อมุนดิชี้แนะแนวทางการลงทุน ปี 2561

ศุกร์ ๑๙ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๕
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน อมุนดิ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินอันดับ 1 ในยุโรป และเป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของโลก

นายอิรีค มิช้อท (Mr. Eric Mijot) หัวหน้าฝ่ายวิจัย กลยุทธ์หุ้น อมุนดิ ฝรั่งเศส กล่าวว่าในปี 2561 อมุนดิแนะแนวทางการลงทุน 4 ธีม คือ

- ธีมการลงทุนเพื่อตอบรับเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น (Upturn in inflation) ควรเพิ่มน้ำหนักในบริษัทที่มีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าได้ดี เช่น บริษัทที่ขายสินค้าฟุ่มเฟือย (luxury brand) หรือบริษัทด้านการเงินที่จะได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยที่

- ธีมการลงทุนเพื่อตอบรับการลงทุนที่สูงขึ้น แม้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจโลกจะเติบโตและผลการดำเนินงานของบริษัทจะดีแม้ไม่แข็งแกร่งเท่าปีที่แล้ว นักลงทุนควรคงการลงทุนในหุ้นที่เติบโตแปรผันตามเศรษฐกิจ (cyclical ) ไว้บ้าง ไม่ควรเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นเชิงรับ (defensive stock) เร็วเกินไป

- มองหาหุ้นที่มีคุณภาพ (Look for quality) หุ้นเติบโตทั่วโลกราคาแพงขึ้นอันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และสภาพคล่องล้น ดังนั้นนักลงทุนควรมองหาบริษัทที่มีคุณภาพที่มีการใช้เงินกู้ในระดับต่ำและราคายังไม่แพง

- ระมัดระวังในเรื่องสภาพคล่อง แม้ว่าผลประกอบการสำหรับหุ้นขนาดเล็กในยุโรปและญี่ปุ่นจะแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา แต่ในกรณีของบริษัทขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกา การปฏิรูปภาษีอาจจะไม่ได้ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กที่พึ่งพิงการบริโภคในประเทศเติบโตได้เหมือนเดิม เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดอาจลดลงอีกทำให้บริษัทเหล่านี้ได้ไม่ได้อานิสงค์จากดอกเบี้ยต่ำอีกต่อไป

โอกาสการลงทุน

ในปี 2561 นี้ ภูมิภาคที่น่าสนใจได้แก่ประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย หลัก ๆ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

3 เหตุผลที่ทำให้เรามองว่า 3 ประเทศนี้น่าสนใจคือ 1) คุณภาพที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในที่เดียว แต่กระจายทั่วประเทศ 2) การหลอมรวมกันของปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และสภาพคล่อง และในด้านปัจจัยพื้นฐานมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เทียบกับประเทศเกิดใหม่อื่น ๆ ในโลก ส่วนจีน หลังจากที่ตลาดหุ้นร้อนแรงในปีที่แล้ว ราคาจึงค่อนข้างแพง อย่างไรก็ตามกระบวนการปฏิรูปที่ยังคงต่อเนื่องจะทำให้ภาพของตลาดปรับดีขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนในหลาย ประเทศในเอเชียค่อนข้างแข็งเกินความจริง

เรายังคงเชื่อมั่นในประเทศ ยุโรป ตะวันออกกลางและ อัฟริกา (EFEA) โดยเฉพาะ ตุรกี และอัฟริกาใต้ ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นยังแข็งแกร่งและการเติบโตยังคงต่อเนื่อง ประเทศอัฟริกาใต้มีผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งและราคายังไม่แพง การเติบโตแม้จะยังอ่อนแอแต่ปรับตัวดีขึ้น และนโยบายการคลังที่ไม่แข็งแรงนัก ในขณะที่ตุรกีราคายังไม่แพงและมีอัตราการทำกำไรที่สูงและอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจตามวัฏจักรในปีนี้จะทำให้มีการขยายตัวทางด้านการคลังและเพิ่มการอัดฉีดด้านการเงิน ซึ่งการอัตราเงินเฟ้อจึงยากที่จะเพิ่มเป็นตามที่ธนาคารกลางตั้งเป้าไว้

ส่วนประเทศในลาตินอเมริกา เราค่อนข้างระมัดระวัง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นแต่ตลาดหุ้นที่ร้อนแรงทำให้ราคาหุ้นค่อนข้างแพง ยกเว้น Mexico ถ้ามีการปรับตัวของตลาดอาจจะทำให้น่าสนใจขึ้น

นายโฮว์ ชาง วาน (Mr. Howe Chung WAN) หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้เอเชีย อมุนดิ สิงคโปร์ กล่าวว่าตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีจากทั้งภาพรวมที่แข็งแกร่งและผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัททำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเป็นบวก และมีอัตรากำไรที่ดูดี อัตราเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ยังอยู่ในภาวะเหมาะสม คือไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป ในช่วงที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้เกิดใหม่มีการขยายตัวมากขึ้น มีผู้ออกตราสารมากขึ้น และในขณะเดียวกันมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ตลาดน่าสนใจลงทุนมากขึ้นเนื่องจากผู้ลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นได้จากการมีตราสารให้เลือกลงทุน (Security Selection) มากขึ้น

ตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปีนี้เช่นกันตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่น่าจะให้ผลตอบแทนได้ดีอีก ในปีนี้ดูเหมือนนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เพราะหากการปฏิรูปมาตรการภาษีของทรัมป์ได้ผล ธนาคารกลางของสหรัฐ หรือ Fed อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น นักลงทุนจึงมองหาการลงทุนระยะสั้นเพราะการถือบอนด์ตัวสั้นจะปลอดภัยในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เราให้สัมภาษณ์นี้เรายังเห็นการไหลเข้าของเงินทุนมาในตลาดตราสารหนี้เกิดใหม่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ควรจับตามองคือ ความตึงเครียดในด้านการเมืองอาจจะมีผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้ และราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะมีผลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย เราคิดว่าการคัดเลือกตราสารที่ลงทุนจะมีความสำคัญมากขึ้น การลงทุนโดยมีการวิเคราะห์ผู้ออกตราสารอย่างมีความเข้าใจถ่องแท้ถึงสถานะของผู้ออกจะช่วยลดความเสี่ยงได้

การลงทุนในตราสารหนี้เกิดใหม่ในสกุลเงินหลัก (Hard Currency) น่าจะให้ผลตอบแทนประมาณของเลขตัวเดียวช่วงกลาง ๆ และหากลงทุนตราสารหนี้เกิดใหม่ในสกุลเงินท้องถิ่นน่าจะให้ผลตอบแทนประมาณเลขตัวเดียวช่วงปลาย ๆ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024