IMD องค์กรระดับโลก ชี้บทบาท “ธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่” เป็นกลไกสำคัญช่วยรัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ประเทศ

พุธ ๒๕ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๐๖
เมื่อเร็วๆนี้ ศาสตราจารย์ อาร์ตูโร บริส ผู้อำนวยการสถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรจัดทำดัชนีชี้วัดการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เปิดเผยระหว่างการบรรยายพิเศษ เรื่อง "Thailand and countries in Asia competitiveness and how the countries and C.P.Group should strategically plan for the next decade" ที่ห้องประชุม Auditorium ชั้น 6 ตึก Pegasus ทรู ดิจิทัล พาร์ค ถึงมุมมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในขณะนี้ว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไป ไม่ได้เน้นที่ GDP เป็นหลักเช่นในอดีต แต่ปัจจุบันต้องคำนึงถึงการเติบโตที่มีคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน การกระจายความมั่งคั่ง เพื่อตอบให้ได้ว่าคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศจะดีขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมี 3 ประการ คือ 1.รัฐบาลต้องบริหารและกำกับกิจการที่มีประสิทธิภาพ 2.ความสามารถของภาคธุรกิจเอกชนในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความสามารถสูง 3.ความสามารถขององค์กรธุรกิจในการสร้างนวัตกรรม

ศ.อาร์ตูโร กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้นพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเพิ่มขีดการแข่งขันได้อีก โดยมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่รัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชนต้องมีประสิทธิภาพที่ดีทั้งคู่ ผลคือจะทำให้ประเทศมีเศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยอย่างคู่ขนานให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย ทั้งรัฐบาลและเอกชนจะต้องมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศร่วมกัน และที่สำคัญต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้เท่าเทียม

"การจะสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพได้นั้น รัฐบาลต้องสวมบทบาทผู้นำโดยมีเอกชนมาร่วมหนุนในฐานะผู้ตาม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนของรัฐซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่งคั่ง โดยเฉพาะเป็นความมั่งคั่งด้านคุณภาพชีวิตของประชากรที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจเอกชนจะมีส่วนช่วยประเทศได้ เพราะถ้าประเทศมั่งคั่งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ธุรกิจเอกชนก็ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน" ผอ.สถาบัน IMD กล่าว

ศ.อาร์ตูโร ยังกล่าวถึงแนวทางการสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่เหมาะสมต้องไม่ใช้วิธีกีดกันทางการค้า (Protectionism) หรือเลือกใช้วิธีอุดหนุนจากรัฐ (Subsidies) หรือใช้กรณีเพิ่มผลิตภาพ (Increase Productivity) ไปจนถึงมาตรการด้านภาษี (Taxes) เพียงอย่างเดียว แต่การสร้างประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจที่ดี ควรใช้วิธีสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ (Focus on job creation) ผสมผสานกับการที่รัฐใช้งบประมาณอัดฉีดในบางจุด รวมทั้งมีระบบประกันรายได้ขั้นต่ำร่วมด้วยบ้าง (Minimum Guaranteed Income) พร้อมกันนั้นต้องดึงภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สังคมและประเทศ ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้ทรัพยากรกระจายตัวยิ่งขึ้น เพิ่มทั้งความมั่งคั่งให้ประเทศและความมั่งคั่งด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน

ผอ.สถาบัน IMD กล่าวด้วยว่า จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของประเทศไทยตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ไทยเน้นความสามารถในภาคการผลิตซึ่งทำได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือขีดความสามารถเหล่านี้ต้องแปรให้เป็นนโยบายสู่มวลชนได้ด้วย ดังนั้นบทบาทสำคัญของธุรกิจเอกชนคือการจ้างงานให้กลไกเศรษฐกิจหมุนเวียน พิจารณาอัตราค่าจ้างให้แรงงานที่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงคืออัตราค่าจ้างควรปรับขึ้นเพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่ดีมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และมีศักยภาพที่จะจ่ายภาษีซึ่งจะกลับสู่รัฐ และรัฐนำงบประมาณกลับมาพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนั้นนอกจากเอกชนจะลงทุนในเซคเตอร์ที่ถูกต้องแล้ว ภาครัฐต้องมีการช่วยเหลือด้านภาษี ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ ทั้งหมดนี้จะเป็นระบบที่ช่วยทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นในอนาคต

"สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ถือเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจชั้นนำที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยขณะนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ทำได้ดีมากในฐานะผู้นำในประเด็นความยั่งยืนของประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเครือฯ มีการวางเป้าหมายทางธุรกิจที่ไม่ผลักภาระไปสู่ผู้บริโภค เพราะอนาคตประเด็นความยั่งยืนจะเป็นวาระสำคัญในระบบการตลาด เนื่องจากองค์กรธุรกิจจะต้องไม่โยนภาระให้ลูกค้าเพียงเพื่อรักษาผลกำไรของตัวเองให้ขึ้นสูง แต่องค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมและผลของสิ่งนี้ก็จะช่วยขับเคลื่อนทั้งสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมกัน" ศ.อาร์ตูโรกล่าว และว่า การเลือกเส้นทางความยั่งยืนจึงต้องเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรเช่นนี้ต่อไป

ผอ.สถาบัน IMD กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า จากข้อมูลของ IMD ที่จัดทำดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ จากการสำรวจเขตเศรษฐกิจทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก พบว่าบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีเสถียรภาพมากนั้น มีทั้งส่วนที่เป็น Value Company และ Growth Company ที่มีบทบาทในการสร้างเศรษฐกิจและมูลค่าให้ประเทศ ดังนั้นจะเห็นว่าภาคเอกชนของแต่ละประเทศเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนรัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4