บลจ.กสิกรไทยเผย ปัจจัยเสี่ยงลดน้อยลงหลัง FED ขึ้นดอกเบี้ย พร้อมแนะนำเพิ่มสัดส่วนลงทุนในหุ้นได้เพิ่มเติม

ศุกร์ ๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๑๖
นายพงศ์พิเชษฐ์ นานานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยถึงมุมมองต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ซึ่งล่าสุดที่ประชุมได้มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 0.25%-0.50% จากเดิมที่ระดับ 0%-0.25% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ และนับว่าเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีต่อเนื่อง และระดับอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% รวมถึง FED ยังส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าในปี 2559 ดอกเบี้ยจะแตะที่ระดับ 1.375%

นายพงศ์พิเชษฐ์กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก มองว่าในระยะสั้นไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากตลาดได้ปรับตัวไปตามการคาดการณ์ส่วนใหญ่แล้ว แต่สถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวตอบรับในเชิงบวกหลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยข้อมูลของเช้าวันที่ 17 ธ.ค. 58 หุ้นสหรัฐ S&P 500 ปรับตัวขึ้น 1.45% และหุ้นเอเชียโดยรวมเปิดตลาดช่วงเช้าปรับขึ้น 2% ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดตลาดก่อนการประกาศผลการปรับดอกเบี้ย โดย STOXX Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.24% ด้านตลาดตราสารหนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระยะ 1 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มเล็กน้อยจากวันก่อนหน้า โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปี ปรับขึ้น 4 bps มาอยู่ที่ 1.02% ส่วนระยะ 10 ปี ปรับขึ้น 2 bps มาอยู่ที่ 2.30% ส่วนสินค้าโภคภัณฑ์ ด้านราคาทองคำปรับตัวลดลง 0.50% เนื่องมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเป็นตัวกดดันราคาลงมา ขณะที่ราคาน้ำมันปรับลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับปริมาณที่มีล้นตลาด

ด้านสถานการณ์ตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะได้รับผลกระทบจำกัดเช่นกัน เนื่องจากตลาดได้รับรู้และมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และได้สะท้อนให้เห็นจากการปรับตัวของตลาดหุ้นในเอเชียรวมถึงตลาดหุ้นไทยไปพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะต้องติดตามต่ออย่างใกล้ชิด คือการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในปีหน้า ซึ่งยังเป็นปัจจัยกดดันให้ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวนต่อเนื่อง แต่ก็คาดว่าจะเป็นการปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อตลาดมากนัก

"มุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังคงมีความผันผวนต่อเนื่อง โดยจะได้รับปัจจัยกดดันทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาทิ ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของจีน และยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านราคาน้ำมันที่มีความผันผวน ซึ่งประเด็นสำคัญที่จะต้องจับตามอง คือ ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศหลักๆ อาทิ จีนและสหรัฐอเมริกาที่จะทยอยประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในประเทศ คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะสามารถฟื้นตัวในดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 โดยปัจจัยหนุนยังคงมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งหากดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ทั้งนี้บลจ.กสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ตัวเลข GDP ของไทยในปี 2559 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5%-3.5% และบลจ.กสิกรไทยตั้งเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยปลายปี 2559 ที่ระดับ 1,500 – 1,550 จุด ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน Forward P/E ในปี 2559 ที่ระดับ15.3-15.8 เท่า โดยกลยุทธ์หรือธีมการลงทุนของบลจ.กสิรไทยในปี 2559 จะให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมถึงโครงการประมูลงานขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ได้แก่ หุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างและขนส่ง นอกจากนี้ยังมองหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรมว่ามีความน่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีขึ้นเห็นได้จากตัวเลขภาคการท่องเที่ยวในไตรมาส 3/58 ที่ออกมาดีขึ้น รวมถึงยังสนใจหุ้นในกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีแม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา อาทิ หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล หุ้นอุปโภคบริโภค ค้าปลีก เป็นต้น" นายพงศ์พิเชษฐ์กล่าว

ด้านมุมมองการลงทุนในต่างประเทศ นายพงศ์พิเชษฐ์กล่าวว่า ในระยะสั้นความผันผวนในตลาดคาดว่าจะลดน้อยลง เนื่องจากความกังวลในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ลดน้อยลง ผู้ลงทุนจึงอาจเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนได้ และยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความแตกต่างกันของนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ซึ่งบลจ.กสิกรไทยจะให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นจีนและยุโรป ด้วยมองว่าระดับราคายังมีความน่าสนใจ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่จะต้องติดตาม คือราคาน้ำมันที่อยู่ระดับต่ำและยังไม่มีทิศทางฟื้นตัว จะเป็นปัจจัยที่ยังคงกดดันตลาดการเงินโลก ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้มีความน่าสนใจน้อยลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4