สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค แถลงผลประกอบการประจำครึ่งปีแรกของปี 2559

จันทร์ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๒๙
คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป แถลงผลกำไร 6 เดือนแรกของปี 2559 คิดเป็นมูลค่า 353 ล้านเหรียญฮ่องกง เทียบกับผลกำไรประจำปี 2558 ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ 1,972 ล้านเหรียญฮ่องกง ในขณะที่กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 9.0 เซ็นต์ฮ่องกงเทียบกับ 50.1 เซ็นต์ฮ่องกงในปี 2558 ที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน

การดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ด้านสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและการแข่งขันที่ดุเดือด ซึ่งส่งผลต่อรายได้และผลประกอบการของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวประกอบด้วย การงดเรียกเก็บค่าภาษีน้ำมัน สกุลเงินที่อ่อนค่าลงในบางประเทศ สัดส่วนที่ลดลงของผู้โดยสารชั้นพรีเมี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางบินระยะไกล รวมถึงปริมาณของผู้โดยสารที่ใช้ฮ่องกงเป็นจุดเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตาม บริษัทอื่นๆ ในเครือยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

ธุรกิจเกี่ยวกับผู้โดยสารของสายการบิน

รายได้จากผู้โดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค และ ดรากอนแอร์ ในครึ่งปีแรก คิดเป็นมูลค่า 33,413 ล้านเหรียญฮ่องกง ลดลงร้อยละ 7.8 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 สวนทางกับความสามารถในการรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เนื่องจากการเพิ่มเส้นทางบินใหม่ในหลายเส้นทาง และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในบางเส้นทาง ปริมาณการรองรับที่นั่งของผู้โดยสารลดลง 1.4 จุด หรือร้อยละ 84.5 ผลประกอบการได้รับผลกระทบอย่างมากจากราคาภาษีน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์) แม้ว่าราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยลดลงร้อยละ 10.1 เทียบเท่า 54.3 เซ็นต์ฮ่องกง เนื่องจากการงดเรียกเก็บค่าภาษีน้ำมัน การแข่งขันที่สูงขึ้น และความผันผวนอย่างมากของค่าเงิน

ผู้โดยสารชั้นพรีเมี่ยมที่เดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจลดต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะในเส้นทางบินระยะไกล ทำให้รายได้จากเที่ยวบินระยะไกลลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 แม้ว่าความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเที่ยวบินระยะไกลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7 ก็ตาม

การขนส่งสินค้า

ธุรกิจการขนส่งสินค้าของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ในครึ่งปีแรก คิดเป็นมูลค่า 9,415 ล้านเหรียญฮ่องกง ลดลงร้อยละ17.2 เมือเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 ความสามารถในการรองรับการขนส่งสินค้าของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค และดรากอนแอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 แต่อัตราการขนส่งสินค้ากลับลดลง 1.9 จุด หรือร้อยละ 62.2 ระวางของการบรรทุกสินค้าลดลงร้อยละ 0.2 ภาพรวมของธุรกิจการขนส่งสินค้านั้นชะลอตัวในครึ่งปีแรก แม้ว่าระวางการขนส่งจะทรงตัวในไตรมาสที่ 2

ราคาต่อหน่วยลดลงร้อยละ 17.6 เทียบเท่า 1.59 เหรียญฮ่องกง เนื่องมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น และความสามารถในการขนส่งสินค้าที่เกินความต้องการ รวมถึงการงดเรียกเก็บค่าภาษีน้ำมัน (ตั้งแต่เดือนเมษายน) ความต้องการในการขนส่งสินค้าในเส้นทางสู่ยุโรปยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และความต้องการในการขนส่งสินค้าสำหรับเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคก็ลดลงเช่นเดียวกัน มีเพียงความต้องการในการขนส่งสินค้าในเส้นทางสู่อินเดียเท่านั้นที่เพิ่มสูงขึ้น คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ปรับปริมาณการรองรับการขนส่งสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการขนส่งสินค้า และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าในเที่ยวบินโดยสาร

