จับตาสินค้าไทยถูกกระทบจากนโยบายทรัมป์

จันทร์ ๑๐ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๔:๔๒
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มอง หากสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้ากับไทยจริง สินค้าส่งออกที่ผู้ประกอบการไทยจะถูกกระทบโดยตรงจะเป็นสินค้าที่ไทยเกินดุลกับสหรัฐฯมาก และสหรัฐฯพึ่งพาการนำเข้าจากไทยในสัดส่วนที่สูงเทียบกับการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งได้แก่ สินค้าประเภทอัญมณี อาหารทะเลแปรรูป และยางธรรมชาติ

ประธานาธิบดีทรัมป์ได้อนุมัติคำสั่งตรวจสอบ 16 ประเทศที่สหรัฐฯมีการขาดดุลการค้าในระดับสูงเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขการขาดดุลการค้าดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใน 16 ประเทศด้วย โดยในปี 2016 สหรัฐฯมีการขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเกือบหนึ่งหมื่นเก้าพันล้านเหรียญดอลลาร์ ซึ่งหากผลการตรวจสอบดังกล่าวระบุว่า ไทยปฏิบัติการค้าอย่างไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ สหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ได้ และอาจเป็นประเด็นในการเจรจาการค้าเสรีไทยกับสหรัฐฯ

ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่าหากสหรัฐฯดำเนินการตอบโต้โดยใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากับไทย ซึ่งอาจมาในรูปแบบต่างๆ อาทิ การขึ้นภาษีนำเข้า การกำหนดโควต้านำเข้า มาตรการดังกล่าวน่าจะจำกัดอยู่ในสินค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลกับไทยมากและมีการนำเข้าจากไทยเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับการนำเข้าสินค้าชนิดนั้นทั้งหมด ซึ่งได้แก่ สินค้าประเภท อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สัตว์น้ำ ยางและล้อรถยนต์ เครื่องประดับและอัญมณี ผลไม้กระป๋อง อุปกรณ์ถ่ายภาพ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน และยางธรรมชาติ โดยกลุ่มสินค้าดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าส่งออกของไทยประมาณ 14,700 ล้านดอลลาร์ หรือ 6.8% ของส่งออกไทยทั้งหมด

เมื่อพิจารณาสินค้าที่เข้าข่ายได้รับผลกระทบ สามารถจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ผู้ผลิตเป็นบริษัทข้ามชาติในไทย และบริษัทสัญชาติไทย โดยในกลุ่มแรก ได้แก่ สินค้าประเภทอุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางและล้อรถยนต์ เครื่องประดับ อุปกรณ์ถ่ายภาพ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน และผลไม้กระป๋อง รวมมูลค่าที่สหรัฐฯ ขาดดุลกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์ หากสหรัฐฯใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากับไทย อาจส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ดังนั้น ในระยะสั้นไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ในระยะยาวหากมีการย้ายฐานการผลิต แรงงานและ supplier ไทยจะได้รับผลกระทบ ในขณะที่กลุ่มสินค้าที่ผู้ผลิตเป็นบริษัทไทยและเข้าข่ายได้รับผลกระทบ ได้แก่ อัญมณี อาหารทะเลแปรรูป และยางธรรมชาติ คิดเป็นการขาดดุลของสหรัฐฯ มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์ แม้จะมีมูลค่าการขาดดุลไม่มากแต่ก็เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นกลุ่มสินค้าที่ควรจับตาดู อย่างไรก็ตาม สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่สหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตได้เองและต้องอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก ดังนั้น โอกาสที่จะถูกตอบโต้โดยใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงอาจยังมีจำกัด

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่อาจถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้ากับไทยได้ เช่น 1) การถูกขึ้นบัญชีว่าเป็นผู้บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Manipulator) โดยเกณฑ์ที่สหรัฐฯ ระบุไว้มี 3 ข้อ ได้แก่ สัดส่วนเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่า 3% ของจีดีพี และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐฯมากกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญ รวมทั้งมีการเข้าแทรกแซงค่าเงินโดยซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิในรอบ 12 เดือนมากกว่า 2% ของจีดีพี ซึ่งข้อนี้ไทยเข้าข่ายทุกเงื่อนไขยกเว้นดุลบัญชีเดินสะพัดที่ไทยเกินดุลกับสหรัฐฯอยู่ 1.98 หมื่นล้านเหรียญ น้อยกว่าเกณฑ์ 2 หมื่นล้านเหรียญเพียงเล็กน้อย 2) การใช้แรงงานผิดกฎหมาย โดยจากรายงาน Trafficking in Person Report (TIP) ไทยยังอยู่ใน Tier 2 Watch List คือเป็นประเทศที่มีจำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์สูง และยังไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำของ TVPA (Trafficking Victims Protection Act of 2000) แต่แสดงถึงความพยายามที่จะแก้ไขปัญหา และ 3) ประเด็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจาก 2016 Special 301 Report ที่จัดทำโดยสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative: USTR) ประเทศไทยยังอยู่ใน Priority Watch List คือเป็นประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาก โดยหากมีการละเมิดมากขึ้นจะถูกจัดอยู่ใน Priority Foreign Country ซึ่งสหรัฐฯสามารถใช้มาตรการตอบโต้ได้

ในยุคที่ตลาดใหญ่สหรัฐฯมีมุมมองการค้าต่างจากในอดีตโดยมีนโยบายกีดกันการค้ามากขึ้น ภาครัฐจำเป็นควรเร่งเจรจา RCEP ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานการผลิตเพื่อให้เข้ากับมาตรฐานสากล ทั้งทางด้านแรงงาน และด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังเป็นจุดอ่อนของธุรกิจไทย เพื่อให้ธุรกิจมีภูมิคุ้มกันที่ดีและสามารถเติบโตได้ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการค้าโลกในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้