ก.ล.ต. เผยแนวทางการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล

ศุกร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๒:๔๙
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ได้ให้ความเห็นชอบแนวทางกำกับดูแลการออกไอซีโอ และการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล โดยคาดว่าจะออกประกาศที่เกี่ยวข้องได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

แนวทางที่เสนอได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนในหลายช่องทาง ทั้งทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง (focus group)

หลักเกณฑ์ที่จะออกมานี้จะช่วยให้มีความชัดเจนสำหรับผู้ต้องการออกไอซีโอ ตัวกลางที่เกี่ยวข้อง และผู้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และช่วยลดโอกาสที่ประชาชนจะถูกหลอกลวงหรือถูกเอาเปรียบ รวมทั้งช่วยให้ภาครัฐมีเครื่องมือในการติดตามและป้องปรามการฟอกเงิน

ผู้ที่จะออกไอซีโอ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยที่มีแผนธุรกิจชัดเจน มีงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบ ข้อกำหนดสิทธิของผู้ถือโทเคนดิจิทัลต้องชัดเจน มีการเปิดเผยชุดรหัสทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในกระบวนการไอซีโอ (ซอร์สโค้ด) มีหนังสือชี้ชวน และมีการรายงานความคืบหน้าของโครงการและการใช้เงินเป็นระยะ ทั้งนี้ การเสนอขายต้องทำผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ไอซีโอพอร์ทัล) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งไอซีโอพอร์ทัลจะทำหน้าที่คัดกรองโครงการและทำความรู้จักตัวตนและสถานะผู้ลงทุน ตลอดจนประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน

การออกไอซีโอแต่ละครั้งสามารถขายให้ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กิจการร่วมลงทุนได้ไม่จำกัดและขายผู้ลงทุนรายย่อยได้รายละไม่เกิน 3 แสนบาท นอกจากนี้ วงเงินรวมที่ขายผู้ลงทุนรายย่อย ต้องไม่เกิน 4 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด

ศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ สินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขาย ให้เป็นไปตามข้อบังคับของศูนย์ซื้อขายซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลใด ๆ ในศูนย์ซื้อขายต้องเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินบาทหรือคริปโทเคอร์เรนซีในรายชื่อที่ประกาศกำหนดเท่านั้น

อนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ให้ความเห็นชอบในการออกประกาศยกเว้นโทเคนดิจิทัลที่กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง (utility token) ซึ่งผู้ถือสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที ออกจากการกำกับดูแลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่เทียบกับเงินบาท หรือให้บริการแลกเปลี่ยนระหว่าง utility token ด้วยกันที่ให้สิทธิประโยชน์เฉพาะในลักษณะเดียวกัน เช่น ระหว่างเหรียญในเกมส์หรือ แต้มสะสมคะแนนแลกสินค้าหรือบริการ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. นี้

นางทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า "หลักเกณฑ์ที่ออกมานี้ ได้พยายามหาจุดสมดุลระหว่างการสนับสนุนนวัตกรรม และการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยได้นำความเห็นจากทุกฝ่ายมาพิจารณา เกณฑ์ที่ออกมา อาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้จากของจริงไปด้วยกันระหว่างทางการและภาคธุรกิจ"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้