ไทยจับมืออินเดียดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

อังคาร ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๑๔
- จัดสัมมนาออนไลน์อุตฯ อัญมณีและเครื่องประดับไทย-อินเดีย ชูประเด็นกระชับความร่วมมือสองชาติ
ไทยจับมืออินเดียดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

- หวังอุตฯ อัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวหลัง COVID-19

- เตรียมพลิกโฉมรูปแบบการจัดงานบางกอกเจมส์

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) ผนึกกำลังเอกชนอินเดีย หารือทางรอดและโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหลังการระบาดของ COVID-19 ประกาศเดินหน้าจัดงานบางกอกเจมส์รูปแบบใหม่ ตอบโจทย์การค้ายุค New Normal

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) จัดงานสัมมนาออนไลน์รูปแบบ Webinar ในหัวข้อ “การจัดการวิกฤติ และการบรรเทาผลกระทบกับกลยุทธ์ฟื้นฟูอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหลัง COVID-19” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศไทยและอินเดีย ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนักธุรกิจแถวหน้าของวงการอัญมณีและเครื่องประดับทั้งไทยและอินเดีย นางสาวจิตติมา นาคมโน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย เปิดเผยว่า การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ การเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้การซื้อขายและความต้องการอัญมณีและเครื่องประดับลดลงอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2563 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ลดลง 25.31% เหลือ 1,770 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม นางสาวจิตติมา แสดงความมั่นใจว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะกลับมาเข้มแข็งยิ่งกว่าเดิม หลังจากไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศแล้ว

“ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล เรากำลังผลักดันการส่งออกสินค้าไปยังอินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และตะวันออกกลางอย่างจริงจัง โดย DITP เป็นกำลังสำคัญที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะด้านการส่งออก”

ขณะเดียวกัน จากสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบัน DITP จึงได้มีการปรับเปลี่ยนการจัดงานแสดงสินค้าเป็นรูปแบบใหม่ “สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เราต้องปรับตัว และใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมากขึ้นกว่าเดิม” นางสาวจิตติมากล่าว

นอกจากนี้ DITP ได้ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ MSMEs จำนวนมากในอุตสาหกรรมนี้

“ เรามีหลักสูตรการตลาดและหลักสูตรการฝึกอบรมหลายหลักสูตรเพื่อสนับสนุนเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาคนี้”

ทั้งนี้ ประเทศไทยพร้อมจัดงาน Bangkok Gems & Jewelry Fair (BGJF) 2020 ในรูปแบบใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับการใช้ชีวิตแบบ New Normal การจัดงานรูปแบบใหม่นี้จะเป็นงาน BGJF ที่แตกต่างจากเดิม และจะเป็นเวทีการค้าอัญมณีออนไลน์ที่น่าจับตามองที่สุดในอาเซียน โดยงานจะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด Thailand's Magic Hands ซึ่งยังคงตอกย้ำถึงฝีมือและความเชี่ยวชาญของช่างฝีมืออัญมณีและเครื่องประดับ และให้ความความสำคัญเป็นพิเศษกับพลอยสี พลอยเนื้ออ่อน พลอยเนื้อแข็ง และเครื่องประดับเงิน สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีระหว่างอินเดียและไทย นางสาวจิตติมาเห็นว่า ยังเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพราะมีช่องทางสร้างความร่วมมือกันได้อีกมาก

ด้านนาย Sanjay Kothari อดีตประธานสภาส่งเสริมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย (GJEPC) และประธานสภาทักษะฝีมือแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับแห่งอินเดีย (GJSCI) กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์โลกที่กำลังเป็นอยู่ ทำให้มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียหดตัวลงเหลือประมาณ 18,000-20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปัจจุบันตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย Mehul Shah รองประธาน Bharat Diamond Bourse ตลาดเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเมืองมุมไบ ได้กล่าวถึงความมั่นคงของ Bharat Diamond Bourse (BDB) ยังกล่าวอีกว่า สหพันธ์ตลาดค้าเพชรโลก (WFDB) เป็นองค์กรค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีสมาชิก 30 รายทั่วโลก ได้หยุดการผลิตเพชรชั่วคราวในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการล็อกดาวน์ในประเทศอินเดีย ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่ดีสำหรับการลงทุนในเพชร นายภูเก็ต คุณประภากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจมส์บุรี จำกัด ได้กล่าวชื่นชมรัฐบาลไทยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ ผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านเทคนิค และการช่วยเหลือแรงงาน

นายภูเก็ตยังกล่าวอีกว่า ตลาดพลอยจันทบุรีเป็นตลาดค้าอัญมณีแห่งแรก ที่กลับมาเปิดบริการอีกครั้งนับตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ตอนนี้ตลาดกลับสู่สภาวะปกติ 80% แล้ว และกำลังรอโอกาสส่งออกอัญมณีไปยังประเทศอินเดีย

นาย Mithun Sancheti ประธานกรรมการบริหาร CaratLane.com กล่าวว่า ผู้บริโภคหันไปซื้อเครื่องประดับออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นเป้าหมายหลักตอนนี้คือการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ผู้ร่วมสัมมนาออนไลน์เห็นตรงกันว่า ทั้งอินเดียและไทยสามารถพลิกสถานการณ์การค้าโลกในปัจจุบันด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ได้ที่

เว็บไซต์: www.bkkgems.com

เฟซบุ๊ก: bangkokgemsofficial

อินสตาแกรม: bkkgemsofficial

ไทยจับมืออินเดียดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4