BEAUTY เผยผลประกอบการ Q1/63 รับผลกระทบวิกฤตโควิด-19 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ

ศุกร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๘
BEAUTY เผยผลประกอบการ Q1/63 รับผลกระทบวิกฤตโควิด-19 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ ภาครัฐสั่งปิดสาขาชั่วคราวเกือบ 300 สาขา ส่งผลรายได้พลาดเป้าลดลงเหลือ 270.32 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 39.68 ล้านบาท เร่งปรับแผนสู้โควิดด้วยการบริหารจัดการทั้งระบบ ควบคุมค่าใช้จ่ายเข้มงวด ตลาดในประเทศชูกลยุทธ์ O2O ออนไลน์-ออฟไลน์ พัฒนาโมเดลใหม่เพิ่มช่องทางการขาย บิวตี้ออนไลน์ช็อป และตัวแทนจำหน่าย ออกสินค้าใหม่มาร์จิ้นสูง ปั๊มยอดขาย ส่วนตลาดต่างประเทศ เน้นเพิ่มยอดขายในกลุ่มประเทศที่คลายล็อกดาวน์ มั่นใจกระแสเงินสดแกร่ง สามารถฝ่าวิกฤตได้
BEAUTY เผยผลประกอบการ Q1/63 รับผลกระทบวิกฤตโควิด-19 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ

นายแพทย์สุวิน ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) (BEAUTY) ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิว เปิดเผยถึง ผลประกอบการไตรมาส 1/63 ว่า บริษัทมีรายได้รวม 270.32 ล้านบาท ลดลง 278.42 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 548.74 ล้านบาท หรือลดลง 50.74% และมีขาดทุนสุทธิ 39.68 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 69.55 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงม.ค.63 จากการชะลอตัวเศรษฐกิจและสงครามการค้า จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง การจับจ่ายชะลอตัว บรรยากาศการจับจ่ายชะลอ มีผลจากเหตุการณ์รุนแรงในห้างสรรพสินค้า และผลกระทบสูงสุดช่วงก.พ. 63 จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในประเทศจีน ส่งผลต่อยอดขายต่างประเทศอย่างมีนัยยะ รวมถึงการประกาศมาตรการปิดห้างสรรพสินค้าและปิดประเทศ (Lockdown) มี.ค. 63 ทำให้บริษัทต้องปิดร้านค้าปลีกชั่วคราวเกือบ 300 สาขาทั่วประเทศ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 95% ของจำนวนสาขาทั้งหมด ประกอบกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่อ่อนตัวลง นอกจากนี้บริษัทเล็งเห็นผลกระทบในระยะยาวจึงมีมาตรการลดความเสี่ยงในอนาคต โดยในไตรมาส 1 ปี 2563 บริษัทได้ดำเนินกลยุทธ์หลายแนวทางเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และลดภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ (Non-routine expenses) จำนวน 18.46 ล้านบาท ซึ่งรับรู้ภายใต้ต้นทุนในการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้แก่

1.ค่าชดเชยจากปรับฐานกำลังคนและลดค่าใช้จ่ายของบุคคลากรที่เกิดจากโครงการสมัครใจลาออก รับรู้ในงบกำไรขาดทุน 12.71 ล้านบาท

2.ค่าใช่จ่ายจากการตัดจำหน่ายและด้อยค่าสินทรัพย์ของสาขา 5.75 ล้านบาท ตามแนวทางการปิดสาขาที่ไม่มีศักยภาพในการทำกำไร และได้รับผลกระทบจากนโยบายปิดศูนย์การค้าต่างๆ ตามประกาศของรัฐบาลจากสถานการณ์โควิด-19

ทั้งนี้บริษัทเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะเพิ่มความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่อไป และเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บริษัทเร่งปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับสถานการณ์ โดยกำหนดนโยบายเพื่อฝ่าวิกฤติ กู้ยอดขาย โดยสรุปกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนธุรกิจและแผนดำเนินงานจะมุ่งเน้นในด้านหลักๆประกอบด้วย

1.บริหารจัดการต้นทุนทุกด้าน ควบคุมค่าใช้จ่าย บริษัทมีมาตรการลดต้นทุนชัดเจน โดยปรับลดทั้งต้นทุนคงที่และสัดส่วนของต้นทุนผันแปรต่อรายได้รวม ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ อีกทั้งตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด รวมถึงปรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และการตลาด การโฆษณาให้เหมาะสม ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในทุกหน่วยธุรกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

