SWIFT เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ถกแนวทางบรรลุความสำเร็จในการรวมตัวทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน

ศุกร์ ๒๑ เมษายน ๒๐๑๗ ๐๙:๒๑
เอกสารการอภิปรายฉบับใหม่แจกแจงอุปสรรคต่อการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน และบทบาทสำคัญในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

SWIFT เผยแพร่ เอกสารการอภิปราย เกี่ยวกับการรวมตัวทางการเงินในภูมิภาคอาเซียนให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตเร็วที่สุดและมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในโลก โดยคาดการณ์ว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 5.2% ระหว่างปี 2560 ถึง 2563 ซึ่งปัจจุบันแนวทางการรวมตัวทางการเงินของภูมิภาคนี้กำลังอยู่ในจุดผกผันสำคัญ และกำลังก้าวสู่การเป็นตลาดที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว อันจำเป็นต้องมีการทบทวนถึงหลักการพื้นฐานในการรวมตัวทางการเงินระดับภูมิภาค

เอกสารการอภิปรายฉบับใหม่ นี้ได้แจกแจงปัญหาหลักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวทางการเงินระดับภูมิภาคของอาเซียน และบ่งชี้ว่าปัญหาเหล่านี้ยังรอการแก้ไขอย่างเหมาะสมตามแผนงาน นโยบายสาธารณะ และการประสานงานด้านกิจกรรมในภาคเอกชน

เอกสารดังกล่าวได้เปิดเผยถึงการพึ่งพาตลาดภายนอกภูมิภาคอาเซียนที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2559 การชำระเงินที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ภายในอาเซียนยังคงดำเนินการผ่านตลาดภายนอกอาเซียน และกว่า 85% เป็นการชำระเงินด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งธุรกรรมส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา หรือในปี 2558-2559 นั้น การชำระเงินที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ในประเทศเวียดนาม ซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับผลประโยชน์ต่างอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่กลับมีการทำธุรกรรมภายนอกประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้นถึง 203%

ในปี 2559 ช่องว่างระหว่างตลาด ASEAN-5 และ LCMVB ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการค้าขายระหว่างทั้งสองกลุ่มมีอัตราส่วนลดลงถึง 26% ต่อปี งานวิจัยดังกล่าวยังพบด้วยว่า ปริมาณการค้าขายระหว่างอาเซียนและตลาดภายนอกอาเซียน (เช่น จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง) ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยต้องแลกกับปริมาณการค้าขายภายในอาเซียนที่ลดลง อันแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพิจารณามาตรการเพื่อส่งเสริมการค้าภายในอาเซียน เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดภายในภูมิภาค ในฐานะตลาดที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้อาเซียนยังเผชิญกับอุปสรรคต่อการรวมตัวทางการเงิน ทั้งจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินทดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ภาคเอกชนที่ด้อยโอกาส และมีศักยภาพด้านดิจิทัลในระดับต่ำ ทั้งนี้สิงคโปร์ยังคงครองตำแหน่งสำคัญในฐานะศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคอาเซียน โดย 88% ของการค้าขายมีต้นสายหรือมีผู้รับผลประโยชน์อยู่ในประเทศดังกล่าว

เอกสารการอภิปรายฉบับนี้ยังแนะนำมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสำหรับประชาคมอาเซียนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานภาครัฐในระดับภูมิภาคเพื่อช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการรวมตัวทางการเงินระดับภูมิภาค การจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 20022 สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของอาเซียน และการกำหนดผู้นำระดับตลาดเพื่อรับผิดชอบต่อการริเริ่มต่างๆ ในภูมิภาค

Rahul Bhargava ผู้อำนวยการด้านการริเริ่มตลาดการชำระเงินประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ SWIFT กล่าวว่า "ธรรมาภิบาลระดับภูมิภาคและความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้มแข็ง ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2025 ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินระดับภูมิภาคของอาเซียน เอกสารการอภิปรายฉบับนี้เน้นย้ำถึงความแตกต่างอย่างมากที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในเรื่องความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทั่วตลาดอาเซียนและการปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานโลกอย่าง ISO 20022 การปรับโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินภายในประเทศให้ทันสมัยต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย AEC 2025 และเดินไปในทางเดียวกันกับแนวโน้มต่างๆ ในระดับโลก อาทิ การก้าวสู่มาตรฐาน ISO 20022 และการชำระเงินแบบเรียลไทม์

ดังนั้นความร่วมมือในระดับสูงของผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายในการรวมตัวทางการเงินของ AEC"

ข้อมูลเกี่ยวกับ SWIFT

SWIFT เป็นผู้ให้บริการรับและส่งข้อความทางการเงินที่ปลอดภัยระดับแนวหน้าของโลก ภายใต้รูปแบบองค์กรที่มีสมาชิกทั่วโลกเป็นเจ้าของร่วมกัน เรามอบแพลตฟอร์มการรับและส่งข้อความทางการเงิน การกำหนดมาตรฐานการสื่อสาร ตลอดจนผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้แก่สมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและบูรณาการ การระบุตัวตน การวิเคราะห์ และการยึดปฏิบัติตามระเบียบด้านอาชญากรรมทางการเงิน แพลตฟอร์มการรับและส่งข้อความทางการเงิน ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา ได้เชื่อมต่อกับธนาคาร สถาบันด้านหลักทรัพย์ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานภาคการเงิน และลูกค้าองค์กรกว่า 11,000 แห่ง ในมากกว่า 200 ประเทศและเขตปกครอง เพื่อให้สื่อสารข้อมูลได้อย่างปลอดภัย และเกิดการแลกเปลี่ยนข้อความทางการเงินที่ได้มาตรฐานและไว้วางใจได้ นอกจากนี้เรายังเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงินระหว่างประเทศและในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการค้าและการพาณิชย์ทั่วโลก เรามุ่งเดินหน้าสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินกิจการ และลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และขจัดความไร้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สำนักงานใหญ่ของ SWIFT ตั้งอยู่ที่ประเทศเบลเยียม โดยธรรมาภิบาลและการสอดส่องดูแลในระดับสากลของ SWIFT ได้ช่วยตอกย้ำถึงความเป็นกลางและเป็นสากลภายใต้โครงสร้างความร่วมมือระหว่างกัน ในขณะที่เครือข่ายสำนักงานทั่วโลกของ SWIFT ได้มอบความครอบคลุมศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญทุกแห่ง

กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.swift.com หรือติดตามข้อมูลผ่านทาง Twitter: @swiftcommunity และ LinkedIn: SWIFT

ข้อมูลติดต่อ:

อีเมล: [email protected]

โทร. +852 21078978

โลโก้ - http://photos.prnasia.com/prnh/20160127/8521600559Logo

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?