โอกาสในวิกฤตโควิด-19

ศุกร์ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๒๑
นโยบายการ Lockdown ที่ทั่วโลกใช้ต่อสู้ไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ GDP ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2563 ติดลบลงอย่างชัดเจนซึ่งสามารถเห็นจากตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมี GDP ลดลง 4.8 เปอร์เซ็นต์ต่อปีในไตรมาสที่หนึ่งประจำปี พ.ศ. 2563 สร้างความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปทั่วโลก ปัญหาหนี้สินทวีความรุนแรง The Atlantis Report รายงานว่า หนี้ทั่วโลกจะสูงถึง 246 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 320% ของ GDP ของโลก ในส่วนของประเทศไทยก็เลือกใช้นโยบายการ Lockdown เช่นกัน และนโยบายนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจด้านการบริการต่าง ๆ รวมถึงการค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจสายการบินที่ต้องหยุดให้บริการลง ทำให้แทบจะทุกธุรกิจหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมแทบทั้งหมดและได้รับผลกระทบเชิงลบโดยตรง ส่งผลทำให้หลายบริษัทต้องตกอยู่ในสภาวะขาดสภาพคล่อง หรืออาจถึงต้องล้มละลายเลยทีเดียว ประเทศไทยถูกจัดลำดับว่าเป็นประเทศที่เศรษฐกิจถดถอยมากเป็นอันดับต้นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
โอกาสในวิกฤตโควิด-19

ในวิกฤตโควิด-19 นี้ ศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า จะมีการยื่นขอล้มละลายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทจำกัด บริษัท มหาชน (จำกัด) รวมถึงผู้ประกอบการ SME หลายบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงิน เนื่องจากรายรับที่ตกอย่างหนัก เปรียบเทียบกับต้นทุนที่ยังสูงเท่าเดิม คงจะไม่เพียงพอที่จะมาชำระหนี้ได้ ทำให้หลายธุรกิจต้องหยุดกิจการลง บางรายที่ธุรกิจไม่สามารถฟื้นตัวและกลับมาดำเนินงานได้เช่นเดิมรวมถึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลาย หรือ ที่เรียกกันว่า Chapter 7 Liquidation (ตามกฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกา) บริษัทลูกหนี้เหล่านี้จำเป็นต้องหยุดทำกิจการทั้งหมด ออกจากธุรกิจนี้ทันทีและศาลจะมีคำสั่งขายทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งมีงานวิจัยและบทความมากมาย เช่น Robert W. Kolb พูดถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการเพิ่มของคดีล้มละลาย Chapter 7 Liquidation

และการเพิ่มของอัตราการว่างงานซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดวิกฤต แต่อีกด้านบางบริษัทโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ถูกนักลงทุนหรือรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ มองว่า บริษัทมีธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะฟื้นตัวและสามารถกลับมาทำกำไรได้หลังวิกฤต หรือบริษัทที่ใหญ่เกินกว่าที่จะ ปล่อยให้ล้มละลาย (too big to fail) เพราะบริษัทเหล่านี้จะมาฉุดเศรษฐกิจของประเทศให้ยิ่งดำดิ่งลงสู่เหวลึก ดังนั้นหลายบริษัทที่ดู แล้วว่าจะสามารถฟื้นกลับมาชำระหนี้ได้ในอนาคต บริษัทเหล่านี้ก็จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือที่เรียกกันว่า Chapter 11 Reorganization (ตามกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา) เพื่อให้ลูกหนี้พักชำระหนี้ทั้งหมด และได้รับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างทันท่วงทีจากผู้ถือหุ้นใหม่และ/หรือจากเจ้าหนี้ในการแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้มีโอกาสที่จะฟื้นฟูกิจการและกลับมามีรายได้และทำกำไรได้อีกครั้ง โดยจะยังคงสามารถรักษาทรัพย์สินเดิมของบริษัทได้ โดยไม่ถูกขายทรัพย์สินของบริษัทเพื่อมาชำระหนี้ในระหว่างที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูนี้ และสาระสำคัญของ Chapter 11 คือ (1) แผนฟื้นฟูกิจการนี้ต้องเห็นชอบทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้โดยมีศาลช่วยเป็นคนกลางเพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูมีความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย และ (2) ผู้จัดทำแผนฟื้นฟู (Planners) รวมไปถึงผู้บริหารแผน (Plan Administrator) ต้องเป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับของเจ้าหนี้และลูกหนี้ มีความจริงใจและตั้งใจที่จะช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากการมีหนี้ และทำตามแผนจนสำเร็จและสามารถออกจากกระบวนการฟื้นฟูได้

นโยบายการ Lockdown ที่ทั่วโลกใช้ต่อสู้ไวรัสโควิด-19 มีการปิดประเทศแทบจะทั่วโลก ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการบินอย่างมาก สายการบินต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ ประสบปัญหาการเงินอย่างหนักจนทำให้บางสายการบินประกาศปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น สายการบิน Emirates และ สายการบิน Air Canada บางสายการบินประกาศล้มละลาย และพยายามที่จะหานักลงทุนรายใหม่ที่สนใจซื้อกิจการรวมถึงขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในประเทศของตน และสุดท้ายก็เลือกเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการโดยผ่านศาลล้มละลาย ณ ปัจจุบันมีสายการบินที่ได้ยื่นเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว ตัวอย่างเช่น สายการบิน Virgin Australia ซึ่งเป็นสายการบินที่ใหญ่ลำดับ 2 ของประเทศออสเตรเลีย สายการบิน Avianca สายการบินของประเทศโคลัมเบีย ซึ่งนับเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันตก และสายการบินไทย เป็นต้น

ในกรณีของบริษัทการบินไทย มีผลการดำเนินงานย่ำแย่ไม่สามารถทำกำไรได้ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี มีปัญหาขาดทุนสะสมและเป็นหนี้สินจำนวนมหาศาลตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 แล้ว วิกฤตในครั้งนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งที่สะท้อนให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงปัญหาของสายการบินแห่งนี้ที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังในอดีต ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงปัญหาของสายการบินไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ พบว่าไม่ได้แตกต่างจากปัญหาของสายการบินแห่งชาติอื่น ๆ และยังมีความสอดคล้องกับต้นทุนในการบริหารองค์กรของรัฐหรือค่าใช้จ่ายระบบราชการ (bureaucracy costs) นำเสนอ โดย Gary Hamel และ Michele Zanini ใน Harvard Business Review ว่าต้นทุนในการบริหารองค์กรของรัฐหรือค่าใช้จ่ายระบบราชการ (bureaucracy costs) ในประเทศสหรัฐอเมริกาสูงกว่า 3 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ซึ่งค่าใช้จ่ายระบบราชการครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ โครงสร้างองค์กรซับซ้อน มีชั้น (Layer) ระดับผู้บริหารและระดับผู้จัดการที่มากเกินความจำเป็น ระบบการตัดสินใจเชื่องช้าอันเนื่องมาจากการมีรายละเอียดของงานมีความยุ่งยากมากส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจทำได้ยากและช้ากว่าคู่แข่ง จากโครงสร้างองค์กรที่มีหลายขั้นตอน ทำให้มีความไม่แน่นอนและใช้เวลากับการแก้ปัญหามากเกินความจำเป็น มีกฎระเบียบและข้อบังคับมากเกินไป ทำให้ขาดความเป็นอิสระ ทุกคนสวมหมวกกันน็อค ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวความเสี่ยงและไม่อยากรับผิดชอบ ทำให้เกิดความเฉื่อยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก ผู้บริหารและคณะกรรมการบอร์ดที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ ได้รับอำนาจและอิทธิพลเพราะเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ของบริษัท

วิกฤตโควิด-19 เปรียบเสมือนโอกาสที่ให้สายการบินแห่งชาตินี้เข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือที่เรียกกันว่า Chapter 11 เร็วขึ้น และมีโอกาสที่จะได้มีการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ของการบินไทยที่ได้รับการสะสมมาช้านานอย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้มี

การปรับโครงสร้างหนี้กว่า 350,000 ล้านบาทและปรับโครงสร้างองค์กรใหม่โดยผ่านระบบของศาลล้มละลาย แต่ประเด็นสำคัญที่ควรจับตามอง 3 ประเด็นดังนี้ คือ

ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการให้กับสายการบินแห่งชาติแห่งนี้ (Planner) เป็นที่ยอมรับจากเจ้าหนี้และลูกหนี้หรือไม่ตัวแผนฟื้นฟูกิจการ (Plan) จะเป็นที่ยอมรับจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ สหภาพการบินไทย ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ (other stakeholders) มากน้อยเพียงใด จะสามารถประนีประนอมเพื่อหาข้อยุติเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายภายใต้เงื่อนไขที่การบินไทยจะต้องกลับมาสร้างรายได้และทำกำไรได้อีกครั้งผู้บริหารแผน (Plan Administrator) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นแรงผลักที่จะช่วยให้บริษัทการบินไทยสามารถผ่านกระบวนการฟื้นฟูนี้ได้สำเร็จ

หลังจากที่ศาลล้มละลายกลางได้รับพิจารณาให้บริษัทการบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้วนั้น กระบวนการฟื้นฟูกิจการไม่ได้ง่ายและรวดเร็วอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการ เราคงจะต้องติดตามดูกันต่อไปว่า อนาคตของบริษัทการบินไทยโดยผ่านกระบวนการนี้จะเป็นไปในทิศทางใด ศาลจะใช้เวลาการไต่สวนนานเพียงใด ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตัวแผนฟื้นฟูกิจการและ ผู้บริหารแผนที่ถูกยื่นเสนอต่อศาลจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อได้ข้อยุติที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ สามารถผ่านกระบวนการพิจารณาและแต่งตั้งจากศาลได้หรือไม่ อย่างไร และสุดท้ายนี้บริษัทการบินไทยจะสามารถผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้สำเสร็จหรือไม่ เราคงต้องจับตามองกันอย่างใกล้ชิดต่อไป

References:

Financial Contagion: The Viral Threat to the Wealth of Nations by Robert W. Kolb, Editor, Wiley; 1 edition (February 9, 2011)

Assessment: Do You Know How Bureaucratic Your Organization Is? by Gary Hamel and Michele Zanini, Harvard Business Review 2017

https://hbr.org/2017/05/assessment-do-you-know-how-bureaucratic-your-organization-is

บทความนี้เขียนโดย

ศาสตราจารย์ ดร.ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา University of Western Australiaศาสตราจารย์ ดร.ภรศิษฐ์ จิราภรณ์ Pennsylvania State Universityรองศาสตราจารย์ ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส Sasin School of Management

โอกาสในวิกฤตโควิด-19 โอกาสในวิกฤตโควิด-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้