆ เอาไว้เช่น Taxi to the Dark Side ซึ่งได้รางวัลออสการ์สาขาหนังสารคดียอดเยี่ยม, Synecdoche, New York หนังสุดแจ๋วของผู้กำกับ ชาร์ลี คอฟฟ์แมน และ Grizzly Man ของผู้กำกับรุ่นใหญ่ แวร์เนอร์ เฮอร์โซก

ฮิวโก้ กรัมบาร์ (อำนวยการสร้างบริหาร)

หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Embankment Films Limited บริษัทซึ่งให้คำปรึกษาและหาทางออกให้กับนักทำหนังเพื่อทำหนังออกฉายให้ประสบความสำเร็จ เขายังเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างหนังฟอร์มดีหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Man on Wire, Paranormal Activity, The Road, Precious, A Single Man, Transporter 3 และ Buried และยังทำการตลาดและจัดจำหน่ายหนังเรื่อง Match Point, Apocalypto, Bridge to Terabithia, 30 Days of Night, Once, The Passion of the Christ และอื่นๆ อีกมากมาย

ทิม ฮัสเลม (อำนวยการสร้างบริหาร)

เซล์ขายหนังผู้มีประสบการณ์ในวงการมานานกว่า 20 ปี หุ้นส่วนของ Embankment Films Limited ผู้อยู่เบื้องหลังของการนำหนังดีๆ เข้าฉายหลายต่อหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Shame, Seven Psychopaths, Great Expectations, Quartet, Nowhere Boy, Made in Dagenham, You're Next, Sliding Doors, The Wedding Planner, The Quiet American, Resident Evil, The Piano, Driving Miss Daisy, Damage และ Dances With Wolves

เดวิด กิลเบอร์รี่ (อำนวยการสร้างบริหาร)

ศาสตราจารย์ด้านสื่อและภาพยนตร์ ผู้มีส่วนในการอำนวยการสร้างหนังและให้ทุนสร้างหนังอิสระมากมายจำนวนกว่า 70 เรื่องโดยมีเรื่องเด่นๆ คือ Bone Tomahawk, The Survivalist, 47 Meters Down, The Time of Their Lives, Tawai: A Voice From the Forest และ The Recall.

แพทริค ฟิชเชอร์ (อำนวยการสร้างบริหาร)

ผู้อำนวยการสร้างที่มีผลงานเด่นๆ ที่ผ่านมาคือ Love Live Long ผลงานการกำกับของ ไมค์ ฟิกกิส ผู้กำกับที่เคยได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ และเขายังมีส่วนร่วมในการสร้างหนังอิสระหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Una, Swallows and Amazons, 47 Meters Down, God's Own Country และ I Am Not a Witch

ในปี 2012 แพทริค ฟิชเชอร์ จบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจาก Cass Business School และยังได้รับเลือกจาก Time Out ให้ติด 1 ใน 100 "ปัจเจกบุคคลที่มีอิทธิพล มีความคิดสร้างสรรค์และมีแรงบันดาลใจมากที่สุดของวงการสื่ออังกฤษในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา" ด้วย

คริสโตเฟอร์ เรย์โนลด์ (อำนวยการสร้างบริหาร)

ผู้กำกับมิวสิควิดีโอที่เข้าร่วม Salon Pictures มาตั้งแต่ปี 2016 และมีผลงานอยู่เบื้องหลังหนังเรื่อง Churchill และ My Name is Lenny ด้วย คริสโตเฟอร์ เรย์โนลด์ นั้นมีประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารมากว่า 20 ปี และเขานำความรู้ที่มีมาเปิดบริษัทเพื่อบริการให้ทุนแก่องค์กรต่างๆ มากมายรวมทั้งคนทำหนังอิสระ และงานโปรดักชั่นต่างๆ

วิล พิวจ์ (กำกับภาพ)

ตากล้องผู้กำกับภาพหนังเรื่อง My Scientology Movie ของผู้กำกับ จอห์น ดอเยอร์, และ Diana กับ 7 Days ให้กับ เฮนรี่ ซิงเกอร์ เขาจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจก่อนจะผันตัวเองมาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

ไมเคิล นายแมน (ดนตรีประกอบ)

คอมโพเซอร์ชื่อดังแห่งเกาะอังกฤษ มีผลงานการประพันธ์ทั้งละครโอเปร่า วงควอเต็ทและดนตรีประกอบให้กับหนังหลายๆ เรื่อง นอกจากนั้นเขายังเป็นคอนดักเตอร์ นักเขียน นักเปียโน ช่างภาพ และนักทำหนังด้วย หนังเรื่องเด่นๆ ที่เขาเคยทำ อาทิ หนังของผู้กำกับ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ เรื่อง The Draughtsman's Contract และ The Cook, the Thief, His Wife & Her Lover รวมทั้ง Gattaca ของผู้กำกับ แอนดรูว์ นิคโคล และอัลบั้มซาวด์แทร็คของหนังเรื่อง The Piano ของผู้กำกับ เจน แคมเปียน ซึ่งสามารถขายได้มากกว่า 3 ล้านแผ่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest