KWM ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. ขาย IPO 120 ล้านหุ้น ตั้งบล. เออีซี เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน จ่อเทรดเอ็มเอไอภายในปีนี้

พฤหัส ๑๐ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๐๖
บมจ.เค.ดับบลิว.เม็ททัล เวิร์ค หรือ KWM ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเกษตร ชั้นนำของประเทศ ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น IPO 120 ล้านหุ้น ระดมทุนใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ชำระคืนเงินกู้ยืม โดยมี บล.เออีซี เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการเสนอขายหลักทรัพย์

นายเอกพันธ์ วนโกสุม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เค.ดับบลิว.เม็ททัล เวิร์ค จำกัด (มหาชน) (KWM) กล่าวว่า บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 120 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 28.57 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลัง IPO โดยแบ่งออกเป็นเสนอขายให้ประชาชนไม่น้อยกว่า 115 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 27.38 และเสนอขายให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทไม่เกิน 5 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.19 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด โดยแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ซึ่งภายหลังการเสนอขาย IPO ครั้งนี้ บริษัทจะมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวนไม่เกิน 210 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 420 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในปีนี้

สำหรับแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ครั้งนี้ เงินที่ได้จากการระดมทุนนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และชำระคืนเงินกู้ยืมให้สถาบันการเงิน เพิ่มโอกาสในการเติบโตให้บริษัทอีกทั้ง บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 45 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่น

ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิต และจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเกษตร พร้อมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาคุณภาพของอุปกรณ์การเกษตรด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทเป็นผู้ผลิตใบผาล ใบจักร ใบคัดท้าย โครงผาล ใบดันดิน ใบเกลียวลำเลียง ทั้งนี้บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า "Pegasus" ซึ่งเป็นตราสินค้าของบริษัทเอง นอกจากนี้ยังให้บริการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับตราสินค้าอื่นๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด อาทิ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตนั้นต้องได้มาตรฐานการผลิตตามที่บริษัทคูโบต้าได้กำหนดไว้อย่างเข้มงวดภายใต้ตราสินค้า "ตราช้าง" สำหรับผลิตภัณฑ์ใบเกลียวลำเลียงนั้นสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรที่มีการขนส่งทางท่อที่ใช้กันในหลายธุรกิจ เช่น ท่อลำเลียงเมล็ดพืชผลทางการเกษตรในไซโล รถเกี่ยวนวดข้าว ท่อลำเลียงคอนกรีตในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ มีบริษัท อัดเลอร์เทค จำกัด เป็นบริษัทย่อยถือหุ้นร้อยละ 99.80 เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มความหลากหลายของตราสินค้าให้ผลิตภัณฑ์หลัก (Fighting Brand) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้แก่บริษัท ทั้งนี้อัดเลอร์เทค ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตรประเภท ใบผาล ภายใต้ตรา "ม้าบิน" อีกทั้งมีการจำหน่ายใบเกลียวและใบดันดิน อีกด้วย

โดยผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ใบผาล ใบจักร ใบคัดท้าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบและยึดติดกับโครงผาลซึ่งจะนำไปต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์ เพื่อใช้ในขั้นตอนการเตรียมดินก่อนทำการเพาะปลูก , 2.โครงผาล เป็นอุปกรณ์สำคัญในขั้นตอนการเตรียมดิน ซึ่งโดยทั่วไปจะออกแบบให้มีลักษณะเป็นโครงเหล็กซึ่งยึดกับชุดของใบผาลเพื่อให้รองรับกับขนาดของรถแทรกเตอร์ หรือสภาพของพื้นที่ที่จะทำการ, 3.ใบเกลียวลำเลียง เป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์ลำเลียงขนส่งต่างๆ เช่น ข้าวเปลือก เม็ดพลาสติก ผงแป้ง เศษวัสดุ มีให้เลือกใช้ทั้งแบบเกลียวขวาและเกลียวซ้ายตามความเหมาะสมของงาน และ 4.ใบดันดิน เป็นอุปกรณ์ยึดติดกับรถแทรกเตอร์ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อดันเกลี่ยหน้าดินให้เรียบ

"ด้วยประสบการณ์ในการผลิตสินค้าและมีเทคโนโลยีที่เป็นของตนเอง ทำให้สินค้าที่บริษัทผลิตมีคุณภาพในระดับสูง และได้รับความไว้วางใจแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง "คูโบต้า" ให้บริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้าตามความต้องการ การันตีมาตรฐานจากการรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2008 จากสถาบัน INTERTEK ว่าด้วยเรื่องการรับรองระบบงาน UKAS เพื่อพัฒนาระบบงานบริหารและคุณภาพของสินค้า และบริการให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองตามการรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2015 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 แล้ว" นายเอกพันธ์ กล่าว

สำหรับรายได้รวมในปี 2558-2560 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ 263.23 ล้านบาท 275.59 ล้านบาท และ 260.48 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 27.80 ล้านบาท 35.78 ล้านบาท และ 20.83 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 22.50 ร้อยละ 25.53 และร้อยละ 23.51 ตามลำดับ ส่วนอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 10.65 ร้อยละ 13.04 และร้อยละ 8.12 ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4