ก.ล.ต. มุ่งพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย พร้อมยกระดับการคุ้มครองผู้ลงทุน

พุธ ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๓:๔๗
ก.ล.ต. ส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย โดยปรับเปลี่ยนเกณฑ์ให้เหมาะกับสภาวะตลาดและความต้องการของผู้ลงทุนในปัจจุบัน เพื่อให้ตราสารหนี้เป็นทางเลือกสำคัญของการระดมทุน ในขณะที่มีการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

นางจารุพรรณ อินทรรุ่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า "ตลาดตราสารหนี้ถือเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของเศรษฐกิจไทย ควบคู่กับตลาดตราสารทุนและระบบธนาคารพาณิชย์ ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้มีอัตราการเติบโตมากอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศมาอยู่ที่ร้อยละ 75 ในช่วงระยะ 20 ปีที่ผ่านมา โดย ณ 30 กันยายน 2560 มียอดมูลค่าคงค้างตราสารหนี้เอกชน 3.78 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นกู้ร้อยละ 92 และตั๋วเงินอีกร้อยละ 8"

"ก.ล.ต. ยึดหลักสร้างความสมดุลระหว่างการอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจใช้ตราสารหนี้เป็นทางเลือกในการระดมทุนได้โดยไม่มีภาระมากจนเกินไป คู่กับการมีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนในระดับที่เหมาะสม เพราะตราสารหนี้ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนได้ โดยความเข้มอ่อนของหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลการออกและเสนอขาย

ตราสารหนี้จะแยกตามประเภทผู้ลงทุน โดยหากเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไปในวงกว้าง จะมีเกณฑ์ที่เข้มมากกว่าการเสนอขายในวงจำกัด ที่มีทั้งการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ และการเสนอขายต่อผู้ลงทุนแบบจำกัดจำนวนผู้ลงทุนอยู่ในวงแคบ ซึ่งเกณฑ์จะมีความผ่อนปรนมากกว่า"

อย่างไรก็ดี สืบเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีกรณีบริษัทที่ออกตราสารหนี้บางแห่งใช้ช่องทางการระดมทุนแบบจำกัดจำนวนผู้ลงทุนไปอย่างผิดวัตถุประสงค์ คือ กระจายการขายช่องทางนี้ไปยังผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งไม่รู้จักคุ้นเคยกับบริษัท ประกอบกับผู้ลงทุนมีพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทน (search for yields) ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวกลางในการเสนอขายตราสารหนี้เหล่านี้ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนที่เพียงพอ จึงทำให้ผู้ลงทุนมองข้ามความเสี่ยงในการลงทุน ก.ล.ต. จึงอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนมากขึ้น อาทิ จำกัดการขายตั๋วเงิน ให้ใช้ระดมทุนเฉพาะวงจำกัดไม่ให้กระจายวงกว้าง มีการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้ลงทุนมากขึ้น เช่น การขายหุ้นกู้ระยะยาวให้ผู้ลงทุนรายใหญ่ ต้องมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และมีการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในชั้นหลักการไปแล้วในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา และกำลังจะเปิดรับฟังความคิดเห็นในชั้นการยกร่างประกาศ ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้" นางจารุพรรณ กล่าวเสริม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital