สถาบันเอ็นอีเอ เปิดภาพ “ดีไซน์ทิงค์กิ้ง” คิดเชิงออกแบบ อย่างไร?? ให้สินค้าขายได้ ธุรกิจสำเร็จ

อังคาร ๒๓ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๓:๒๔
ใครว่าการออกแบบ (Design) เป็นเรื่องของศิลปะ ไม่จริง!! เพราะการออกแบบที่แท้จริงนั้นไม่ได้อยู่แค่เรื่องข้าวของสวยงามอย่างเสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องประดับ ฯลฯ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันใหม่ว่าสิ่งนี้คือการสร้างเค้าโครงการวางแผน เพื่อให้เป้าหมายเป็นไปตามขั้นตอนหรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “จะทำอย่างไรให้งานนั้นมีคุณค่าและประสบความสำเร็จ” และแน่นอนว่าใครที่มีทักษะในด้านดังกล่าวยิ่งจะทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างง่ายขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจการทำงาน ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การจะออกแบบสิ่งต่าง ๆ นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกเรื่องล้วนต้องผ่าน การฝึกฝนและมีระบบวิธีการ รวมทั้งต้องมีขั้นตอน 1 2 3 4 ซึ่งหากวางไว้ดี การออกแบบนั้นก็จะนำพาการตอบรับที่ดีกลับมาเช่นกัน
สถาบันเอ็นอีเอ เปิดภาพ ดีไซน์ทิงค์กิ้ง คิดเชิงออกแบบ อย่างไร?? ให้สินค้าขายได้ ธุรกิจสำเร็จ

การออกแบบประเภทหนึ่งที่ถูกพูดถึงและได้ยินกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้คือ “Design Thinking” หรือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ / การออกแบบความคิด แต่อาจจะยังไม่เข้าใจกันว่าคืออะไร ซึ่งในบริบทของกระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการวางแผนให้ได้มาซึ่งทางออกและการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ต่อเนื่องถึงการนำไปปรับปรุงการทำงานในบริษัทหรือภายในองค์กรให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ในทางธุรกิจยังสามารถช่วยสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ซึ่งในส่วนหลังนี้ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ กระบวนการคิดของคนที่เป็น Design Thinker ผ่านหลักสูตรกระบวนคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดย ผศ.ดร.พนิตา ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยจะประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกันคือ

Empathize : เห็นใจลูกค้า การเห็นใจลูกค้าในบริบทนี้ คือการพูดคุยสัมภาษณ์และสังเกตพฤติกรรมลูกค้า เพื่อรับทราบและทำความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ซึ่งจะเห็นปัญหาจากลูกค้าที่ไม่ใช่มุมมองฝ่ายเดียว แต่เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับจุดอ่อนได้อย่างตรงจุด ด้วยการสัมภาษณ์ในเชิงคุณภาพและการสังเกตมากกว่าการทำแบบสอบถามที่เน้นเชิงปริมาณ ด้วยการเก็บข้อมูลจากลูกค้ากลับมาเพื่อมายืนยันความคิดว่าเข้าใจถูกหรือไม่ โดยลักษณะดังกล่าว จะมีข้อจำกัดในการเก็บและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ดังนั้นเวลาสัมภาษณ์ลูกค้าควรถามเพื่อให้ แสดงความคิดเห็น โดยเป็นการตั้งคำถามแบบปลายเปิด ที่ไม่ได้ต้องการคำตอบเพียงใช่หรือไม่ใช่ การสัมภาษณ์ในแต่ละครั้งควรจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20-30 นาที เพื่อเป็นการละลายพฤติกรรม และทำความรู้จักกันให้มากขึ้น อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือการสังเกตพฤติกรรมว่าลูกค้าเต็มใจที่จะแชร์ข้อมูลให้เราหรือไม่

Define : ชำแหละปัญหา หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหาของลูกค้า ที่เราได้ทำการสอบถามตรงจากลูกค้าแล้วนั้น ขั้นตอนนี้คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าสาเหตุของปัญหาคืออะไร ขั้นตอนนี้จึงจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญว่าที่มาที่ไปของปัญหาคืออะไร แล้วจึงค่อยสรุปว่าช่องทางในการแก้ปัญหาคืออะไร

Ideate : หาไอเดีย ในช่วงขั้นตอนนี้ จะเป็นการระดมไอเดียและความคิดร่วมกันระหว่างทีม เพื่อการนำเสนอไอเดีย ที่ใหม่และแปลก เน้นในเรื่องของความสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการค้นหาสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ได้ตรงจุด และสามารถกลบปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้าและผลิตภัณฑ์เดิมให้มีการพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่มากขึ้น

Prototype : ทำให้เห็นตัวอย่าง ถือเป็นขั้นตอนที่สนุกที่สุด เพราเมื่อได้รวบรวมข้อมูลมาจนถึงขั้นตอนนี้ จะสามารถนำความเข้าใจที่บันทึกได้จากการสัมภาษณ์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงได้มองเห็นปัญหา และรวมรวมไอเดียและความคิดสร้างสรรค์มาแล้วทั้งหมดนั้น ขั้นตอนนี้จึงเป็นการเริ่มผลิตและสร้างรูปแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ ให้เห็นอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน และมองเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เป็นสิ่งที่จับต้องได้ จึงจะมองเห็นได้ชัดขึ้นและสามารถพัฒนาสินค้าขึ้นได้อีกเรื่อย ๆ ต่อไป

Test : ทดสอบขั้นตอนสุดท้ายนี้ คือการทดสอบฟีดแบคของลูกค้าต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อหาจุดบกพร่อง และจุดเด่นของสินค้ามากขึ้น เพื่อที่จะนำกลับมาพัฒนาและปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตาม การทำกระบวนการคิดแบบ Design Thinking 5 ขั้นตอนที่ผ่านมา ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัว เมื่อทำทั้งหมดเสร็จแล้ว 1 รอบ สามารถย้อนกลับไปกลับมา เพื่อการพัฒนาสินค้าที่ดีขึ้นให้มากกว่าเดิมต่อไป

“คุณสมบัติของการเป็น Design Thinker นั้น คือ จะต้องมี Mindset ในการออกแบบด้วยกัน 3 ข้อ ได้แก่ 1.Human Values ให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับใจ 2.Technology ต้องคำนึงถึง ความเป็นไปได้ในเชิงเทคโนโลยีที่เพียงพอหรือไม่ รวมถึงทรัพยากร เรามีคนที่มีความสามารถที่ตรงกับการออกแบบหรือเปล่า 3.Enterprise ความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นจำเป็นจะต้องนึกถึงต้นทุน ความเสี่ยง ผลกำไร ที่จะได้รับว่าคุ้มค่าหรือไม่”

ผู้ประกอบการท่านใดสนใจจะเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าวสามารถเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ได้ที่ https://e-academy.ditp.go.th/ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการหรือกิจกรรมอื่นๆ ของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ได้ที่ nea.ditp.go.th หรือ www.facebook.com/nea.ditp หรือ สายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169 กด 1

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4