2.ตลาดในประเทศเร่งยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์และสาขา บริษัทคาดว่าโอกาสธุรกิจจะกลับมาหลังการปลดล็อคดาวน์ ซึ่งจะสามารถเปิดสาขาร้านค้าปลีกในห้างสรรพสินค้าได้ตามปกติ พร้อมมุ่งเน้นเพิ่มช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ที่หลากหลาย เพิ่มความสามารถการนำเสนอสินค้าควบคู่กัน โดยสามารถซื้อขายผ่านเว็บไซต์ของบริษัท อีคอมเมิร์ซและระบบแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ชั้นนำต่างๆ อีกทั้งพัฒนาโมเดลการขายใหม่ อาทิ บิวตี้ออนไลน์ช็อป พนักงานขายหน้าร้านสามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์โดยมีระบบสนับสนุนรองรับ สามารถสนองตอบลูกค้าสั่งซื้อผ่านออนไลน์ได้ทันที หรือกล่าวได้ว่าในแต่ละสาขาจะมีช่องทางการสั่งซื้อสินค้าทั้งหน้าร้านสาขา(Offline Store) และผ่านระบบออนไลน์ได้ทั้ง 2 รูปแบบ

นอกจากนี้บริษัทเตรียมเปิดคัดเลือกตัวแทนจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย โดยใช้กลยุทธ์ O2O ออฟไลน์และออนไลน์ผสานเข้าด้วยกัน จากการปรับกลยุทธ์ดังกล่าวทำให้ช่องทางจำหน่ายออนไลน์มียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 250 % โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้กับบุคคล(Personal Care) และกลุ่มสินค้าสุขภาพ (Health Concerned Products)

3.ตลาดต่างประเทศ โฟกัสช่องทางจำหน่ายกลุ่มประเทศคลายล็อคดาวน์ กลุ่มประเทศในเขต (South East Asia) อาทิ กัมพูชา เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย แม้จะมีคำสั่งซื้อบ้างแต่ยังติดเรื่องระบบการขนส่ง การปิดด่านผ่านทาง คาดว่าจะส่งผลกระทบในระยะสั้นเพราะสินค้าไทยและสินค้า BEAUTY ยังคงมีความต้องการหลังสถานการณ์คลี่คลาย อีกทั้งบริษัทประสานงานอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนจำหน่าย สนับสนุนด้านการตลาดและสินค้าให้ต่อเนื่องเพื่อปรับกลยุทธ์ธุรกิจตามสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนต่อเนื่อง

สำหรับประเทศจีน แม้ว่าจะประกาศยกเลิกการล็อคดาวน์แล้ว แต่คำสั่งซื้อยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากยังต้องอาศัยการปรับตัวทั้งระบบ ปัจจุบันเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาบ้างแล้วหลังจากเปิดเมืองแต่อยู่ในระดับเพียง 10-20% เท่านั้น ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจอาจจะต้องใช้เวลาไม่สามารถกลับมา 100% ได้ทันที ธุรกิจจากนี้จึงอยู่ในช่วงประคองตัวโดยคาดว่าปลายไตรมาส 3/63 จะเริ่มเห็นสัญญานที่ดีจากยอดขายและกำลังซื้อที่ฟื้นตัว ทั้งในประเทศจีนและประเทศในการปกครองเช่น ฮ่องกง อีกทั้งบริษัทมีการปรับแผนออกสินค้าใหม่ที่มีกำไรดีมาชดเชยยอดขายที่ลดลง รวมถึงการร่วมมือกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศจีนพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ BEAUTY ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการไตรมาส 2-3 ต่อเนื่อง และคาดว่าจะเริ่มเห็นสัญญานที่ดีจากยอดขายและกำลังซื้อที่ฟื้นตัวปลายไตรมาส 3/63 อย่างไรก็ตามบริษัทมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง กระแสเงินสดมีสภาพคล่องสามารถบริหารจัดการธุรกิจและนำมาปรับแผนการดำเนินงานทั้งระบบการค้า สร้างช่องทางจำหน่ายใหม่ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและมั่นใจว่าสามารถพัฒนาธุรกิจให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นและผ่านพ้นวิกฤตไปได้” นพ.สุวิน กล่าว

BEAUTY เผยผลประกอบการ Q1/63 รับผลกระทบวิกฤตโควิด-19 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest