มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือ ธนาคารกรุงเทพ เปิดตัว “Startup Ecosystem @TU” เพื่อพัฒนาพื้นที่บ่มเพาะ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยน Startup ระหว่างประเทศเพื่อขยายตลาด

จันทร์ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๐๘:๕๘
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) วางวิสัยทัศน์ในการแปลงงานประดิษฐ์ของอาจารย์ไปสู่ภาคธุรกิจ กลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ คือการสนับสนุน Startup ให้ใช้นวัตกรรมเหล่านี้ด้วยการสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการพบปะระหว่างผู้ประกอบการ อาจารย์นักวิจัย และนักศึกษา เป็นแหล่งสร้างนวัตกรรม แหล่งบ่มเพาะธุรกิจ และแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักศึกษา โดยได้จัดแถลงข่าว "Startup Ecosystem @TU" พื้นที่บ่มเพาะ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยน Startup ระหว่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้อง InnoHub ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการสร้างระบบนิเวศ เพื่อส่งเสริม Startup ว่า เป็นกลยุทธ์สำคัญในการดึงธุรกิจเข้ามาเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ทั้งในระดับการเรียนการสอน การฝึกงานหรือการตั้งธุรกิจจริง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธรรมศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ โดย Startup ที่รับการบ่มเพาะไม่จำเป็นต้องเป็นบัณฑิตของธรรมศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นกลุ่มที่ใช้ไลเซนส์สิทธิบัตร นวัตกรรมที่อาจารย์ธรรมศาสตร์คิดค้นขึ้นด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเครือข่ายพันธมิตรเช่นธนาคารกรุงเทพที่ร่วมสนับสนุน Startup Ecosystem@TU โดยขณะนี้ได้มีโครงการใหม่ร่วมกันเรียกว่า Startup Exchange Program คือการส่ง Startup ไทยไปแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายพันธมิตรในต่างประเทศ เริ่มจากสิงคโปร์ซึ่งมีการพัฒนาเครือข่ายฐานผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก จะช่วยให้ Startup ของเราขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว

"การมีฐานผู้ใช้จำนวนมากเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ start up ประสบความสำเร็จในอนาคต จึงอยากเชิญชวนให้ Startup ไทยเข้าร่วมและใช้ประโยชน์จากโครงการ Startup Exchange Program ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และธนาคารกรุงเทพริเริ่มขึ้นในครั้งนี้"

ด้าน นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างธรรมศาสตร์ กับธนาคารกรุงเทพ สอดคล้องกับแผนการส่งเสริม Startup ของธนาคารกรุงเทพ โดยธนาคารมีโครงการ InnoHub เป็นแหล่งบ่มเพาะ ทั้งนี้ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะทำให้ Startup สามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังมี Co-working Space ที่รองรับบริษัท Startup จำนวน 10 บริษัท และกำลังสร้างพื้นที่เพิ่มเติมเป็น Deep Tech ณ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยคาดว่าในระยะแรกจะมีนักศึกษาเข้าร่วมฝึกงานในบริษัท Startup ที่เข้ามาตั้งในพื้นที่บ่มเพาะของมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน และจะใช้โมเดลนี้เป็นต้นแบบในการขยายไปสู่คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างแหล่งบ่มเพาะธุรกิจ Startup

ศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ ลีมัคเดช ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า หนึ่งในโครงการที่ธรรมศาสตร์สนับสนุน Startup คือโครงการแลกเปลี่ยนหรือ Startup Exchange โดยจะคัดเลือก Startup ในพื้นที่มหาวิทยาลัย บริษัทละ 2 คน เพื่อไปทำงานในพื้นที่บ่มเพาะต่างประเทศ ประโยชน์ที่จะได้รับคือการเรียนรู้วิธีการทำงานของ Startup ในต่างประเทศ โอกาสและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เนื่องจากปัญหาของ Startup ไทย คือขนาดตลาดภายในประเทศที่เล็กเกินไป ส่วน Startup ที่อยู่ในประเทศก็จะเรียนรู้จาก Startup ต่างประเทศที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีคณะกรรมการคัดเลือก Startup ที่สนใจเข้าใช้บริการพื้นที่บ่มเพาะในมหาวิทยาลัย สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 02-564-4441-79 ต่อ 1664-1665 หรือเว็บไซต์ http://tuipi.tu.ac.th/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?