สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ปลื้ม ตัวเลขส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ปี 2563 แตะอันดับรองสูงสุดในรอบหลายปี ส่วนตัวเลขนำเข้าแซลมอนนอร์เวย์สดในไทยคงที่

อังคาร ๑๙ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๔:๒๐
แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาจะส่งผลให้ธุรกิจทั่วโลกต้องหยุดนิ่ง แต่สำหรับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) กลับรายงานตัวเลขรวมการส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ที่เป็นที่น่าพอใจ ด้วยปริมาณ 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2 นับเป็นมูลค่ากว่า 3.77 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นยอดการส่งออกอาหารทะเลที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองในรอบหลายปี และมีอัตราลดลงจากปีก่อนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ในขณะที่ตัวเลขนำเข้าปลายอดนิยมของคนไทยอย่างแซลมอนนอร์เวย์มีปริมาณลดลงร้อยละ 1 เช่นกัน อยู่ที่ 16,771 ตัน มูลค่า 3.65 พันล้านบาท

อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เผยว่า "อุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ได้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากและไม่แน่นอนที่สุดของโลก และยังคงความเป็นผู้นำในตลาดอาหารทะเลไทยไว้ได้ โดยอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรด้านธุรกิจ เพื่อปรับตัวและคิดค้นสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้แซลมอนนอร์เวย์ยังเป็นที่ต้องการและเป็นวัตถุดิบยอดนิยมตลอดกาลของคนไทย แม้เทรนด์การบริโภคอาหารจะเปลี่ยนเป็นการทำที่บ้านและสั่งอาหารเดลิเวอรีมากขึ้นก็ตาม"

ตัวเลขปริมาณการนำเข้าอาหารทะเลสดและแช่แข็งโดยรวมของปลาสายพันธุ์ต่าง ๆ ในตลาดไทยปี 2563 มีอัตราลดลงเล็กน้อย โดยแซลมอนอยู่ที่ 14,083 ตัน (ลดลงร้อยละ 10) ฟยอร์ดเทราต์ 4,903 ตัน (ลดลงร้อยละ 12) และแมกเคอเรล 8,873 ตัน (ลดลงร้อยละ 1) เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งนับว่ามีอัตราการลดลงที่ต่ำมากเมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมของตลาดและเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับตัวเลขปริมาณการส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ทั่วโลกอยู่ที่ 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มีมูลค่าอยู่ที่ 3.77 แสนล้านบาท เทียบเท่ากับมื้ออาหาร 37 ล้านมื้อต่อวัน หรือ 25,000 มื้อต่อนาที

เทรนด์ของอาหารทะเลมีการเปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2563 แต่แนวทางต่าง ๆ ที่ออกมารองรับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ในปัจจุบันทำให้อาหารทะเลนอร์เวย์ยิ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้น มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้ช่องทางรายได้จากร้านอาหารและโรงแรมหายไป การขนส่งสินค้าต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น รายได้จากการจำหน่ายอาหารทะเลของนอร์เวย์รวมไปถึงแซลมอน จึงไปกระจุกตัวอยู่ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต บริการเดลิเวอรี และการสั่งอาหารกลับบ้าน

ปัจจัยหลัก 5 ข้อที่ทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ประสบความสำเร็จในยุคโควิด-19 มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประกอบไปด้วย:

  • ค่าเงินโครนนอร์เวย์ที่อ่อนตัวลง
  • ความสามารถในการปรับตัวที่ฉับไวของอุตสาหกรรม
  • ปลาบางสายพันธุ์ที่มีอัตราการเติบโตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น แมกเคอเรลและเฮร์ริง
  • ตัวเลขการส่งออกแซลมอนที่สูงเป็นอันดับสองในรอบหลายปี
  • ความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นของอาหารทะเลนอร์เวย์ในตลาดโลก

"ในยุคที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้บริโภคในไทยและทั่วโลกหันมาใส่ใจแหล่งที่มาและมาตรฐานความสะอาดของอาหารมากขึ้นกว่าเดิม ตลอดทั้งปีสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ได้ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับความกังวลด้านอาหารต่าง ๆ และสร้างความเชื่อมั่นว่าอาหารทะเลและแซลมอนสดจากนอร์เวย์ ปลอดภัย รับประทานได้ ในขณะเดียวกันยังผลักดันให้ผู้บริโภคปฎิบัติตามคำแนะนำด้านสุขอนามัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) อย่างเคร่งครัด และมีการอัพเดทข้อมูลจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของนอร์เวย์และสถาบันวิจัยทางทะเลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พันธมิตรค้าปลีกและผู้บริโภคสามารถประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง" อัสบีเยิร์น กล่าว

ตลอดปี 2563 สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ได้จัดกิจกรรมการตลาดต่าง ๆ ด้วยวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารทะเลนอร์เวย์ให้กับผู้บริโภคไทยและกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจของประเทศไทย อีเว้นต์เด่น ๆ ในปีที่ผ่านมา ได้แก่ งานรับประทานอาหารค่ำประจำปี "Seafood under the Stars" เพื่อเปิดตัววัตถุดิบอาหารทะเลใหม่ ๆ งานสัมมนาอาหารทะเลนอร์เวย์ที่สืบเนื่องกับงานไทยเฟ็กซ์ - อนูก้า เอเชีย 2020 เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทะเลในประเทศไทย แคมเปญ Line Man x Wongnai เพื่อโปรโมทตราสัญลักษณ์ Seafood From Norway ร่วมกับ 7 ร้านอาหารญี่ปุ่นและอาหารทะเลชื่อดัง และแคมเปญ ฟยอร์ดเทราต์กับอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังอย่าง ปอนด์ ยาคอปเซ่น Bon Jakobsen ที่มาแชร์เรื่องราวสนุก ๆ แกล้มความรู้เกี่ยวกับฟยอร์ดเทราต์จากนอร์เวย์

"ในปี 2564 นี้ อุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ยังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตอาหารทะเลที่ปลอดภัย ยั่งยืน และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ให้กับผู้บริโภคไทย โดยเฉพาะในช่วงเวลาแบบนี้ ตัวเลือกด้านอาหารที่ดีต่อสุขภาพและความยั่งยืนเป็นที่ต้องการมาก ประเทศไทยเองเป็นตลาดที่ตอบรับกับกระแสนิยมและมีการปรับตัวได้รวดเร็ว ผู้บริโภคไทยเปิดรับไอเดียและสินค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทางสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์จึงมีแผนที่จะส่งแคมเปญการตลาดออนไลน์ต่าง ๆ และกิจกรรมทางการตลาดกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรค้าปลีกทั้งหลาย เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง" อัสบีเยิร์น กล่าวปิดท้าย

ที่มา: เฟลชแมน ฮิลลาร์ด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4