ประมูล 5G กระตุ้นการลงทุนพลิกโฉมธุรกิจอุตสาหกรรมและข้อควรระวัง

อังคาร ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๐:๔๗
ประมูล 5G กระตุ้นการลงทุน การเปิดบริการ 5G สร้างผลประโยชน์มหาศาลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจอุตสาหกรรม ส่งผลดีต่อการสื่อสาร การแพทย์ การศึกษาและเกษตรกรรม พลิกโฉมธุรกิจอุตสาหกรรม กิจการและวิถีชีวิตของผู้คนและพฤติกรรมผู้บริโภคในอีก 2-3 ปีข้างหน้าอย่างมาก เตือนหากดำเนินการอย่างไม่มีการวางแผนและมียุทธศาสตร์ที่ดีจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ธุรกิจรายกลางรายใหญ่ปรับตัวไม่ได้กระทบหนัก เกิดการว่างงานเรื้อรังสำหรับผู้ไม่มีทักษะในการทำงาน และ เกิดโอกาสสำหรับตำแหน่งงานใหม่ๆเพิ่มขึ้นด้วยรายได้ระยะสั้นของรัฐจากการประมูล 5G ประมาณ 70,000-80,000 ล้านบาทไม่สำคัญเท่ากับผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมและรายได้ในระยะยาว ระบอบอำนาจนิยมรวมศูนย์จะไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารเศรษฐกิจสังคม ต้องกระจายอำนาจและเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมือง

15.00 น. 9 ก.พ. 2562 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฎิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า การประมูล 5G และหากสามารถเปิดการให้บริการได้ภายในครึ่งปีหลังจะกระตุ้นการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ การพัฒนาเข้าสู่ยุค 5G ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ในหลายประเทศทั่วโลกและจะสร้างประโยชน์อย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกและไทย รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชน เนื่องจากคุณสมบัติหลัก 3 ประการของเทคโนโลยี 5G คือ Enhanced Mobile Broadband (eMBB) Ultra-Reliable and Low latency communications (mMTC) และ Massive Machine Type Communications (uRLLC) เพื่อตอบสนองความต้องการของการสื่อสารในโลกอนาคตที่เน้นการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง อุปกรณ์ต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ประมวลผลแบบอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องใช้คนในการควบคุม ทำให้สมองกลอัจฉริยะ (Atificial Intelligence- A.I.) สามารถทำงานแทนแรงงานมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ฉะนั้น หากประเทศไทยสามารถ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ได้ ก็จะสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมาก ยอดขายและการผลิตอุปกรณ์ไอโอทีจะขยายตัวอย่างก้าวกระโดดหลังมีเทคโนโลยี 5G แล้ว ค่าใช้จ่ายทางด้านไอโอทีทั่วโลกในปีนี้จะเพิ่มถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกการลงทุนทางด้านไอโอทีสูงสุด ในไทย อุปกรณ์ทางด้านไอโอทีและมือถือรุ่นใหม่สำหรับเทคโนโลยี 5G เติบโตได้เพียงแค่ระดับหนึ่งอันเป็นผลจากกำลังซื้ออ่อนแอ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ประกอบกับ อินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things-IoT) ในรูปแบบของสัญญา อัจฉริยะ หรือ Smart Contract ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำสัญญาในแบบเดิม เพราะมีการประมวลผลโดยระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) ลดปัญหาข้อขัดแย้ง ดุลพินิจ การต่อรอง และความผิดพลาดของมนุษย์ หรือ ส่งผลให้เกิดการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ หลากหลายขึ้นได้อย่างรวดเร็วในเกือบทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกรรมทางธุรกิจ

จากข้อมูลวิจัยจากการร่วมมือกันของ IHS Markit, และมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐต่างๆ เช่น UCLA Berkeley และหน่วยงานของ UN ประเมินว่า ว่า 5G จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในอนาคตและเป็นเทคโนโลยีสำหรับบริการเกือบทุกประเภท กลายเป็นเทคโนโลยี General Purpose Technologies (GPT) ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจาก ธุรกิจอุตสาหกรรม โครงสร้างเศรษฐกิจ ระบบกำกับดูแล นโยบายและระบบการเมืองในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผล โดยตรงต่ออัตราการยอมรับ (Adoption Rate) ของ 5G การประเมินผลของการใช้เทคโนโลยี 5G ของงานวิจัยส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะประเมินมูลค่าในระยะยาว โดย IHS ได้ประเมินว่าเทคโนโลยี 5G จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและธุรกิจถึง 12.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สร้างตำแหน่งและอาชีพใหม่ๆเพิ่มเติมกว่า 22 ล้านตำแหน่งทั่วโลกในปี พ.ศ. 2578

