DATA คว้ารางวัล โล่เกียรติยศสถานประกอบการประสบความสำเร็จดีเด่นจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขีดความสามารถผลิตปลั๊กไฟ ตอกย้ำคุณภาพสินค้าเกินคาดหมาย

จันทร์ ๒๓ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๔:๑๐
วิธีสร้างความเชื่อมั่นกับลูกค้าได้ดีที่สุด คือการรักษามาตรฐานที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีก นี่จึงเป็นเหตุผลให้ DATA ปลั๊กไฟยอดนิยมผลิตโดยคนไทย ได้รับรางวัล โล่เกียรติยศสถานประกอบการประสบความสำเร็จดีเด่น โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จากการเข้าร่วมเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเปรียบเสมือนผู้มาเขี่ย "เส้นผมบังภูเขา" ชี้ช่องให้ผู้ประกอบการเห็นความสูญเสียโอกาสเพิ่มผลิตผลหากยังใช้วิธีการเดิมๆ พร้อมนำเสนอเครื่องมือดิจิทัลเพื่อช่วยขับเคลื่อนศักยภาพการผลิตให้มากขึ้นโดยไม่ต้องลดทุนเพิ่มแต่อย่างใด ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ของ DATA ยังสะท้อนชัดเจนว่า เขาคือตัวแทนของแบรนด์สินค้าไทยที่จะไม่หยุดพัฒนาตัวเองเพื่อสร้างสรรค์สินค้าที่มีคุณภาพสูงเพื่อผู้บริโภคตลอดไป

อย่างที่รู้กันว่า ปัญหาของ SMEs ไทยมักอยู่กับสไตล์การทำธุรกิจแบบเดิมๆ คุ้นเคยกับการใช้เทคนิคเดิมๆ จึงไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีสมัยใหม่ มิหนำซ้ำผู้ประกอบการยังคิดว่าเทคโนโลยีคือการลงทุนที่ใช้เงินสูง แต่ความจริงแล้วในปัจจุบันต้นทุนต่างๆ ลดลงไปมากแล้ว เจ้าของธุรกิจจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไปเสีย

ดาต้า เพาเวอร์ เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจให้เท่าทันโลกและต้องการจะเปลี่ยนค่านิยมหรือกรอบความคิดเดิมๆ ให้หมดไป จึงเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการผลิต โดยมุ่งลดของเสียและลดต้นทุนต่างๆ ด้วยการเซ็ตระบบเซ็นเซอร์ในสายการผลิตเพื่อวัดการทำงานของคน แล้วส่งผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถดูผลได้จากสมาร์ทโฟนทุกเวลาที่ต้องการ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปสู่การต่อยอดด้วยตนเองได้

ถึงแม้ว่า ดาต้า เพาเวอร์ จะมีความพร้อมด้านบุคคลากร วิสัยทัศน์ อีกทั้งมีการใช้เทคโนโลยีและสามารถที่จะประยุกต์เทคโนโลยี IOT ได้อยู่แล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่า ดาต้าสามารถพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นได้อีก ซึ่ง รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะพาร์ทเนอร์ด้านองค์ความรู้และส่งต่อเครื่องมือสู่ผู้ประกอบการ เผยว่า กระบวนการทำงานภายใต้โครงการนี้จะมุ่งไปที่การพัฒนาไลน์การผลิตผ่านการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์เพื่อสำรวจการทำงานแต่ละขั้นตอน พร้อมแจ้งผลให้ผู้ประกอบการรู้ตลอดเวลา รวมทั้งใช้หลักวิชาของไคเซ็นในทุกๆ กระบวนการเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งดาต้า เพาเวอร์ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและประสบความสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจ

ดร.ศุภกิจ พฤกษอรุณ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ทำงานร่วมกับ ดาต้า เพาเวอร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า แบรนด์ DATA เป็นกรณีศึกษาที่ดีของผู้ประกอบการไทยที่นำความรู้และนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมศาสตร์มาช่วยในการปรับประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิต และยังสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมได้จริง โดยเฉพาะในการผลิต จากเดิมเคยผลิตปลั๊กไฟได้ 4,500 ชิ้นต่อวัน นั่นอาจทำให้เกิดความพึงพอใจแล้ว แต่ความจริง ดาต้า เพาเวอร์ สามารถเพิ่มผลผลิตมากถึง 6,000 - 8,000 ชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งโครงการนี้เข้ามาช่วยชี้ให้ผู้ประกอบการเห็นจุดอ่อนของการเสียโอกาสพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องการลดของเสีย พร้อมกันนั้นยังเสนอการใช้เทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ปัญหาและปรับประยุกต์ใช้ให้ถูกจุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาสิ่งที่ดาต้า เพาเวอร์ มีอยู่แล้วดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

อภิสฤษฎิ์ นิรุชทรัพย์รดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดาต้า เพาเวอร์ จำกัด เผยถึงความภาคภูมิใจกับรางวัลโล่เกียรติยศสถานประกอบการประสบความสำเร็จดีเด่น จากโครงการฯ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าดาต้า เพาเวอร์ เดินมาถูกทางแล้ว ถือเป็นรางวัลของการไม่หยุดพัฒนาของผู้ประกอบการไทย และยังเป็นการยืนยันว่าเอสเอ็มอีไทยก้าวไกลและทันกับโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการนำ Automation เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น

"รางวัลที่ได้รับจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี อย่างในกรณีที่ต้องดีลกับลูกค้าต่างชาติ รางวัลจะสะท้อนวิสัยทัศน์ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการทำงาน ทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาสนทนากับเรามากขึ้น หรือเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับเราได้ง่ายกว่า และด้วยวิธีการเพิ่มขีดความสามารถที่เราได้รับจากโครงการฯ ยังสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อนบ้านเราได้อีกด้วย ยกตัวอย่างหากวันหนึ่ง DATA จะย้ายฐานการผลิตไปประเทศพม่า หรือเวียดนาม เราก็ไปพร้อมกับเทคโนโลยีในการควบคุมนี้ ซึ่งเทคโนโลยียังช่วยทลายกำแพงและข้อจำกัดด้านภาษาได้ เพราะทุกอย่างสามารถวัดผลได้จากจำนวน ตัวเลข และคะแนนที่ปรากฎออกมาได้เลย"

ซีอีโอของ ดาต้า เพาเวอร์ กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการในอนาคตว่า ดาต้ามีความพร้อมในเรื่องของ IOT อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Product หรือ Process ในการผลิตหรือการทำงาน แต่การทำ Automate ทั้งไลน์การผลิตนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากดาต้ายังใช้แรงงานคนประกอบชิ้นส่วน แต่ถึงจะมีข้อจำกัดเช่นนั้นก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงของดาต้า เพาเวอร์ก็ยังเชื่อมั่นว่า DATA สามารถพัฒนากระบวนการทำงานเพิ่มความเร็วในการผลิต ควบคู่ไปกับการต่อยอดประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ทำให้ยอดการผลิตเติบโตมากขึ้น พัฒนาสินค้าให้ได้ดีขึ้น โดยมีนโยบายปรับกระบวนการทำงานให้เป็น Full Automation มากที่สุด ขณะเดียวกันดาต้า เพาเวอร์ก็ต้องการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ มาสำรวจต้นตอของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน เครื่องจักร เครื่องมือ หรือเงินทุน เพื่อให้สามารถโฟกัสและแก้ปัญหาอย่างถูกต้องตรงจุดได้ดียิ่งขึ้น และพร้อมนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อต่อยอด อาทิ Behavioral Process รวมถึงการนำข้อมูลมาลดทอน และเพิ่มเติมด้านการดีไซน์ ซึ่งจะมาช่วยต่อยอดให้การแก้ปัญหาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นได้

พงศ์พัฒน์ วรรัตนธรรม Vice Chief Executive Officer ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการตรวจสอบคุณภาพสินค้าปลั๊กไฟของ DATA ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยจะนำอุปกรณ์เซ็นเซอร์ไมโครคอลโทรลเลอร์ มานับจำนวนครั้งเปิดปิดสวิตช์ไฟ ซึ่งวิธีการนี้มีความเป็นระบบ Automate มากขึ้น พร้อมสานต่อในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพอย่างครบวงจรให้ได้ รวมทั้งสรรหาวิธีการเพื่อทำให้สินค้าแบรนด์ DATA มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งความตั้งใจจะพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องนั้นช่วยตอกย้ำความน่าเชื่อถือและสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานรับประกันถึง 2 ปีของ DATA และทำให้มีโอกาสขยายการรับประกันเพิ่มเข้าไปได้อีกด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ รางวัลโล่เกียรติยศสถานประกอบการประสบความสำเร็จดีเด่น จากโครงการฯ ไม่ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพความสำเร็จของ ดาต้า เพาเวอร์ เท่านั้น แต่ยังสื่อให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ชดเชยกับค่าแรงที่สูงขึ้นได้ ทั้งยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะบุคลากร ทำให้คนทำงานเรียนรู้วิธีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นมาแก้ปัญหาภาพรวมและผลลัพธ์ของงานได้ ขณะเดียวกันระบบงานที่มีประสิทธิภาพยังช่วยขจัดปัญหาช่วงวัยของคนทำงาน ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างแรงงาน 2 Gen ได้อีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้บุคลากรที่มีอายุงานมากนั้นเหนื่อยน้อยลงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนเด็กรุ่นใหม่ก็ได้แสดงความคิดเห็น ได้ลงมือปฏิบัติในเรื่องของอุตสาหกรรมของการทำงาน สามารถใช้ศักยภาพและความรู้ด้านเทคโนโลยีของตนได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

สุดท้ายผู้บริหาร DATA ยังตอกย้ำเพิ่มเติมว่า SMEs ไทยต้องเข้มแข็ง รู้จักเปลี่ยนแปลงปรับปรุง แล้วก็อย่าหยุดพัฒนา เพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคต่อไป เช่นเดียวกับ ดาต้า เพาเวอร์ ที่จะนำรางวัล โล่เกียรติยศสถานประกอบการประสบความสำเร็จดีเด่น มาเป็นแรงผลักดันให้พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และเดินหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4