GRI Standards: จากการรายงานสู่เครื่องมือการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน

ศุกร์ ๓๐ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๓:๑๓
คุณอรุณี ตันติมังกร และ คุณศุภกร เอกชัยไพบูลย์

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment Social Governance: ESG) คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด เป้าหมาย พัฒนาการ และผลการดำเนินงานสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลแก่ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันว่า รายงานความยั่งยืน (sustainability report) ซึ่งนิยมเปิดเผยเป็นรายปี

รายงานความยั่งยืน เป็นช่องทางสำคัญในการดึงดูดผู้ลงทุนและเพิ่มความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้แนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment) แพร่หลายอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ว่าตลาดทุนชั้นนำ ทั่วโลกพิจารณาผลการดำเนินงานด้าน ESG จากการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนเพื่อไปจัดทำดัชนีความยั่งยืน (sustainability index) เช่น Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI (สหรัฐอเมริกา) SGX Sustainability Index (สิงคโปร์) ซึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายงานทางการเงินเพื่อไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน สอดคล้องกับผลสำรวจของนิตยสาร MIT Sloan Management Review ที่พบว่า 60% ของผู้ลงทุนและผู้จัดการกองทุนกว่า 3,000 คนทั่วโลก อ่านรายงานความยั่งยืนและเห็นว่าข้อมูลด้าน ESG จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในระยะยาว

นอกจากนี้ รายงานความยั่งยืนยังเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสทางธุรกิจจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ เช่น การสำรวจของ The Boston College Center for Corporate Citizenship and EY พบว่าการเปิดเผยข้อมูล ESG จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมงานกับองค์กร โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความรู้และสวัสดิการต่างๆ ที่องค์กรจัดสรรให้พนักงาน อีกทั้งเป็นช่องทางให้ลูกค้าและคู่ค้าของธุรกิจรับทราบผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันมีหน่วยงานระดับสากลได้ร่วมกันพัฒนากรอบการรายงานความยั่งยืนให้สามารถตอบสนองต่อความสนใจของ ผู้มีส่วนได้เสียให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น Global Reporting Initiative (GRI) และ International Integrated Reporting Council (IIRC)

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง GRI และ IIRC

GRI IIRC

กลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผู้ลงทุน

วิธีการ รายงานแยกผลประกอบการ (financial performance) กับผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (non-financial performance) คำนวณผลประกอบการ (financial performance) ร่วมกับผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (non-financial performance)

GRI จากกรอบการรายงานสู่มาตรฐานความยั่งยืนสากล

GRI ถือเป็นกรอบการรายงานความยั่งยืนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดขณะนี้ เนื่องจากมีตัวชี้วัดการรายงานที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และไม่ซับซ้อน เหมาะกับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกอุตสาหกรรม จากการสำรวจข้อมูลของ GRI

พบว่า 82% ขององค์กรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 250 แห่งรายงานความยั่งยืนตามกรอบ GRI และพบว่ามีองค์กร จำนวน 10,557 แห่งทั่วโลกรายงานตามกรอบ GRI โดยมีการเผยแพร่รายงานแล้วกว่า 27,000 ฉบับ สำหรับประเทศไทยมีองค์กร จำนวน 177 แห่งใช้ GRI เป็นกรอบการรายงานโดยเผยแพร่ไปแล้ว 342 ฉบับ

GRI เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งโดยสำานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และเครือข่าย Ceres โดยเผยแพร่แนวปฏิบัติการรายงานเป็นครั้งแรกในปี 2543 เรียกว่า ฉบับ G1 จากนั้นได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง มาถึงฉบับ G4 ในปัจจุบัน ที่มีการปรับปรุงให้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเน้นคุณภาพการรายงานมากกว่าปริมาณ การรายงานโดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นการวิเคราะห์และคัดเลือกประเด็นสำาคัญของธุรกิจ (Material Aspects) และประเด็นการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร (Stakeholder Analysis) อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงระดับของการรายงาน ที่แต่เดิมกำหนดเป็น Level A, B, C ทำให้เกิดความสับสนว่า การให้เกรดเป็นการบ่งชี้คุณภาพของการรายงาน ซึ่งที่จริงแล้ว เป็นเพียงมาตรวัดปริมาณหรือระดับของการเปิดเผยข้อมูลตามแนวทาง GRI ดังนั้น GRI G4 นี้จึงใช้การวัดตามหลักเกณฑ์ ที่เรียกว่า 'In Accordance' ในแบบหลัก (Core)2 หรือแบบรวม (Comprehensive)3 แทนวิธีการให้ Level ซึ่งจะทำาให้องค์กร โฟกัสให้ความสำคัญกับเนื้อหาการรายงานให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจและความสนใจของผู้มีส่วนได้เสียมากยิ่งขึ้น

จากความนิยมใน GRI ฉบับ G4 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในปี 2559 GRI ได้ออกมาตรฐานการรายงาน "GRI Standards" ทดแทนฉบับ G4 ที่จะสามารถใช้ได้ถึงเดือนมิถุนายน 2561 หลังจากนั้น GRI จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ฉบับ GRI Standards อย่างเป็นทางการซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป

พัฒนาการของ GRI

การเปลี่ยนแปลงจาก GRI ฉบับ G4 ไปสู่ GRI Standards นั้นยังคงมีเนื้อหา หลักการ และรูปแบบการรายงานที่เหมือนเดิม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

1. ข้อมูลพื้นฐานการรายงาน (Universal Standards) ได้แก่ ข้อมูลบริษัท การกำากับดูแลกิจการ กลยุทธ์องค์กร ความเสี่ยง ประเด็นสำคัญของธุรกิจ (Material Aspects) และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Analysis)

2. ข้อมูลเฉพาะที่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Topic-specific Standards)

สำาหรับส่วนที่แตกต่างไปจากเดิม คือ โครงสร้างการรายงานที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การรายงานโดยการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดที่สำคัญบางตัว นอกจากนี้โครงสร้างของ GRI Standards ได้ออกแบบให้รองรับ การเปลี่ยนตัวชี้วัดหรือข้อกำหนดภายในในอนาคตโดยไม่ต้องทบทวนใหม่ทั้งฉบับ ดังนั้น องค์กรใดที่เคยรายงานตาม กรอบ G4 มาแล้วจึงแทบไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการรายงาน แต่อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาและติดตามการอัพเดทข้อมูล จาก GRI อย่างสม่ำาเสมอ

GRI Standards ไม่ใช่แค่กรอบการรายงานอีกต่อไป

"คุณค่าของการทำรายงานความยั่งยืนอยู่ที่กระบวนการได้มาซึ่งข้อมูล ไม่ใช่การได้รูปเล่มรายงาน"

แม้ว่ารูปแบบและโครงสร้างการรายงานคล้ายกับ G4 แต่วัตถุประสงค์ของ GRI Standards ที่ไม่ได้เป็นเพียงการรายงานเพื่อสื่อสารเท่านั้น แต่ยังเป็น checklist ที่ช่วยให้องค์กรนำไปวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาว จากบทความ "Sustainability Reporting As a Tool for Better Risk Management" ในนิตยสาร MIT Sloan Management Review 2016 โดย Michael Meehan ระบุว่า การรายงานตาม GRI จะทำให้องค์กรเห็นช่องว่างระหว่างการดำเนินธุรกิจกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า เมื่อองค์กรเข้าใจแล้วว่าต้องดำเนินการอย่างไรที่จะปิดช่องว่างเหล่านั้นก็จะทำให้เกิด กระบวน "การพัฒนา" เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น GRI จึงเป็นเรื่องของการจัดการธุรกิจไม่ใช่แค่การทำความดี

กระบวนการจัดทำรายงานความยั่งยืน

โดยเฉพาะกระบวนการเก็บข้อมูล การเรียบเรียงและเชื่อมโยงข้อมูลกับกลยุทธ์องค์กร การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน 3 สิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของการจัดทำรายงาน โดยในแต่ละขั้นตอนจะทำให้องค์กรเห็นพัฒนาการและสามารถลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะดำเนินการก่อนหลังได้ อีกทั้งช่วยให้ฝ่ายบริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจที่อาจนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการแข่งขัน เพิ่มมูลค่า และคุณค่าให้แก่ธุรกิจอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การจัดทำรายงานความยั่งยืนสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบตามความพร้อมขององค์กร จะเป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีหรือแยกออกมารายงานต่างหากก็ดี หรือจะเผยแพร่ในรูปเล่มรายงาน ซีดี หรือข้อมูลบนเว็ปไซต์องค์กรก็ดี แต่ต้องคำนึงถึงผู้อ่าน และความเหมาะสมของช่องทางเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าถึงง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีการนำสื่อเทคโนโลยี สมัยใหม่มาช่วยนำเสนอข้อมูล ESG ให้มีความน่าสนใจดึงดูดผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ซึ่งอาจนำเสนอในรูปแบบ Infographic หรือ Motion Clip เพื่อเผยแพร่ไนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์และภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมุ่งส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนประจำปีตามแบบ 56-1 ของสำนักงาน ก.ล.ต. และกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล GRI อย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมและทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มต้นการจัดทำรายงานความยั่งยืน ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รายงานตามกรอบ GRI แล้ว 74 แห่ง และมีแนวโน้มที่จะมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI เพิ่มมากขึ้น สุดท้ายนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อว่าการจัดทำรายงานความยั่งยืนจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเป็นเข็มทิศในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน และยังเชื่อว่าคุณค่าของการทำรายงานความยั่งยืนอยู่ที่กระบวนการได้มาซึ่งข้อมูล ไม่ใช่การได้รูปเล่มรายงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?