กทปส. ดัน “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” นวัตกรรมตรวจวัดอุณหภูมิสัญชาติไทย แม่นยำเทียบเท่าต่างชาติ ช่วยชาติลดการนำเข้าเทคโนโลยี คาดผลิตเชิงพาณิชย์ถูกกว่าตลาด 50%

จันทร์ ๓๑ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๓๙
“อุณหภูมิร่างกาย” หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ความสมบูรณ์ของร่างกายแต่ละบุคคล โดยในกรณีที่บุคคลมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ย่อมสรุปได้ว่าอาจจะเกิดความผิดปกติภายในร่างกาย หรือมีอาการของโรคแอบแฝง อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส หรือกระทั่งโรคโควิด-19 ที่ล้วนแสดงอาการของโรคในอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ ดังนั้น การเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อรายบุคคลได้นั้น “การวัดอุณหภูมิ” จึงถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องตรวจวัด ภายใต้บริบทของการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดเลี่ยงการสัมผัสและการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างบุคคล
กทปส. ดัน มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์ นวัตกรรมตรวจวัดอุณหภูมิสัญชาติไทย แม่นยำเทียบเท่าต่างชาติ ช่วยชาติลดการนำเข้าเทคโนโลยี คาดผลิตเชิงพาณิชย์ถูกกว่าตลาด 50%

นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กทปส. จึงร่วมมือกับ ทีมวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เร่งผลิตนวัตกรรมต้นแบบ “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (?Therm-FaceSense) จำนวน 40 เครื่อง ภายใต้งบฯ วิจัยกว่า 15.41 ล้านบาท หนุนแพทย์ไทยคัดกรองอุณหภูมิประชาชนแม่นยำใน 0.1 วินาที ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face Detection) แม้สวมหน้ากากอนามัย และเครือข่ายการสื่อสารอัจฉริยะ ที่ช่วยให้การประมวลผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจวัดพร้อมกันได้ถึง 9 คน ในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร ทั้งนี้ ผลสำเร็จดังกล่าวนับเป็นการตอกย้ำศักยภาพทีมวิจัยไทย ที่สามารถพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รูปแบบเฉพาะได้ 100% ทั้งยังลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีราคาสูงจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้จริงในสถานการณ์โควิด-19

ด้าน นายอาโมทย์ สมบูรณ์แก้ว นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และทีมพัฒนา “มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์” กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส. กว่า 15.41 ล้านบาทนั้น สามารถลดต้นทุนการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สู่การพัฒนา 40 นวัตกรรมต้นแบบ ที่มีมูลค่าต่ำกว่าท้องตลาดถึง 50% หรือราว 100,000 บาท เพื่อใช้จริง ณ สถานพยาบาล เรือนจำ หน่วยงานราชการ และขนส่งสาธารณะ 40 เครื่องทั่วประเทศ จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของคนไทย ในการเข้าถึงนวัตกรรมที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย ในราคาที่ต่ำลงแต่ประสิทธิภาพที่แข่งขันกับต่างประเทศ ที่มาพร้อมระบบถ่ายภาพและประมวลผลเบ็ดเสร็จใน 5 มิติ คือ 1. พิกัดของตำแหน่ง 2. ภาพปกติกับภาพความร้อน 3. ชุดอุณหภูมิอ้างอิงอยู่ภายในตัวเครื่อง 4. ระบบการชดเชยความแปรปรวนของสภาพแวดล้อม และ 5. ระบบการชดเชยความแปรปรวนของระยะทาง ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ NECTEC เตรียมถ่ายทอดสิทธิให้เอกชนนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ ในเฟส 2 ไปพร้อมๆ กับการเตรียมผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่น Limited Edition จำนวนจำกัดอีก 40 เครื่อง เพื่อวางจำหน่ายรองรับความต้องการภาคประชาชนทุกพื้นที่ ในราคาที่จับต้องได้ เป็นลำดับต่อไป

ทั้งนี้ “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” เป็นผลงานการพัฒนาโดยทีมวิจัย จากกลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) และกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) รวม 16 คน ยังได้ลงมือพัฒนาระบบการทำงานของเครื่องส่วนต่าง ๆ ด้วยตนเองให้สามารถใช้งานเชื่อมต่อกันได้อัตโนมัติ นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ยังผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านไฟฟ้า การทดสอบมาตรฐานคลื่นแม่เหล็ก ที่ไม่กระทบต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ การทดสอบความแม่นยำของอุณหภูมิ จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การันตีด้วยชุดทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ

อย่างไรก็ดี ด้วยการทำงานของนวัตกรรมดังกล่าว จะทำให้ระบบประควบคุมและประมวผลผลที่ทำงานอยู่เบื้องหลังได้รับ “บิ๊ก ดาต้า” (Big Data) ที่เป็นค่าดิบจากเซนเซอร์ต่าง ๆ ของตัวเครื่องจำนวนมากนั้น สามารถนำไปต่อยอดหรือใช้ประโยชน์ในบริบทต่าง ๆ ได้หลากรูปแบบ อาทิ ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องทั้งในรุ่นปัจจุบันและรุ่นถัดไป (ปัจจุบันเครื่องมีการอัปเดตโปรแกรมใหม่อัตโนมัติ) เพิ่มความสามารถต่าง ๆ ให้เครื่อง เช่น แสดงสถิติการใช้งาน (ปัจจุบันเครื่องนับจำนวนคนในแต่ละวันให้ตลอดเวลา) ช่วยดูแลสุขภาพเครื่องจากระยะไกล ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมาก รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนเป็น Open Data เพื่อประโยชน์สาธารณะทางระบาดวิทยา เช่น จำนวนคนเข้าออก และค่าอุณหภูมิที่วัดได้ นายอาโมทย์ กล่าว

NECTEC ได้ทำการวิจัยและพัฒนา “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (?Therm-FaceSense) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก โรคซาร์ และไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ต่าง ๆ ในขณะนั้น ที่ต้องการเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องการตรวจวัดอุณหภูมิแบบมีระยะห่างและแสดงผลแบบเรียลไทม์ และล่าสุด ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา NECTEC ได้รับทุนวิจัยจาก กทปส. ในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องคัดกรองอุณหภูมิรุ่นใหม่ ให้มีฟังก์ชันการค้นหาใบหน้าและตรวจวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วภายใน 0.1 วินาที ตลอดจนสามารถตรวจวัดต่อครั้งได้จำนวนหลายคนพร้อมกัน โดยเพิ่มเติมฟังก์ชันการสื่อสารแบบออนไลน์ ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพและความสมบูรณ์แบบมากขึ้น นายอาโมทย์ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลติดต่อ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค-สวทช. โทร. 02 564 6900 ต่อ 2353 และสำหรับผู้สนใจยื่นขอรับทุนสนับสนุนจาก กทปส. สามารถติดตามรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ โทรศัพท์ 02 554 8111 และ 02 554 8114 หรือ www.facebook.com/BTFPNEWS และ https://btfp.nbtc.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