ฟิทช์คงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน ของบริษัท ไทยประกันชีวิตที่ 'BBB+’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๑๓
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล (Insurer Financial Strength: IFS) และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS) ของบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI ที่ 'BBB+' (หรืออยู่ในระดับ "ดี") และ 'AAA(tha)' ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

การคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากลและอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศของ TLI พิจารณาจากอัตราส่วนเงินกองทุนและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท เครือข่ายธุรกิจประกันชีวิตที่ดี และ ระดับความเสี่ยงด้านการลงทุนที่อยู่ในระดับจัดการได้ อย่างไรก็ตามอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ TLI ถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ 'BBB+' และต่ำกว่าอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากลของบริษัทในกรณีที่ไม่ถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศที่ 'A-' อยู่ 1 อันดับ ทั้งนี้ อันดับเครดิตของ TLI จะไม่สามารถอยู่ในระดับที่สูงกว่าอันดับเครดิตของประเทศไทยได้เนื่องจากบริษัทถือครองตราสารหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจไทยในระดับสูง (52% ของมูลค่าตราสารหนี้รวมที่บริษัทถือครอง) และการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทยังมีจำกัด

ฟิทช์คาดว่า TLI จะยังคงดำเนินนโยบายการบริหารฐานะเงินกองทุนที่ระมัดระวัง อัตราส่วนเงินกองทุนของบริษัทยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมายตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 140% อยู่มาก ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติมสำหรับความเสี่ยงในด้านต่างๆ ในระดับที่สูงขึ้นตามเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที่ 2 ของประเทศไทย แม้ว่าอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมายของบริษัทจะลดลงเป็น 314% ณ สิ้นครึ่งปีแรกของปี 2560 จาก 376% ณ สิ้นปี 2558 จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนและหุ้นกู้เอกชนที่เพิ่มขึ้น ระดับความแข็งแกร่งในด้านเงินกองทุนของบริษัทตามการประมาณการของ Prism Factor-Based Capital Model (FBM) ลดระดับลงมาอยู่ในระดับ "แข็งแกร่ง" ('Strong') จากระดับ "แข็งแกร่งมาก" ('Very Strong') โดยพิจารณาจากข้อมูลผลการดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2560 เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนและหุ้นกู้เอกชนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามระดับความแข็งแกร่งในด้านเงินกองทุนดังกล่าวยังคงสอดคล้องกับอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทในปัจจุบัน

ฟิทช์เชื่อว่าเครือข่ายธุรกิจของ TLI จะแข็งแรงขึ้นจากทั้งเครือข่ายตัวแทนขายที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถที่สูงขึ้น รวมทั้งการเติบโตจากช่องทางการขายผ่านเครือข่ายธนาคาร (Bancassurance) และช่องทางการขายอื่นที่ไม่ใช่ช่องทางเครือข่ายตัวแทนขาย (Non-Agency) TLI สามารถรักษาตำแหน่งการเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทยในด้านเบี้ยประกันภัยรับรวม โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 13% ณ สิ้นครึ่งปีแรกของปี 2560 ทั้งนี้ TLI ยังได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคนิคและการดำเนินงานจากผู้ถือหุ้นจากประเทศญี่ปุ่นคือ Meiji Yasuda Life Insurance Company (A/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ)

ฟิทช์คาดว่าผู้บริหารของ TLI จะติดตามดูแลกลยุทธ์การลงทุนในตราสารทุนรวมถึงระดับความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนส่วนใหญ่ของบริษัทโดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นเงินลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ประมาณ 79% ของเงินลงทุนรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2560 เงินลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้นเป็น 11% ของเงินลงทุนรวม จาก 7% ในปี 2558 เพื่อชดเชยผลตอบแทนจากการลงทุนที่ลดลงในภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ

ฟิทช์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทที่มีระยะเวลายาวจะทำให้บริษัทไม่สามารถลดความแตกต่างด้านระยะเวลาระหว่างสินทรัพย์และหนี้สิน (Duration Gap) ให้ต่ำลงได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม TLI ยังคงดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset-Liability Management) ที่เหมาะสมซึ่งสะท้อนได้จากความแตกต่างด้านระยะเวลาระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินที่ปรับตัวลดลงบ้างของบริษัท ทั้งนี้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทยังคงทรงตัวโดยอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยและอัตราส่วนกำไรก่อนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์เฉลี่ยสามปี (2558 – 2560) เท่ากับ 13.1% และ 2.3% ฟิทช์คาดว่าประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและรายได้ค่าเบี้ยประกันรับเพิ่มเติมจากช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ช่องทางเครือข่ายตัวแทนขายจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในระยะยาวได้

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินได้แก่

- การปรับตัวลดลงของสัดส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมาย (RBC) มาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 250% และการปรับตัวแย่ลงของระดับเงินกองทุนของบริษัทซึ่งวัดจากแบบจำลอง Prism FBM เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

- การปรับตัวลดลงของความสามารถในการทำกำไรซึ่งสะท้อนจากอัตราส่วนกำไรก่อนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์ที่ต่ำกว่า 1% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

- การปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-Term Local-Currency IDR) ของประเทศไทยที่ 'BBB+'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ TLI ไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากลของบริษัทอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ 'BBB+' และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศที่ 'AAA(tha)' เป็นอันดับเครดิตที่สูงที่สุดแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