ดร. อนุสรณ์ กล่าวตั้งข้อสังเกตถึงงานวิจัยดังกล่าวว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในระดับดังกล่าวได้ในระยะ 15 ปีข้างหน้า ต้องมีการใช้เทคโนโลยี 5G ทั่วโลก ซึ่งยังมีอุปสรรคในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านการพัฒนาและความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี นอกจากนี้ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ยังก่อให้เกิดเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ในหลายพื้นที่ของโลก ประชากรยังขาดแคลนแม้นกระทั่งปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ เทคโนโลยี 1G หรือ 2G ก็ยังไม่มีโครงข่ายพื้นฐานรองรับเลย ขณะเดียวกันแม้นมีตำแหน่งงานใหม่และโอกาสใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายจากเทคโนโลยี 5G แต่เราจำเป็นต้องดูแลผลกระทบที่เกิดกับงานแบบดั้งเดิม ธุรกิจแบบดั้งเดิมที่กำลังถูกคุกคามและต้องปรับตัวอย่างหนักด้วย

ส่วนการประมูล การลงทุนและการเปิดให้บริการ 5G ในไทยนั้น ประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์ในเชิงมูลค่าเศรษฐกิจประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2578 โดยแบ่งเป็นผลประโยชน์จากเทคโนโลยี eMBB mMTC และ uRLLC ได้ประมาณ 830 พันล้านบาท 677 พันล้านบาท และ 812 พันล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ไม่ต่ำกว่า 200,000 – 300,000 ล้านบาท การเปิดบริการ 5G สร้างผลประโยชน์มหาศาลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจอุตสาหกรรม ส่งผลดีต่อการสื่อสาร การแพทย์ การศึกษาและเกษตรกรรม การลงทุนพลิกโฉมธุรกิจอุตสาหกรรม กิจการและวิถีชีวิตของผู้คนและพฤติกรรมผู้บริโภคในอีก 2-3 ปีข้างหน้าอย่างมาก ขอเตือนว่าหากดำเนินการอย่างไม่มีการวางแผนและมียุทธศาสตร์ที่ดีจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ธุรกิจรายกลางรายใหญ่ปรับตัวไม่ได้กระทบหนัก เกิดการว่างงานเรื้อรังสำหรับผู้ไม่มีทักษะในการทำงาน และ เกิดโอกาสสำหรับตำแหน่งงานใหม่ๆเพิ่มขึ้นด้วย ช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรข้าม อุตสาหกรรม การพัฒนาของเครื่องมือสื่อสารระยะไกล ทำให้พนักงานสามารทำงานทางไกลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการฝึกอบรมและการศึกษาผ่านทางบรอดแบนด์ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง การสำรวจภาคสนาม ทำให้อุปกรณ์มือถือสามารถทำงานได้เหมือนคอมพิวเตอร์เป็น Mobile Computing เกิดท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่ Cloud Computing และ พัฒนาเป็น Cloud เฉพาะด้านมากขึ้น พัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของ ออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆของระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) Ultra-Reliable and Low Latency Communications (uRLLC) กล่าวคือ หากเป็น เทคโนโลยี 4G จะมีความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า 5G ถึง 10 เท่า (4G มีความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลที่ 0.01 วินาที ส่วน 5G อยู่ที่ 0.001 วินาที) ทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเป็นไปแบบ real time มากขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง เช่น ระบบควบคุม รถยนต์ไร้คนขับ ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือระบบการแพทย์ระยะไกล เป็นต้น จากการศึกษาของ McKinsey (2015) จะพบว่า IoT จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ให้แก่1) ภาคการผลิต การเกษตรและอุตสาหกรรม 2) ระบบการจัดการเมือง การบริการสาธารณูปโภค และ 3) ภาคการขนส่งรวมถึงระบบโลจิสติกส์ อาจกล่าวได้ว่าคุณสมบัติ mMTC ประกอบกับ uRLLC จะช่วยสร้าง มูลค่าทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้าน IoT อย่างมหาศาล

เทคโนโลยี 5 G และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต จะทำให้ระบอบอำนาจนิยมรวมศูนย์จะไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารเศรษฐกิจสังคม ต้องกระจายอำนาจและเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมือง จึงจะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวเตือนว่า การเปิดประมูล 5G ต้องกำหนดการขายไลเซนส์ให้เหมาะสมกับขนาดของเศรษฐกิจไทยและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคตให้ดี ใบอนุญาตไม่มากเกินไปจนเกิดปัญหาในธุรกิจแบบกิจการทีวีดิจิทัล เกิดปัญหาต่อรองการคืนใบอนุญาตพร้อมเรียกร้องเงินชดเชย รายได้ระยะสั้นของรัฐจากการประมูล 5G ประมาณ 70,000-80,000 ล้านบาทไม่สำคัญเท่ากับผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมและรายได้ในระยะยาว และใบอนุญาตต้องไม่น้อยเกินไปจนไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการในอนาคต โดยในระยะแรก ผู้ชนะการประมูลไลเซนส์จำเป็นต้องลงทุนโครงข่ายพื้นฐานในการรองรับ 5G ซึ่งต้องใช้เงิน ลงทุนสูง หากผู้ชนะประมูลไม่มีฐานะทางการเงินมั่นคงหรือฐานทุนใหญ่พออาจประสบปัญหาในการลงทุนช่วงแรกได้ ทำให้การเปิดบริการ 5G อาจล่าช้าออก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้