คปภ.ได้ฤกษ์เปิดแผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ 3 เน้นประกันภัยไทยเติบโตยั่งยืน พร้อมยกระดับความเชื่อมั่นจากประชาชน

อังคาร ๒๖ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๔:๔๖
คปภ. เปิด "แผนพัฒนาการ ประกันภัย ฉบับที่ 3" ซึ่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้อนุมัติในหลักการแล้ว โดยแผนพัฒนาฯฉบับนี้ จะกำหนดยุทธศาสตร์ ตลอดจน ทิศทางการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี 2559 -2563

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า บอร์ด คปภ. ได้เห็นชอบหลักการ "แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3" โดยกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2559 -2563) มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนระบบประกันภัยไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและได้รับความเชื่อถือ ไว้วางใจจากประชาชน โดยคาดหวังให้ระบบประกันภัยมีความมั่นคงและดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ในตลาดเสรี ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยและสามารถใช้ประโยชน์จากการประกันภัยได้อย่างเหมาะสม

สำหรับแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559 -2563) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลักๆ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทประกันภัยมีความมั่นคง เข้มแข็งทางการเงิน มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพ โดยเร่งพัฒนากรอบการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที่ 2 และการลดต้นทุนโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Digital Business มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การเปิดเผยข้อมูล และรวมถึงการคัดกรองบุคคลที่มีคุณภาพในการเข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัย มีการยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจประกันภัยเช่น ยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย ยกระดับมาตรฐานการปฎิบัติงานในกิจกรรมหลักของธุรกิจประกันภัย ยกระดับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งยกระดับ

พฤติกรรมทางการตลาดของระบบประกันภัย โดยให้ความสำคัญกับกระบวนงานที่ส่งผลกระทบกับประชาชน ประกอบด้วยการพัฒนาการกำกับช่องทางการจำหน่ายและการยกระดับมาตรฐานระบบจัดการสินไหมและการจัดการเรื่องร้องเรียนที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเดียวกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความรู้และการเข้าถึงการประกันภัย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัย ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย ผ่านการพัฒนาเครื่องมือ รูปแบบ วิธีการและสื่อประชาสัมพันธ์ในการให้ความรู้ด้านการประกันภัยที่เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยง โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่รองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อย รวมถึงผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งขยายช่องทางการเข้าถึงการประกันภัยของประชาชน ผ่านการพัฒนากระบวนการขายประกันภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัย และช่องทางการเข้าถึงสำหรับรายย่อยและประชาชนในท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเสริมสร้างการแข่งขันผ่านการผ่อนคลายการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย ให้มีความยืดหยุ่นและอิงกลไกตลาดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้ตามความเสี่ยงและความเชี่ยวชาญของบริษัท ให้มีการพัฒนาการกำกับ และกระบวนการให้ความเห็นชอบ/อนุมัติผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการประกันภัยใน CLMV รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการในกลุ่ม CLMV โดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันภัย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย เพื่อให้ระบบประกันภัยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย โดยพัฒนาและยกระดับบุคลากรประกันภัยให้เป็นมืออาชีพ ด้วยการสร้างมาตรฐานวิชาชีพของบุคลากรประกันภัย ผลักดันให้สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงเป็นศูนย์กลางการพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรม เสริมสร้างศักยภาพการวิจัยและสารสนเทศ เพื่อให้ระบบประกันภัยมีฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัยที่สมบูรณ์และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถรองรับการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งผลักดันให้การประกันภัยเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะการประกันภัยพืชผลสำหรับเกษตรกร การประกันภัยรถโดยสารสาธารณะ อาคารสาธารณะ เรือโดยสารและสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ อีกทั้งจะเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานกำกับ โดยปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัย เช่น ปรับปรุงพระราชบัญญัติประกันชีวิตและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พัฒนากฎหมายประกันภัยทางทะเล ฯลฯ รวมถึงพัฒนาการบังคับใช้กฎหมาย และเตรียมความพร้อมเพื่อการประเมิน Financial Sector Assessment Program (FSAP)

ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า ภายหลังจบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 คาดหวังว่า Insurance Penetration อยู่ที่ร้อยละ 6.20 จำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากรอยู่ที่ร้อยละ 50 มูลค่าเบี้ยประกันภัยต่อหัว (Insurance Density) เท่ากับ 18,000 – 23,000 บาท และสัดส่วนเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน คปภ. ต่อจำนวนกรมธรรม์ประกันภัย ไม่เกินร้อยละ 0.016 ทั้งนี้สำนักงาน คปภ. จะได้เร่งผลักดันแผนการปฏิบัติงานร่วมกับธุรกิจประกันภัยและหน่วยงาน ตลอดจนกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 บรรลุเป้าหมายต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest