“ชโย กรุ๊ป” อวดกำไรปี 62 นิวไฮต่อ โต 30% แย้มแผนปี 63 ตั้งงบ 1 พันล้าน ลุยซื้อหนี้เพิ่ม 1 หมื่นล้าน

พฤหัส ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๗:๑๖
ชโย กรุ๊ป หรือ CHAYO อวดผลงานปี 2562 โกยกำไรสุทธิ 111.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 30% มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 314.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 20% จากความสำเร็จในปี 2562 ซึ่งได้แก่การเติบโตของรายได้จากการให้บริการเร่งรัดหนี้สิน 48% การเติบโตของรายได้จากธุรกิจซื้อหนี้มาบริหาร 15% และรายได้ส่วนเพิ่มจากธุรกิจปล่อยสินเชื่อ “สุขสันต์ ยศะสินธุ์” เผย ณ สิ้นปี 2562 บริษัทฯ มีพอร์ตหนี้บริหารอยู่ที่ 50,427 ล้านบาท พร้อมประกาศแผนปี 2563 ขยายพอร์ตเพิ่มเติม โดยตั้งเป้าซื้อหนี้เพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท โดยเตรียมงบลงทุนไว้ราว 1 พันล้านบาท และมีแผนปล่อยสินเชื่อใหม่ปีนี้จำนวนประมาณ 200 ล้านบาท โดยคาดว่ารายได้รวมในปี 2563 นี้จะโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ส่วนมาตรฐานบัญชีใหม่หรือ TFRS9 ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 นี้มองว่าน่าจะมีผลกระทบธุรกิจในทางบวกกับบริษัท
ชโย กรุ๊ป อวดกำไรปี 62 นิวไฮต่อ โต 30% แย้มแผนปี 63 ตั้งงบ 1 พันล้าน ลุยซื้อหนี้เพิ่ม 1 หมื่นล้าน

นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ธุรกิจเจรจาติดตามเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ และกิจการศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯ ในงวดปี 2562 มีรายได้รวม 314.71 ล้านบาท (รวมกำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขาย) เพิ่มขึ้น 19.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 262.38 ล้านบาท และมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจหลัก ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยแก่เงินให้สินเชื่อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ 79.9% (รวมกำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขาย) รายได้จากการให้บริการติดตามหนี้ 19.50% รายได้จากการปล่อยสินเชื่อ 0.60% ของรายได้รวม

ในปี 2562 บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 190 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.9%เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 163.95 ล้านบาทกำไรสุทธิสำหรับปีอยู่ที่ 111.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 85.44 ล้านบาทและมีอัตรากำไรขั้นต้นใกล้เคียงปีก่อนซึ่งอยู่ที่ประมาณ 64.40% ของรายได้ โดยมีอัตรากำไรสุทธิหรือ Net Profit Margin อยู่ที่ 37.7%

การเติบโตของรายได้และกำไรในปี 2562 มีสาเหตุหลักมาจากธุรกิจซื้อหนี้มาบริหารซึ่งสามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมาย โดยมีรายได้และกำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายอยู่ที่251.55 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 14.5% ประกอบกับ ในปีนี้มีการตัดต้นทุนที่น้อยกว่าปีก่อน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อเข้ามาเพิ่มขึ้นมาอีกจำนวน1.78 ล้านบาท

สำหรับ ธุรกิจเร่งรัดหนี้สินมีรายได้อยู่ที่ 61.37 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน 19.93 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตจากปีก่อน48.09% โดยสาเหตุหลักมาจากการติดตามจัดเก็บที่มากขึ้น รวมถึงปริมาณงานและ/หรือจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

“ในปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่ดีของบริษัทฯ ทั้งในแง่ของรายได้และกำไรทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ใช้งบลงทุนจำนวนประมาณ 667 ล้านบาท สำหรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารในจำนวนประมาณ 13,900 ล้านบาท ส่งผลให้มูลหนี้คงค้าง ณ สิ้นปี 2562 บริษัทฯมีพอร์ตหนี้บริหารอยู่ที่ 50,427 ล้านบาทแบ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกันประมาณ 35,535 ล้านบาท และหนี้ที่มีหลักประกันประมาณ14,892 ล้านบาท

ขณะที่แผนการดำเนินงานในปี 2563 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน ตั้งเป้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารเพิ่มเติมอีกกว่า10,000 ล้านบาทด้วยการตั้งงบลงทุนเพื่อซื้อหนี้ไว้ประมาณ 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้สำหรับซื้อหนี้ที่มีหลักประกัน 700 - 800 ล้านบาทและซื้อหนี้ไม่มีหลักประกันอีก 200 - 300 ล้านบาท โดยเชื่อว่าหนี้ด้อยคุณภาพในระบบมียังมีอยู่สูงเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดีดังนั้นสถาบันการเงินจะทยอยขายหนี้ด้อยคุณภาพออกมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับธุรกิจปล่อยสินเชื่อปีนี้วางเป้าหมายปล่อยสินเชื่อไว้ที่ 200 ล้านบาท แต่จะดำเนินการค่อยเป็นค่อยไปอย่างรอบคอบเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี โดยสัดส่วนรายได้ในปี 2563 นี้ยังคงมาจากธุรกิจหลักหรือธุรกิจซื้อหนี้มาบริหารประมาณ75 – 80%ธุรกิจให้บริการเร่งรัดหนี้สินประมาณ 15 – 20% และธุรกิจปล่อยสินเชื่อประมาณ1 - 5% ของรายได้ทั้งหมด

"แนวโน้มยอดหนี้เสียในปี 2563 คาดว่ายังคงมีเพิ่มมากขึ้น โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) คาดว่าจะยังมีอยู่ในระบบจำนวนมาก จากสถาบันการเงินมีภาระตั้งสำรองตามTFRS9 เพิ่มขึ้น ซึ่งเราคาดว่าจะมีหนี้เสียรวมทั้งระบบอยู่ที่ราว 5 แสนล้านบาท และเป็นหนี้ที่สถาบันการเงินจะปล่อยออกมาประมูลราว2.0 – 3.0 แสนล้านบาท CHAYOตั้งเป้าซื้อหนี้ไว้ที่ประมาณ 10,000ล้านบาท โดยวางงบลงทุนไว้ประมาณ 1,000 ล้านบาท และซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนธุรกิจรับจ้างติดตามหนี้คาดว่าจะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นจากธุรกิจDigital Money ที่ไม่มีหน่วยงานติดตามหนี้เป็นของตัวเองอีกด้วยและธุรกิจปล่อยสินเชื่อก็น่าจะสามารถปล่อยได้มากขึ้นโดยจะเน้นไปที่สินเชื่อที่มีหลักประกันประมาณ80 – 90% และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน 10 - 20%"นายสุขสันต์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4