กสิกรไทย ประกาศ “ฟรีค่าธรรมเนียม” ดึงลูกค้าใช้ช่องทางดิจิทัล คาดปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านรายการ

อังคาร ๒๗ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๐
ธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำทางด้านโมบาย แบงกิ้ง และอินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง เปิดแนวรุกหนุนลดการใช้เงินสด ประกาศ "ฟรีค่าธรรมเนียม" ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการที่ใช้บริการช่องทางดิจิทัล 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber SME ฟรีค่าธรรมเนียมบริการยอดนิยมที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ โอนข้ามเขต/โอนต่างธนาคารแบบทันที จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ เติมเงิน ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมจนถึงสิ้นปีนี้ ตั้งเป้ามีปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านรายการภายในกลางปีนี้

นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการ "National e-Payment" พร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ส่งผลให้มีการทำธุรกรรมโดยผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น เพราะเป็นช่องทางที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้จ่ายด้วยคิวอาร์ โค้ด เห็นได้จากตัวเลขของธนาคารกสิกรไทยที่มีจำนวนร้านค้ารับคิวอาร์ โค้ด มากกว่า 1 ล้านร้านค้า และมีปริมาณธุรกรรมในไตรมาสแรกของปีนี้กว่า 1,500 ล้านบาท

ในไตรมาสนี้ ธนาคารจึงได้ประกาศ "ฟรีค่าธรรมเนียม" สำหรับบริการ "โอน เติม จ่าย" ซึ่งเป็นบริการที่ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการบริการนิยมใช้ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber SME ค่าธรรมเนียมที่ถูกลง จำนวนฐานลูกค้าที่มีกว่า 14.5 ล้านราย แนวโน้มปริมาณธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะกระตุ้นให้มีปริมาณการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารมีต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดที่ลดลงในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนให้ระบบเศรษฐกิจ ทั้งระดับส่วนรวม ร้านค้า และลูกค้าที่ใช้บริการ โดยตั้งเป้าว่า การลดค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะทำให้มีปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านรายการ ภายในกลางปีนี้

ช่องทางโมบายแบงกิ้งและอินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง จำนวนผู้ใช้งาน มูลค่าธุรกรรมการเงิน / ปี

ธนาคารกสิกรไทย (ณ 25 มี.ค. 2561) (ล้านบาท)

K PLUS 8.1 ล้านราย 6.3 ล้านล้านบาทต่อปี

K-Cyber Banking 1.7 ล้านราย 1.7 ล้านล้านบาทต่อปี

K PLUS SME 4.4 แสนราย 0.2 ล้านล้านบาทต่อปี

K Cyber SME 43,000 ราย 0.4 ล้านล้านบาทต่อปี

ธนาคารได้วางกลยุทธ์การพัฒนาช่องทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินทั้งในด้านธุรกิจและชีวิตส่วนตัวของลูกค้า ด้วยการใช้นวัตกรรม "เกด" (KADE: K PLUS AI-Driven Experience) ประสบการณ์ใหม่ของบริการทางการเงินแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดจากการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปสู่โลกของบริการทางการเงินอันชาญฉลาดเป็นครั้งแรกของสถาบันการเงินในประเทศไทย โดย "เกด" เรียนรู้รูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของลูกค้า ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ "ถูกที่ ถูกเวลา" เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการ และเป็นการสร้างวงจรทางการเงินเต็มรูปแบบและครบวงจร และนำประเทศไทยไปสู่สังคมไร้เงินสด

ค่าธรรมเนียมผ่าน เดิม ใหม่

ช่องทางดิจิทัล

โอนข้ามเขต ฟรี 5 ครั้งต่อเดือน ฟรี ทุกรายการ / ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

ครั้งต่อไปรายการละ 10 บาท ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า

โอนต่างธนาคารแบบทันที รายการละ 25-35 บาท

จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ และเติมเงินทุกประเภท รายการละ 5-20 บาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital