ธนาคารเอชเอสบีซีแต่งตั้งผู้อำนวยการธุรกิจเครือข่ายต่างประเทศประจำประเทศไทยคนใหม่

จันทร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๑:๑๕
- ปริมาณเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติจะเพิ่มขึ้น จากอานิสงส์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เดินเครื่อง

- อีอีซีจะช่วยผลักดันทั้งโครงการใหม่และโครงการเดิม

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้แต่งตั้งนายอเล็กซานเดอร์ มอลล็อชให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเครือข่ายต่างประเทศ ในประเทศไทย การเข้ารับตำแหน่งของนายมอลล็อชจะช่วยให้ธนาคารเอชเอสบีซีมอบบริการทางการเงินที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นแก่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ระหว่างประเทศและธุรกิจระดับกลางที่มองหาโอกาสขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายมอลล็อชกำลังย้ายถิ่นพำนักจากฮ่องกงมายังประเทศไทย ทั้งนี้ นายมอลล็อชเคยปฏิบัติหน้าที่ในประเทศออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรมาก่อน และได้นำประสบการณ์อันกว้างขวางระดับโลกด้านการพัฒนาธุรกิจและการบริหารธุรกิจมาใช้ในประเทศไทย โดยนายมอลล็อชมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกฤษฎา แพทย์เจริญ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจในประเทศไทย และขึ้นตรงต่อนายฮิแมนชู แซนวัลคา ผู้อำนวยการบริหาร สายงานธุรกิจเครือข่ายต่างประเทศ กำกับดูแลเครือข่ายสาขาในระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

นายฮิแมนชู แซนวัลคา ให้ความเห็นถึงการแต่งตั้งครั้งนี้ว่า "อเล็กและทีมงานของเขาจะช่วยสนับสนุนองค์กรธุรกิจระหว่างประเทศและบริษัทในเครือให้เติบโตในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในยุค 4.0 โดยธนาคารเอชเอสบีซีมีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะสนับสนุนการพัฒนาและการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศในประเทศไทยและในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในโครงการใหม่หรือโครงการเดิม"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมธุรกิจเครือข่ายต่างประเทศในประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำสัญชาติจีนซึ่งย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ตลอดจนมอบบริการบริหารเงินสด และบริการที่เกี่ยวข้องกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX markets solutions) นอกจากนี้ ยังได้ช่วยผู้ประกอบธุรกิจโรงเรียนนานาชาติที่มีสาขาอยู่ในประเทศไทยเปิดใช้บริการเรียกเก็บเงินออนไลน์สำหรับค่าธรรมเนียมการศึกษาอีกด้วย

ธนาคารเอชเอสบีซีพร้อมให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับประเทศจากอุตสาหกรรมการผลิตที่มีต้นทุนต่ำไปสู่กิจกรรมการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีเป้าหมายที่จะพัฒนาจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำในอาเซียน

นายกฤษฎา แพทย์เจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การพัฒนาของอีอีซีจะก่อให้เกิดโอกาสมหาศาลแก่บริษัททั้งในและต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย จากการก่อสร้าง งานวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมของแต่ละโครงการตลอดจนโอกาสในระยะยาวสำหรับภาคธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และสุขอนามัย ทั้งนี้ นอกเหนือจากการมอบบริการทางการเงินและการธนาคาร อาทิ สินเชื่อเพื่อการค้า เงินทุนหมุนเวียน ห่วงโซ่อุปทาน หนังสือค้ำประกัน (letter of guarantees) และการบริหารเงินตราต่างประเทศแล้ว ธนาคารเอชเอสบีซียังสามารถมอบบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่กลุ่มบริษัทที่สนใจเข้าประมูลโครงการอีกด้วย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