เซ็นทรัลแล็บไทย ขยายศูนย์ให้บริการยกระดับสินค้าภาคใต้

พฤหัส ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๐๗
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เปิดศูนย์บริการรับตัวอย่างอย่างเป็นทางการที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักภาพผู้ประกอบการและรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเกษตรและประมงในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมนายนราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เป็นประธานร่วมเปิดศูนย์บริการรับตัวอย่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างเป็นทางการ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักภาพสินค้าในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการการท่องเที่ยว และการขนส่งโลจิสติกส์ โดยเหตุผลที่เซ็นทรัลแล็บไทย เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจุดรับตัวอย่าง เนื่องจากเล็งเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถรองรับการให้บริการผู้ประกอบการ และ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในภาคใต้ตอนบนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังเป็นการรักษามาตรฐานของสินค้าก่อนจะส่งไปตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนและแม่นยำ การขนส่งสินค้าในระยะทางไกลจำเป็นต้องถูกควบคุมมาตรฐาน ในการขนส่งสินค้าไปตรวจสอบยังสาขาสงขลาและสาขาอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ และขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยตรวจสอบและวิเคราะห์สินค้าในพื้นที่ภาคใต้

นาย นราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ศูนย์บริการแห่งใหม่นี้พร้อมที่จะเปิดให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้ตัวอย่างส่งเข้าถึงห้องปฏิบัติการได้รวดเร็ว ด้วยผลการทดสอบมีความถูกต้องแม่นยำเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าที่ส่งตรวจมีมาตรฐานที่ปลอดภัยในการบริโภค เพิ่มศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน

ด้าน นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระบุหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่สำคัญคือ การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร โดยมีเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ 2 ข้อ คือ 1.มูลค่าทางเศรษฐกิจของยางพาราและปาล์มน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และ 2.สินค้าเกษตรมีคุณภาพปลอดภัยระดับมาตรฐาน ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และการยอมรับของสินค้าในจังหวัด สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคการเกษตร มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ นอกจากนี้ยังมีการทำปศุสัตว์และประมงในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้บริการด้านการตรวจสอบและวิจัยผลิตภัณฑ์ อาหาร ประมง การเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ยกระดับมาตรฐานสินค้า สร้างความเชื่อมั่น และการยอมรับของสินค้าไทย สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้บริการสุ่มตรวจและรับรองสินค้า,ที่ปรึกษาระบบคุณภาพและเทคนิค ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ มีสาขาให้บริการ 6 สาขาทั่วทุกภูมิภาค ประกอบด้วย กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร และสงขลา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4