เอ็นไอเอ ร่วมภาคเอกชน โชว์ความสำเร็จโครงการสเปซ-เอฟ และสตาร์ทอัพฟู้ดเทครุ่น 1 พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เดินหน้าปั้น 9 เทรนด์นวัตกรรมอาหารสู่เวทีโลก

พุธ ๐๙ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๐:๑๗
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน SPACE-F batch 1 Incubator Demo Day เพื่อนำเสนอผลงานสตาร์ทอัพที่ผ่านการบ่มเพาะในรุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPACE-F โดยมีสตาร์ทอัพที่ร่วมโชว์ผลงานทั้งสิ้น 7 ทีม ได้แก่ Anrich 3D 3D-Printing สำหรับการออกแบบโภชนการอาหารรายบุคคล Let’s Plant Meat เนื้อจากพืชที่เหมาะกับอาหารเอเชีย Artificial Anything (EIS) เซ็นเซอร์ตรวจสอบคุณภาพในการผลิตเครื่องดื่ม Qualifresh เซ็นเซอร์ควบคุมอุณหภูมิการจัดเก็บและขนส่งสินค้าด้านอาหาร Advanced Green Farm เทคโนโลยีการเพาะปลูกผำ/ไข่น้ำ พืชตระกูลแหนโปรตีนสูง More Meat เนื้อจากพืชที่ส่งตรงถึงร้านอาหารและผู้บริโภค และ Sesamilk นมทางเลือกผลิตจากงา
เอ็นไอเอ ร่วมภาคเอกชน โชว์ความสำเร็จโครงการสเปซ-เอฟ และสตาร์ทอัพฟู้ดเทครุ่น 1 พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เดินหน้าปั้น 9 เทรนด์นวัตกรรมอาหารสู่เวทีโลก

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่าNIA เล็งเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างโอกาสให้กรุงเทพฯ ก้าวสู่การเป็น “ฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์” โดยโครงการ SPACE-F ประกอบด้วยโครงการบ่มเพาะ (Incubator Program) และโครงการเร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator Program) ที่จะร่วมผลักดันและสนับสนุนสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงให้สามารถสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความแตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม อันจะทำให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมอาหารทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล ซึ่งจะเน้นการพัฒนานวัตกรรมอาหารโลกใน 9 เทรนด์หลัก ได้แก่ การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ การผลิตโปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่

การพัฒนาวัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร ซึ่งโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 1 ที่เพิ่งจบไปนั้นช่วยสร้างพัฒนาการให้แก่สตาร์ทอัพอย่างมาก จากที่มีเพียงแนวคิดในช่วงแรก ขณะนี้หลายผลิตภัณฑ์ได้มีการวางขายตามซุปเปอร์มาร์เกตชั้นนำ และช่องทางออนไลน์ ได้แก่ Anrich 3D ระบบ 3D-Printing สำหรับการออกแบบโภชนการอาหารรายบุคคล Let’s Plant Meat เนื้อจากพืชที่เหมาะกับอาหารเอเชีย Artificial Anything (EIS) เซ็นเซอร์ตรวจสอบคุณภาพในการผลิตเครื่องดื่ม Qualifresh เซ็นเซอร์ควบคุมอุณหภูมิการจัดเก็บและขนส่งสินค้าด้านอาหาร Advanced Green Farm เทคโนโลยีการเพาะปลูกผำ/ไข่น้ำ พืชตระกูลแหนโปรตีนสูง More Meat เนื้อจากพืชที่ส่งตรงถึงร้านอาหารและผู้บริโภค และ Sesamilk นมทางเลือกผลิตจากงา รวมไปถึงยังมีการทำการตลาดระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ทั้งนี้ หลังจบโครงการ NIA ยังคงมีกลไลที่ช่วยสนับสนุนและต่อยอดสตาร์ทอัพในโครงการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุน การสร้างเครือข่ายจากภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันการเงิน องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึงการสนับสนุนช่องทางตลาด การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตลาดผ่านงาน Startup Thailand , Innovation Thailand Expo เป็นต้น

