คอร์น เฟอร์รี่ ชี้ผู้นำองค์กรไทยส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ทั้งต้องการแรงงานทักษะสูงเพิ่มขึ้น

พุธ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๖:๑๗
- ผู้นำองค์กรกว่า 70% ในการสำรวจยอมรับว่าเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร

- ผู้นำองค์กรธุรกิจไทย 82% เชื่อว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ผู้คนในฐานะตัวสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดของบริษัท --

- น่าจับตาว่า 88% ยอมรับว่าบริษัทจำเป็นจะต้องมีแรงงานทักษะสูงจำนวนที่มากขึ้น

- เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนกับแรงงานทั้งหมดในอนาคต

รายงานผลการศึกษาครั้งล่าสุดของคอร์น เฟอร์รี่ (รหัสในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก: KFY) ชี้ผู้นำองค์กรธุรกิจในประเทศไทยต่างวิตกกังวลว่า แรงงานทักษะสูงที่มีจำนวนลดลงจะส่งผลกระทบถึงการเติบโตทางธุรกิจในอนาคตระยะกลาง โดยกว่า 46% ยอมรับว่าการขาดแคลนแรงงานทักษะอาจส่งผลให้เกิดการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานในบางช่วงเวลา

โดยผู้นำองค์กรธุรกิจในเมืองไทยต่างมีแผนการที่สร้างการเติบโตทางรายได้ของบริษัทในอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้นำ 84% ระบุว่ามีแผนสร้างการเติบโตเฉลี่ย 36% ภายในปี ค.ศ. 2020 และเพิ่มถึง 47% ภายในปี ค.ศ. 2030 อีกทั้งองค์กรต่าง ๆ ยังมีแผนการในการเพิ่มจำนวนพนักงานอย่างจริงจังในช่วงเวลาดังกล่าว โดยองค์กรธุรกิจ 80% ตั้งใจจะเพิ่มจำนวนพนักงานเฉลี่ย 37% ภายในปี ค.ศ. 2020 และเพิ่มถึง 48% ภายในปี ค.ศ. 2030

อย่างไรก็ดี ผู้นำองค์กรธุรกิจในไทยยังมีความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงานทักษะสูง มากกว่าผู้นำในประเทศอื่น ๆ กล่าวคือ มีผู้บริหารระดับสูงเพียง 30% ที่คิดว่าจะมีแรงงานทักษะสูงเพียงพอหรือมากเกินความต้องการในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้บริหารกว่า 48% ทั่วโลก ผู้นำองค์กรธุรกิจในไทยมองว่าเทคโนโลยีจะมีความสำคัญมากกว่าแรงงานทักษะสูงในอนาคตการทำงาน นั่นคือกว่า 82% เชื่อว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่พนักงานในฐานะการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดในช่วงเวลาดังกล่าว และกว่า 70% ยกให้เทคโนโลยีเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาและขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กร

สำหรับผู้นำองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ในเมืองไทยไม่ได้มองว่าจะเกิดแข่งขันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรในอนาคต โดย 88% กล่าวว่าบริษัทของตนจำเป็นจะต้องมีแรงงานทักษะสูงจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบสัดส่วนกับแรงงานทั้งหมดในอนาคต ซึ่งผู้บริหารจำนวนมากเท่า ๆ กันก็เห็นพ้องว่า เทคโนโลยีก็จะก่อให้เกิดงานที่ต้องอาศัยทักษะสูงเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของบริษัท ผู้นำในเมืองไทยกว่า 86% ยังคงวางแผนความต้องการแรงงานทักษะสูงในลักษณะเดิมๆ มีเพียง 9% ที่มีแผนการต่อเนื่องไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 และแม้ว่าพวกเขามีการคาดการณ์ถึงบทบาทหน้าที่และตำแหน่งงานซึ่งมีความสำคัญในอนาคต แต่กว่า 82% กล่าวว่ามันง่ายกว่าในการวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและสินทรัพย์ที่จับต้องได้ โดยต่างถูกแรงกดดันจากผู้ถือหุ้นให้สร้างผลตอบแทนที่รวดเร็ว รวมถึงวาระการเป็นผู้นำองค์กรในช่วงเวลาสั้น ล้วนเป็นปัจจัยร่วมในเรื่องนี้

"การอุบัติของเทคโนโลยีทำให้การพัฒนาธุรกิจมีอัตราเร่งเร็วมากยิ่งขึ้น การคาดการณ์แบบยืดหยุ่นและการสร้างแบบจำลองธุรกิจเริ่มมีความสำคัญมากกว่าการใช้รูปแบบธุรกิจดั้งเดิม อาทิ แผนการระยะ 5 ปี เป็นต้น" มร.ไมเคิล ดิสเตฟาโน ประธานกรรมการ คอร์น เฟอร์รี่ เอเชีย แปซิฟิก กล่าว "แม้การวางแผนภาพรวมเศรษฐกิจจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเติบโตของธุรกิจ แต่สิ่งนี้แทบจะไม่ครอบคลุมถึงแผนการในส่วนของพนักงานเลย เนื่องจากแรงงานทักษะสูงถือเป็นตัวส่งเสริมการเติบโตในเขตเศรษฐกิจใหม่ องค์กรต่าง ๆ จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดให้มีความฉับไวยิ่งขึ้น และหันมาใช้แนวทางระยะยาวเมื่อต้องพิจารณาทบทวนกลยุทธ์เกี่ยวกับแรงงานทักษะสูง"

โลกกำลังจะเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในอนาคตอันใกล้ โดยจะเกิดขึ้นทั้งกับเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาไม่แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทย ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานดังกล่าวอาจส่งผลกระทบถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสูงถึง 6.4% ในปี ค.ศ. 2030 และเมื่อพิจารณาในระดับโลก งานศึกษาของคอร์น เฟอร์รี่ คาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานทักษะสูงถึง 85.2 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจะส่งผลทำให้มีอัตรารายรับที่จะไม่เกิดขึ้นมากถึง 8.452 ล้านล้านดอลลาร์ในเขตเศรษฐกิจหลักกว่า 20 แห่งทั่วโลก โดยในช่วงต้น ค.ศ. 2020 การขาดดุลแรงงานอาจขึ้นไปแตะที่ 20.3 ล้านคน

การศึกษาเรื่องการโยกย้ายของแรงงานที่มีทักษะ เผยให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลกยังมองโลกในแง่ดีจนเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการจัดหาแรงงานทักษะสูงเพื่อการทำงานในอนาคต

ผู้นำองค์กรธุรกิจเกือบทั้งหมด (95%) มั่นใจว่าองค์กรของตนสามารถจัดหาแรงงานทักษะสูงเพื่อการทำงานในอนาคตได้ แม้มีแนวโน้มจะเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานทักษะสูงถึง 85.2 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 โดยผู้นำน้อยกว่า 1 ใน 10 (9%) มีการวางแผนอย่างจริงจังถึงจำนวนแรงงานที่มีทักษะที่จำเป็นในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ครอบคลุมไปถึงปี ค.ศ.2030

ผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่ (84%) เชื่อว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องมีแรงงานทักษะสูงจำนวนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบร้อยละกับแรงงานทั้งหมด และมีเพียงครึ่งเดียว (52%) ที่เชื่อว่าจะเกิดภาวะขาดดุลแรงงานที่ขาดแคลนมากที่สุดในปี ค.ศ.2030 และ 1 ใน 3 (33%) ไม่เชื่อว่า ภาวะขาดแคลนแรงงานจะลดอัตราการเติบโตหรือจำกัดผลกำไรขององค์กร

ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกต่างรับรู้ถึงความท้าทายที่จะเกิดจากการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โดยผู้นำองค์กรธุรกิจ 84% กล่าวว่า หากต้องการอยู่รอดในอนาคตการทำงาน บริษัทจำเป็นจะต้องมีแรงงานทักษะสูงจำนวนมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนแรงงานทั้งหมดขององค์กร กระนั้น สาระสำคัญที่แท้จริงของปัญหานี้ก็ยังคลุมเครือ แม้มีผู้นำหลายคนรายงานว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเริ่มส่งผลกระทบต่อธุรกิจแล้วในขณะนี้ แต่พวกเขากลับบอกว่านี่เป็นปัญหาแบบวัฏจักรที่มีขึ้นมีลง มากกว่าที่จะเป็นปัญหาถาวร โดยผู้บริหารราว 66% คาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานทักษะสูงภายในปี ค.ศ. 2020 และมีเพียง 25% ที่เชื่อว่าจะเกิดในปี 2030 และเกิดภาวะขาดแคลนทั่วโลกเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น

เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการโยกย้ายของแรงงานที่มีทักษะ

หลังจากงานศึกษาภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะทั่วโลกของ คอร์น เฟอร์รี่ (Global Talent Crunch Study) ซึ่งได้สร้างแบบจำลองช่องว่างระหว่างจำนวนอุปสงค์และอุปทานแรงงานในอนาคต เพื่อประเมินภาวะขาดแคลนแรงงานที่อาจจะเกิดขึ้น และการศึกษาเรื่องการเพิ่มอัตราเงินเดือน ซึ่งประเมินผลกระทบของภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีต่อการจ่ายค่าจ้างในเขตเศรษฐกิจใหญ่ของโลกทั้ง 20 แห่ง การศึกษาเรื่องการโยกย้ายของแรงงานที่มีทักษะ จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบทัศนคติขององค์กรในเรื่องแรงงานที่มีทักษะที่มีอยู่ และผู้นำองค์กรธุรกิจใดบ้างที่ตระหนักถึงภาวะขาดแคลนแรงงานที่กำลังจะเกิดขึ้น ตลอดจนมีแผนการรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

การศึกษาครั้งนี้ทำการสำรวจผู้นำองค์กรระดับผู้บริหารจำนวน 1,550 คน (ผู้บริหารระดับสูงหรือต่ำกว่าระดับสูง 1 ขั้น) จากองค์กรธุรกิจมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ใน 19 ประเทศทั้งในภูมิภาคอเมริกา ภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานผลการศึกษาจะให้ความสำคัญที่แรงงานทักษะสูงซึ่งคาดว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนแบบเฉียบพลัน (จากข้อมูลในงานศึกษาภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะทั่วโลก) และใช้จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาเป็นค่าตัวกลางแทนทักษะด้านต่าง ๆ ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป หากท่านต้องการดูภาพรวมทั่วโลกและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานศึกษาชิ้นนี้ กรุณาดูเอกสารฉบับเต็มที่ The Talent Shift report

เกี่ยวกับคอร์น เฟอร์รี่

คอร์น เฟอร์รี่ เป็นบริษัทผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำระดับโลก เราให้ความช่วยเหลือบรรดาบริษัทต่าง ๆ ในการออกแบบองค์กร ทั้งในแง่โครงสร้าง บทบาท และขอบเขตความรับผิดชอบ ตลอดจนรูปแบบการจ่ายผลตอบแทน การพัฒนา และการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่บุคลากร เรายังให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรในการคัดสรรและจ้างงานบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์บริษัท คอร์น เฟอร์รี่ ดำเนินงานด้วยทีมงานกว่า 7,000 คนเพื่อให้บริการลูกค้าในมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital