ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ตุลาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยอดคำสั่งซื้อสูง คาดเตรียมจำหน่ายปลายปี ประกอบกับราคาน้ำมันลดลงส่งผลดีต่อต้นทุนขนส่ง กังวลสงครามการค้าจีน-สหรัฐ

อังคาร ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๒:๐๗
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ประจำเดือนตุลาคม 2561 จำนวน 1,207 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 29.4,37.6,33.0 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 38.5,15.7,13.0,21.0 และ 11.8 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 81.2 และ 18.8 ตามลำดับ

โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในตุลาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 92.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 91.5 ในเดือนกันยายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

จากการสำรวจพบว่า ในเดือนตุลาคม ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยบวกจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายในช่วงปลายปี ขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อต้นทุนการขนส่ง ประกอบกับในเดือนตุลาคมได้ผ่านพ้นช่วงฤดูมรสุมทำให้การขนส่งสินค้าทางเรือไปต่างประเทศได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดย่อมยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นและปัญหาสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ นอกจากนี้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคและในกลุ่มประเทศ Emerging Market หรือตลาดเกิดใหม่ที่เป็นคู่ค้าและคู่แข่งของไทย เป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่งออกมีความกังวลและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 106.7 เพิ่มขึ้นจาก ระดับ 106.1 ในเดือนกันยายน สะท้อนความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ในระดับที่ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2562 คาดว่าส่งผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนตุลาคม 2561 จากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม อยู่ที่ระดับ 73.6 ปรับตัวลดลง จากระดับ 74.9 ในเดือนกันยายน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ อยู่ที่ระดับ 91.2 และ 111.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 90.5 และ 110.8 ในเดือนกันยายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 2)

อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนตุลาคม2561 อยู่ที่ระดับ 73.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 74.9 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์,อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน,อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 98.4 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 91.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 90.5 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม,อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์,อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ108.7 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 111.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 110.8 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี,อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี,อุตสาหกรรมอลูมิเนียม เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 111.1 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนตุลาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคม ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 6)

ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 94.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 98.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมต้นทุนประกอบการ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อลดลงจากในประเทศ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อลดลงจากสหรัฐฯ และจีน)

อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (เครื่องจักรทางการเกษตร รถแทรกเตอร์ มียอดขายในประเทศลดลง)

อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องสำหรับบรรจุสินค้า มียอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง)

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมพลาสติก (สินค้าประเภทถุงพลาสติก ฟิล์มพลาสติก และกระสอบพลาสติก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกและเครื่องใช้ในครัวเรือน มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดอาเซียน)

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 78.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 81.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเซรามิก (สินค้าเซรามิก ประเภทจานชามบนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ มียอดขายในประเทศลดลง กระเบื้องปูพื้นบุผนังส่งออกไปตลาด CLMV ลดลง)

อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษคราฟต์ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกสินค้าปริมาณสูง ผลิตภัณฑ์กระดาษสาส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ลดลง)

อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (หลังคาเมทัลชีทมียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นฤดูฝน งานก่อสร้างชะลอตัวลง)

อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ (เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปประเภทไม้ และเหล็ก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และจัดงานแสดงสินค้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย ด้านการส่งออกชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และยุโรป)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 95.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 95.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 89.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.9 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ขณะที่โทรศัพท์มือถือมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นจากงาน Thailand Mobile Expo 2018)

อุตสาหกรรมสิ่งทอ (เส้นใยสิ่งทอ และเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม)

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (คอนกรีตผสมเสร็จ มียอดขาย และคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ)

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (หินอ่อน หินประดับ อิฐมวลเบา อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง มียอดขายในประเทศลดลง)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 109.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (ชิ้นส่วนยานยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และจีน ขณะที่อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ตามการ-ขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์)

อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปประเทศจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (สินค้าประเภทเครื่องประดับทอง และอัญมณี มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากในประเทศ และตลาดต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ, เยอรมนี และฮ่องกง)

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเหล็ก (เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีคำสั่งซื้อลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับราคาเศษเหล็กสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 112.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 112.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561อยู่ที่ระดับ 77.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 79.2 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ด้านการ-ส่งออกมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีน)

อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือแพทย์ หลอดฉีดยา มีคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลลดลง เนื่องจากมีสต๊อกสินค้าสูง)

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มดิบมียอดขายในประเทศลดลง)

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยางทางการแพทย์ ถุงยางอนามัย ล้อยางรถยนต์ มีคำสั่งซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 105.1 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนกันยายน 2561 จากการ-สำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคม ขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 7)

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.7 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และ ผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, อุตสาหกรรมน้ำตาล เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 109.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 107.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยาน-ยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 109.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.8 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ

- ขอให้ภาครัฐคงมาตรการในการดูแลราคาน้ำมันดีเซล ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการ

- เสนอให้ภาครัฐใช้ประโยชน์จากสงครามการค้าในการเชิญนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ และให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับแรงงานไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๔๔ กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง
๑๑:๑๑ สาขาการผลิตอีเว้นท์ฯ ม.กรุงเทพ พร้อมผลักดันวงการ T-POP ใน CHECKMATE T-POP DANCE BATTLE
๑๐:๑๓ ฟอร์ติเน็ตผนึกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมเป็นศูนย์กลางภาคเหนือ สร้างกำลังพลมืออาชีพด้านไซเบอร์เต็มรูปแบบ
๑๐:๕๘ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชวนสัมผัสฟาร์มกลางท้องทุ่ง และเรียนรู้อนุรักษ์ควายไทย ในงาน INTO THE FARM มนต์รัก
๑๐:๓๐ วว. แนะวัสดุปลูกต้นอ่อนทานตะวันจากก้อนเห็ดเก่าใช้แล้ว
๑๐:๒๑ MICRO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 ชูกระแสเงินสดแกร่ง - เตรียมชำระคืนหุ้นกู้ 321 ลบ. เม.ย.
๐๙:๔๓ ยางคอนติเนนทอล ฉลองครบรอบความสำเร็จ 15 ปี ในประเทศไทย และการก่อตั้งโรงงานยางคอนติเนนทอลแห่งแรกในประเทศไทยกว่า 5
๐๙:๕๖ เนสท์เล่ ประเทศไทย เร่งเครื่องกลยุทธ์ ขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อผู้บริโภค นำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่อร่อยและมีคุณค่าโภชนาการ
๐๙:๑๑ วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เปิดศูนย์บริการซ่อมตัวถั และสีมาตรฐานครบวงจรแห่งใหม่ ณ โชว์รูมและศูนย์บริการวอลโว่ พระนคร
๐๙:๔๔ HONNE (ฮอนน์) วงดูโอ้สุดแนวจากอังกฤษ ปล่อยเพลงใหม่ Imaginary ต้อนรับศักราชใหม่ เรื่องราวความรักโรแมนติกที่อิงจากชีวิตจริง