ด้าน นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการ SPACE-F ก่อตั้งขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยความร่วมมือของผู้ก่อตั้ง ทั้ง NIA มหาวิทยาลัยมหิดล และไทยยูเนี่ยน ด้วยความหวังว่าจะมีส่วนสร้างระบบนิเวศของสตาร์ทอัพขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอุตสาหกรรมอาหารไทยยูเนี่ยน เชื่ออย่างยิ่งว่านวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารในวงกว้าง เพราะทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน ที่ไทยยูเนี่ยน เรามีนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กว่าร้อยคนทำงานที่ศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยนเพื่อพัฒาและนำเทคโนโลยีมาต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์ของเรา นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับนวัตกรรมแบบเปิด หรือ Open Innovation โดยมีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่าง ๆ และสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดและนวัตกรรมที่น่าสนใจ โครงการ SPACE-F นี้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยยูเนี่ยนในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่จะพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ความสำเร็จของโครงการ SPACE-F ในปีแรกนี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันว่าแรงสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเปิดโอกาสและช่วยผลักดันให้นวัตกรรมจากสตาร์ทอัพเหล่านี้ได้พัฒนาและก้าวไปสู่การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อไป”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "ขณะนี้โครงการ SPACE-F ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 โดยมี 3 พันธมิตรใหม่ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เสริมทัพเข้ามาสนับสนุน ทำให้โครงการ SPACE-F ถือเป็นการประสานพลังขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาชั้นนำของประเทศ ผลสัมฤทธิ์ของทีม startup ที่ท่านเห็นในวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบ่มเพาะจากการเข้าร่วมโครงการ SPACE-F ในระดับ Incubator รุ่นแรกของปีที่แล้ว ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง และพัฒนาไปสู่ผู้ประกอบการที่สร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่ใช้นวัตกรรมเป็นตัวนำเศรษฐกิจ ซึ่งเราหวังว่าจะมีส่วนช่วยนำประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมอาหารในระดับโลก มหาวิทยาลัยมหิดลเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า องค์กรพันธมิตรทั้งรุ่นก่อตั้งและที่เสริมทัพเข้ามาเพิ่มของ SPACE-F จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยกันทำให้ประเทศไทย มุ่งไปสู่เป้าหมายของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคด้วยนวัตกรรม บนรากฐานของความร่ำรวยทางทรัพยากร และพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของนวัตกรรมด้านอาหารในระดับโลก"

นายฌอง เลอเบรอตง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยเบฟรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนร่วม ในการสนับสนุน โครงการ “สเปซ-เอฟ” โดยได้ผสานความร่วมมือกับองค์กรระดับประเทศทั้งภาครัฐ และเอกชน ช่วยกันผลักดันผู้ประกอบการเทคโนโลยีอาหารและเครื่องดื่มในการสร้างธุรกิจให้เติบโตแข็งแกร่งและยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญมากความสามารถ ที่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมพัฒนาให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางความรู้ด้านวัตกรรมอาหารรของภูมิภาค โดยไทยเบฟหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 2 นี้ จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่สำหรับทุก ๆ คนในโลกใบนี้

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ facebook.com/niathailand

เอ็นไอเอ ร่วมภาคเอกชน โชว์ความสำเร็จโครงการสเปซ-เอฟ และสตาร์ทอัพฟู้ดเทครุ่น 1 พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เดินหน้าปั้น 9 เทรนด์นวัตกรรมอาหารสู่เวทีโลก เอ็นไอเอ ร่วมภาคเอกชน โชว์ความสำเร็จโครงการสเปซ-เอฟ และสตาร์ทอัพฟู้ดเทครุ่น 1 พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เดินหน้าปั้น 9 เทรนด์นวัตกรรมอาหารสู่เวทีโลก เอ็นไอเอ ร่วมภาคเอกชน โชว์ความสำเร็จโครงการสเปซ-เอฟ และสตาร์ทอัพฟู้ดเทครุ่น 1 พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เดินหน้าปั้น 9 เทรนด์นวัตกรรมอาหารสู่เวทีโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๒๔ เม.ย. เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๒๔ เม.ย. อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