รายจ่าย

รายจ่ายค่าน้ำมันของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค และดรากอนแอร์ (ไม่รวมถึงผลกระทบจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า) ลดลง 4,023 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2558 สวนทางกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ค่าน้ำมันลดลงเฉลี่ยร้อยละ 33.3 ซึ่งชดเชยได้บางส่วนจากปริมาณการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 ค่าน้ำมันยังคงเป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ที่สุดของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป โดยในครึ่งปีแรกของปี 2559 น้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดการการบินร้อยละ 29.1 (เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 34.2) การขาดทุนจากสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าลดทอนประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าแล้ว ค่าน้ำมันสุทธิลดลง คิดเป็นมูลค่า 3,360 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2558

ความแออัดในท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงประกอบกับข้อจำกัดในการปฏิบัติการบินในภูมิภาคจีน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รายจ่ายในการปฏิบัติงานสูงขึ้น คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป จึงกำลังเร่งปรับปรุงการปฏิบัติการให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น

การเพิ่มศักยภาพในการทำงานสามารถทำให้รายจ่ายต่างๆ ที่นอกเหนือจากค่าน้ำมันในครึ่งปีแรกมีอัตราต่ำกว่าปริมาณรองรับที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับน้ำมันลดลงร้อยละ 0.5 ต่อปริมาณความสามารถการบรรทุกของเครื่องบิน จากรายได้ที่ลดลง คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป จึงมีมาตรการเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน โดยมีการทบทวนในเรื่องกำลังการผลิตและค่าใช้จ่ายของสายการบิน รวมถึงงดการจ้างพนักงานเพิ่มและการทดแทนพนักงานที่ยังไม่จำเป็นและไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติการ รวมถึงควบคุมรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ปยังคงให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว

เครือข่ายเส้นทางบิน

คาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้เปิดให้บริการเที่ยวบินใหม่สู่เมืองมาดริดในเดือนมิถุนายน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และจะเพิ่มเส้นทางบินสู่สนามบินแกตวิค กรุงลอนดอนในเดือนกันยายนนี้ ด้วยเครื่องบินรุ่นแอร์บัส A350-900XWBนอกจากนี้ คาเธ่ย์ แปซิฟิคได้ยกเลิกเที่ยวบินไปยังกรุงโดฮาในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังคงให้บริการเส้นทางดังกล่าวบนเที่ยวบินร่วมกับสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ ส่วนดรากอนแอร์ไม่ได้เปิดให้บริการเที่ยวบินใหม่ในครึ่งปีแรกนี้แต่มีการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางสู่เมืองดานัง ปีนัง เหวินโจวและอู่ฮั่น และลดจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางสู่เมืองคลาร์กและเมืองโคตาคินาบาลู สำหรับเที่ยวบินขนส่งสินค้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม คาเธ่ย์ แปซิฟิค จะเพิ่มเส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังเมืองพอร์ตแลนด์ ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ เที่ยวบินและระวางของการบรรทุกสินค้าได้รับการปรับให้สอดคล้องกับความต้องการในการขนส่งสินค้า

ฝูงบิน

คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ได้รับมอบเครื่องบินรุ่นแอร์บัส A350-900XWB ลำแรกในเดือนพฤษภาคม ลำที่ 2 ในเดือนกรกฎาคมและลำที่ 3 ในเดือนสิงหาคม และจะรับมอบอีก 9 ลำที่เหลือภายในปี 2559 เครื่องบินรุ่นแอร์บัส A350-900XWB นี้ ประหยัดน้ำมันและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสายการบินทั้งในด้านพิสัยการบิน ปริมาณการรองรับผู้โดยสาร และต้นทุนในการปฏิบัติงาน

คาเธ่ย์ แปซิฟิคได้ปลดระวางเครื่องบินโดยสารรุ่นแอร์บัส A340-300 จำนวน 2 ลำในครึ่งปีแรก จากนั้นจะปลดระวางอีก 1 ลำในช่วงครึ่งปีหลัง และปลดระวางอีก 4 ลำที่เหลือภายในปี 2560 นอกจากนี้ สายการบินจะปลดระวางเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 747-400 อีกจำนวน 3 ลำที่เหลือภายในเดือนตุลาคม คาเธ่ย์ได้ส่งคืนเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่นโบอิ้ง 747-400F จำนวน 1 ลำให้แก่บริษัทโบอิ้งในเดือนกรกฎาคม และส่งคืนเพิ่มอีก 1 ลำในเดือนสิงหาคม ส่วนอีก 2 ลำที่เหลือ จะถูกส่งคืนภายในเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้ และคาเธ่ย์ แปซิฟิค จะได้รับมอบเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่นโบอิ้ง 747-8F ลำสุดท้ายที่สั่งซื้อไว้ในเดือนสิงหาคม

ผลิตภัณฑ์และบริการ

เครื่องบินโดยสารรุ่นแอร์บัส A350XWB รุ่นใหม่มาพร้อมห้องโดยสาร ที่นั่ง และระบบความบันเทิงในรูปแบบใหม่ พร้อมรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารของผู้โดยสาร ทั้งนี้ คาเธ่ย์ เปิดให้บริการห้องรับรองผู้โดยสารแห่งใหม่ในเมืองแวนคูเวอร์เมื่อเดือนพฤษภาคม และเปิดให้บริการห้องรับรองผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ "เดอะเพียร์" ณ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ส่วนห้องรับรองผู้โดยสาร "จี16" ปิดให้บริการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และจะเปิดให้บริการอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 นอกจากนี้ ห้องรับรองผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจที่สนามบินฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน จะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559

ในเดือนมกราคม คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ประกาศเปลี่ยนชื่อสายการบินดรากอนแอร์ เป็นคาเธ่ย์ ดรากอน เพื่อให้ภาพลักษณ์ของทั้ง 2 สายการบินใกล้เคียงกันมากขึ้น โดยเครื่องบินของสายการบินคาเธ่ย์ ดรากอนที่มีโลโก้เป็นภาพฝีแปรงเฉพาะของคาเธ่ย์ (brushwing) ได้ให้บริการครั้งแรกในเดือนเมษายน

การคาดการณ์ทางธุรกิจ

นายจอห์น สโลซาร์ ประธานบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค กล่าวว่า "เราคาดว่าการดำเนินธุรกิจของเราในครึ่งปีหลังจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆเช่นเดียวกับในครึ่งปีแรก ซึ่งเรายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ และคาดว่ารายได้ต่อหน่วยจากผู้โดยสารจะยังคงลดลง ปริมาณการรองรับผู้โดยสารที่มากเกินความต้องการและสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาส่งผลกระทบต่อความต้องการในการขนส่งสินค้า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในปีนี้แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา การขาดทุนจากสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าลดทอนประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง รวมถึงการงดเรียกเก็บค่าภาษีน้ำมัน ในสถานการณ์เช่นนี้ คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ปจะเร่งพัฒนาและมุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพในการทำงานรวมถึงควบคุมรายจ่ายอย่างรอบคอบ"

"เป้าหมายของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป คือสร้างการเติบโตในธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ เราจึงมุ่งมั่นให้บริการเที่ยวบินที่ทันสมัยและประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้เครือข่ายการบิน พร้อมมอบการบริการที่จะสร้างประสบการณ์การเดินทางอันยอดเยี่ยมให้แก่ผู้โดยสาร และเราจะพัฒนาความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับสายการบินแอร์ไชน่าอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสที่เราได้ฉลองครบรอบ 70 ปีของการดำเนินธุรกิจ ความมุ่งมั่นที่เรามีต่อประเทศฮ่องกงและชาวฮ่องกงยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และเราจะลงทุนระยะยาวเพื่อพัฒนารวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งให้ฮ่องกงกลายเป็นศูนย์กลางการทางการบินชั้นนำระดับโลกอย่างต่อเนื่อง"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest