ธนาคารจีนพร้อมร่วมวง SWIFT gpi เพื่อเร่งขยายความครอบคลุมทั่วโลก

ศุกร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๔:๕๓
SWIFT เปิดเผยรายชื่อธนาคารจีน 10 แห่ง ที่เปิดให้บริการตามแผนริเริ่มบริการนวัตกรรมการชำระเงินระดับโลก (gpi) นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา

โลโก้ - http://photos.prnasia.com/prnh/20160127/8521600559Logo

ธนาคารต่างๆ ประกอบด้วย: ธนาคารแห่งประเทศจีน, ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งประเทศจีน, ธนาคารแห่งการสื่อสาร, ธนาคารหมินเซิง, ธนาคารกวงฟา, ธนาคารเพื่อการก่อสร้างจีน, ธนาคารแห่งเจียงซู, ธนาคารเพื่อการพัฒนาเซี่ยงไฮ้ผู่ตง, ไชน่าซิติกแบงก์ และธนาคารเจ้อชางจีน นอกจากนี้ยังมีธนาคารจีนอีกกว่า 17 แห่งที่ยืนยันการเข้าร่วมกับ SWIFT gpi และกำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมพร้อมเพื่อเปิดให้บริการดังกล่าว โดยธุรกรรมของธนาคารทั้งหมดนี้คิดเป็นราว 86% ของธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยธนาคารจีนในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันธนาคารต่างชาติจำนวนหนึ่งในจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้เข้าร่วมกับเครือข่าย SWIFT gpi เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"ธนาคารจีน 27 แห่งได้ลงนามและยืนยันเจตนาในการเข้าร่วมกับ SWIFT gpi อันเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การเชื่อมต่อที่ราบรื่นต่อเนื่องกัน ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และการที่ SWIFT และแพลตฟอร์ม gpi ได้รับความร่วมมือและการยอมรับในฐานะมาตรฐานสำคัญจากสถาบันและองค์กรต่างๆ ล้วนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเกื้อหนุนธุรกิจระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะเดียวกันยังได้กำหนดบรรทัดฐานใหม่แห่งการชำระเงินระหว่างประเทศทั่วโลกด้วย" Alain Raes ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SWIFT ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกล่าว

SWIFT gpi มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (BRI - Belt and Road Initiative) ของจีน เพราะออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์แก่ลูกค้าของธนาคารตัวแทนทั้งด้านความเร็ว ความโปร่งใส และความชัดเจนของการชำระเงินระหว่างประเทศ บริการดังกล่าวช่วยให้ธนาคารจีนสามารถจัดการธุรกรรมได้เร็วขึ้น และยกระดับประสบการณ์ด้านการธนาคารโดยรวมด้วยการหักชำระบัญชีที่คาดการณ์เวลาได้ มีค่าธรรมเนียมธนาคารและอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใส และเห็นสถานะของธุรกรรมอย่างชัดเจน อันส่งผลให้มีวงรอบด้านอุปทานที่สั้นลงและสามารถจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าปลายทางได้เร็วขึ้น

โครงการ BRI ของจีนครอบคลุมกว่า 60 ประเทศและคิดเป็นหนึ่งในสามของการค้าทั่วโลก มาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างในจุดต่างๆ ทั่ว BRI นำมาซึ่งความท้าทายหลายประการ เช่น ขาดเฟรมเวิร์กด้านการสื่อสารที่เป็นหนึ่งเดียวและมีปัญหาด้านการตรวจสอบตามระเบียบข้อกำหนด ดังนั้นการสร้างความแข็งแกร่งด้านการเชื่อมต่อทางการเงินตามเส้นทางของโครงการ BRI จึงมีความสำคัญและเป็นหลักประกันความสำเร็จในการขับเคลื่อนทางการค้าและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย

"อุตสาหกรรมภาคการเงินมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้โครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (BRI) สามารถบรรลุผลได้อย่างสูงสุด ทั้งในด้านการสร้างและดูแลโครงสร้างและกระบวนการอันมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการไหลของกระแสเงินทุน ไปจนถึงการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานร่วม และการลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังนั้น SWIFT จึงมุ่งมั่นในการร่วมมือกับธนาคารจีนหลายแห่งเพื่อช่วยเสริมสร้างและวางแผนอนาคตแก่ธนาคารตัวแทนทั้งในจีนและในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก" คุณ Raes กล่าว

แม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมสกุลเงินหยวนในระดับสากล แต่จีนยังถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2560 การชำระเงินระหว่างสหรัฐฯ และจีนกว่า 98% ดำเนินการในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และมีการใช้สกุลเงินหยวนในการชำระเงินไปยังจีนราว 2% ในตลาดต่างๆ ส่วนใหญ่ เว้นก็แต่เพียงไต้หวันที่แตกต่างออกไป ดังนั้นการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นและการครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการที่มากขึ้นของสกุลเงินหยวนจึงช่วยให้จีนสามารถบรรลุความพยายามในการยกระดับสกุลเงินหยวนสู่สากลให้ได้ผลสำเร็จยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2560 ปัจจุบัน gpi ครอบคลุมธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศบน SWIFT กว่า 25% โดยมีธนาคารมากกว่า 165 แห่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งกว่า 80% ของธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศบน SWIFT อันรวมถึงธนาคารชั้นนำของโลก 49 แห่งจาก 50 แห่ง ได้ลงนามเข้าร่วมใช้บริการดังกล่าว ปัจจุบันมีการประมวลผลการชำระเงินผ่าน gpi ไปแล้วกว่า 50 ล้านรายการ และแต่ละวันมีธุรกรรมการชำระเงินหลายแสนรายการระหว่างประเทศต่างๆ กว่า 350 ประเทศ ครอบคลุมมากกว่า 100 สกุลเงิน ซึ่งรวมถึงช่องทางการชำระเงินหลักระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่ง gpi มีอัตราส่วนในการชำระเงินสูงกว่า 40% แล้ว

ในเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ทาง SWIFT ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของ gpi Tracker ให้ครอบคลุมคำสั่งชำระเงินที่ส่งข้ามเครือข่าย ทำให้ธนาคารซึ่งรองรับ gpi สามารถติดตามคำสั่งชำระเงินผ่าน SWIFT ได้ตลอดเวลา และเห็นรายละเอียดการชำระเงินอย่างครบถ้วน ผลลัพธ์โดยตรงจากความเร็วและความโปร่งใสของ gpi ทำให้ธนาคารที่ใช้บริการดังกล่าวพบกับอุปสรรคทางธุรกรรมน้อยลงอย่างมาก โดยกว่า 50% นั้นเป็นต้นทุนจากการติดตามสอบถามเกี่ยวกับรายการธุรกรรม

โดยแผนงานขั้นต่อไปของ SWIFT ก็คือ การสร้างกลุ่มความร่วมมือของธนาคารต่างๆ ในจีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และไทย เพื่อหาแนวทางเร่งดำเนินการด้านการชำระเงินผ่าน gpi ภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น กลุ่มความร่วมมือดังกล่าวจะกำหนดกฎเกณฑ์ทางธุรกิจเพื่อหาทางขจัดอุปสรรคในกระบวนการธุรกิจภายในประเทศเพื่อให้เกิดการชำระเงินที่รวดเร็วขึ้น (หรือเข้าใกล้ระดับเรียลไทม์ยิ่งขึ้น) ขณะเดียวกันก็จะหาแนวทางทำให้ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ภายในประเทศสามารถนำพาข้อมูล gpi และข้อมูลอ้างอิงเฉพาะสำหรับธุรกรรมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (UETRs) เพื่อให้บริการ gpi สามารถรองรับสภาพแวดล้อมระบบชำระเงินภายในประเทศได้

-####-

หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ:

บทสัมภาษณ์จากธนาคารที่รองรับ SWIFT gpi ในจีนแผ่นดินใหญ่สำหรับใช้ประกอบข่าว:

"SWIFT gpi เป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการชำระเงินระดับสากล ธนาคารแห่งประเทศจีนซึ่งถือเป็นหนึ่งในธนาคารที่ร่วมบุกเบิกในความร่วมมือครั้งนี้ ยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นธนาคารจีนหลายแห่งเข้าร่วมในบริการนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราขอใช้โอกาสนี้ในการยกระดับความร่วมมือด้าน gpi กับธนาคารจีนแห่งอื่นๆ เพื่อร่วมกันให้บริการธุรกิจและองค์กรของจีนในการ "ก้าวสู่ตลาดโลก" และส่งเสริมโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ด้วยการยกระดับความสามารถด้านบริการระหว่างประเทศ"

คุณ Sun Shangbin รองผู้จัดการทั่วไป แผนกหักชำระบัญชี ธนาคารแห่งประเทศจีน กล่าว

"SWIFT gpi มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของการชำระเงินระหว่างประเทศ เพราะช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการชำระเงินระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น ให้ประโยชน์แก่ธนาคารอย่างชัดเจนและช่วยยกระดับประสบการณ์แก่ลูกค้าของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียที่การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศยังคงเติบโตอย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ICBC ในฐานะผู้นำในตลาดชำระเงินและมีเครือข่ายบริการที่ขยายตัวครอบคลุมกว่า 45 ประเทศและภูมิภาค เราเชื่ออย่างยิ่งว่าบริการนี้ช่วยมอบประโยชน์แก่ลูกค้าธนาคารตัวแทนของเรา โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการชำระและการรับเงิน โดย ICBC จะยังคงทำงานร่วมกับ SWIFT เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราต่อไป"

คุณ Peng Hua รองผู้จัดการทั่วไป แผนกการบริหารการปฏิบัติงาน ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งประเทศจีน กล่าว

"เราเชื่อในแนวคิด 'จากลูกค้า เพื่อลูกค้า' ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นยกระดับประสบการณ์ด้านการชำระเงินระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการ 'การชำระเงินด่วนระดับโลกของหมินเซิง' เราได้ติดตามความสามารถใหม่ๆ ของ gpi ในเฟสที่ 2 อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนำเทคโลโยนีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการจ่ายชำระเงิน เพื่อยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์อันโดดเด่นของธนาคารหมินเซิงในภาคการเงินระหว่างประเทศ"

ดร. Xu Jie รองผู้จัดการทั่วไป แผนกธุรกรรมทางการเงิน ธนาคารหมินเซิง กล่าว

"สาขาของธนาคาร CGB ทั้งในและต่างประเทศได้เปิดให้บริการ SWIFT gpi พร้อมกันตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ที่ผ่านมา โดย SWIFT gpi ช่วยเสริมผลิตภัณฑ์การชำระเงินแบบทันทีของธนาคารในด้านประสิทธิภาพการชำระเงิน ให้ความโปร่งใสในการหักค่าธรรมเนียม และสามารถติดตามสถานะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อันเป็นการมอบบริการอันโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแก่ลูกค้าของเรา"

คุณ Chen Bing รองผู้จัดการทั่วไป แผนกบริการด้านการค้า ธนาคารกวงฟา กล่าว

"API ของ SWIFT ทำให้ธนาคารเพื่อการก่อสร้างจีนสามารถให้บริการด้านการชำระเงินและการหักชำระบัญชีระดับโลกได้อย่างครอบคลุมแก่ลูกค้าของเราทั้งในและต่างประเทศผ่าน SWIFT gpi โดยธนาคารเพื่อการก่อสร้างจีนมีพันธกิจในการส่งมอบบริการชำระเงินที่ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้าของเรา ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นและติดตามพัฒนาการก้าวต่อไปของ gpi อย่างใกล้ชิด อันรวมถึงการเปิดให้บริการ gpi Tracker แบบเรียลไทม์สำหรับคำสั่งชำระเงินที่ส่งผ่าน SWIFT gpi โดยเรามีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าสิ่งดังกล่าวจะช่วยยกระดับประสบการณ์ด้านการชำระเงินระหว่างประเทศให้แก่ลูกค้าของเรา"

คุณ Li Yuexi รองผู้จัดการทั่วไป แผนกบริหารจัดการช่องทางและการปฏิบัติงาน ธนาคารเพื่อการก่อสร้างจีน กล่าว

"คำขวัญด้านบริการของ BOJS คือ 'ลูกค้ามาก่อน มุ่งสร้างคุณค่า' และเรามองหาแนวทางด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งเน้นการควบคุมที่มีคุณภาพสูงและนำเสนอแนวคิดริเริ่มใหม่ๆ โดยพยายามจัดหาโซลูชันการชำระเงินระหว่างประเทศระดับเฟิร์สคลาสให้แก่ลูกค้าของเรา เราทุ่มเทในการเป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีความอัจฉริยะ มีความครอบคลุมรอบด้าน และมุ่งสู่ความเป็นสากล ดังนั้นความสำเร็จในการติดตั้งบริการ SWIFT gpi จึงทำให้เราต่อยอดผลิตภัณฑ์การชำระเงินระดับสากล ช่วยยกระดับความพึงพอใจตามความต้องการของลูกค้าอันหลากหลาย และช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ด้านการชำระเงินระหว่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น"

คุณ Zhao Hui รองผู้อำนวยการ ธนาคารเจียงซู กล่าว

"ธนาคาร SPD ทุ่มเทความพยายามอย่างต่อเนื่องในโครงการ SWIFT gpi เพราะเราเห็นว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ของธนาคารที่มุ่งเน้นใส่ใจลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และสอดคล้องกับก้าวจังหวะของธนาคารในการมุ่งสู่ธนาคารดิจิทัลชั้นนำ โดยโครงการ SWIFT gpi ช่วยเสริมข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในบริการชำระเงินระหว่างประเทศของธนาคาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านกระบวนการ ความโปร่งใสและความปลอดภัย ตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นธนาคาร SPD จึงพร้อมมีส่วนร่วมในความร่วมมือหลายฝ่ายภายใต้ gpi เพื่อให้เกิดบริการชำระเงินระหว่างประเทศที่เหนือระดับทั้งด้านความสะดวก ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ความปลอดภัย และระบบอัจฉริยะ ที่สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้า"

คุณ Pan Peidong ผู้จัดการทั่วไป แผนกบริหารจัดการด้านการปฏิบัติงาน ธนาคาร SPD สำนักงานใหญ่ กล่าว

"เราภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในธนาคารทั่วโลกที่รองรับ gpi ที่ช่วยมอบประสิทธิภาพที่ดีขึ้นด้านการชำระเงินระหว่างประเทศให้แก่ลูกค้า ธนาคารของเรามีสาขากว่า 1,400 แห่งในจีน และมีตัวแทนในต่างประเทศกว่า 2,000 ราย ขณะเดียวกันก็ยังมีแนวคิดในการยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นธนาคารของเราจึงพร้อมที่จะมอบบริการชำระเงินอันรวดเร็วและโปร่งใสให้แก่ลูกค้าผ่านความสามารถต่างๆ ของ gpi อย่างเต็มที่"

คุณ Zhang Xuqing ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป แผนกธุรกิจระหว่างประเทศ ไชน่าซิติกแบงก์ กล่าว

"การสร้างมาตรฐานการชำระเงินระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ภายใต้ธนาคารต่างๆ ที่ร่วมมือผ่านแผนงาน SWIFT gpi ได้ช่วยยกระดับการจ่ายชำระเงินระหว่างประเทศได้อย่างชัดเจนทั้งในด้านความเร็ว ความโปร่งใส และความปลอดภัย โดยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ธนาคาร CZBANK ได้สร้าง "ทางด่วน" พิเศษสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ และได้เริ่มนำบริการ gpi เข้ามาใช้เพื่อครอบคลุมบริการ "ในทุกสกุลเงินในทุกช่องทาง" โดยได้รองรับฟังก์ชันใน 5 ส่วนสำคัญ ทั้งด้านความเร็วในการจ่ายชำระเงิน การติดตามสถานะธุรกรรมระดับโลก และบริการเอสเอ็มเอส เป็นต้น เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า"

คุณ Huang Wenling ผู้จัดการทั่วไป แผนกธุรกิจระหว่างประเทศ ธนาคารเจ้อชางจีน กล่าว

-####-

ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน:

Jaime Lee

+852 2107 8860

[email protected]

ข้อมูลเกี่ยวกับ gpi

นวัตกรรมการชำระเงินระดับโลกจาก SWIFT (SWIFT gpi) ถือเป็นมาตรฐานใหม่และเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการชำระเงินนระหว่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดย SWIFT gpi ช่วยยกระดับประสบการณ์ด้านการชำระเงินระหว่างประเทศแก่ลูกค้าได้อย่างมาก ทั้งในด้านความเร็ว ความโปร่งใส และการติดตามสถานะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ปัจจุบันมีธุรกรรมด้านการชำระเงินระหว่างประเทศหลายแสนรายการที่ใช้มาตรฐาน gpi แบบใหม่ ทำให้ธุรกรรมเสร็จสิ้นในเวลาที่เร็วขึ้น จากหลายนาที เหลือเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น

SWIFT gpi มอบบริการที่เหนือกว่าให้แก่ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ด้วยคุณสมบัติหลักอันโดดเด่นดังนี้:

- ผู้รับเงินที่เป็นสมาชิก gpi สามารถใช้เงินได้เร็วขึ้นภายในวันเดียวกันตามเขตเวลาของผู้รับเงิน

- ค่าธรรมเนียมที่โปร่งใส

- ติดตามสถานะได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

- มั่นใจได้ว่าข้อมูลการจ่ายชำระเงินจะปลอดภัยและไร้ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ

SWIFT gpi ถือเป็นการริเริ่มครั้งใหม่ที่ผสานความร่วมมือกับธนาคารและชุมชนฟินเทคทั่วโลก เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านการชำระเงินระหว่างประเทศและการลดค่าใช้จ่ายหลังบ้านขององค์กรต่างๆ โดยนับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 วันนี้ gpi ได้มอบประสบการณ์ด้านการชำระเงินระหว่างประเทศที่ดีขึ้นให้แก่องค์กรต่างๆ ผ่านเส้นทางการชำระเงินมากกว่า 350 ประเทศทั่วโลก คุณสมบัติอันโดดเด่นของบริการ gpi สามารถรองรับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจได้มากขึ้น และมีฐานข้อมูลการติดตามธุรกรรมอันปลอดภัยบนระบบคลาวด์ที่สามารถเชื่อมต่อได้ผ่าน API ดังนั้น SWIFT gpi จึงช่วยให้องค์กรต่างๆ เติบโตและต่อยอดธุรกิจระหว่างประเทศได้ดีขึ้น ยกระดับความสัมพันธ์กับผู้ค้า และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการบริหารการเงิน ทั้งนี้กว่า 50% ของการชำระเงินผ่าน SWIFT gpi จะส่งถึงบัญชีผู้รับผลประโยชน์ภายใน 30 นาที และเกือบ 100% จะเสร็จสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง โดยธุรกรรมที่ใช้ระยะเวลานานกว่าปกติมักเกี่ยวข้องกับการแปลงสกุลเงินต่างประเทศอันซับซ้อน มีการตรวจสอบธุรกรรมตามข้อกำหนด หรือต้องรออนุมัติจากหน่วยงานกำกับ

ปัจจุบันมีสถาบันการเงินมากกว่า 160 แห่งที่ได้ติดตั้ง gpi แล้ว และมีระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินมากกว่า 55 ระบบที่แลกเปลี่ยนการชำระเงินผ่าน gpi ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนและติดตามธุรกรรมในประเทศได้ทุกจุด โดยระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินมีบทบาทสำคัญในการติดตามธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพราะทันทีที่การชำระเงินส่งไปถึงประเทศปลายทาง โดยปกติมักจะดำเนินการผ่านโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินในประเทศนั้นๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับ SWIFT

SWIFT เป็นผู้ให้บริการรับและส่งข้อความทางการเงินที่ปลอดภัยระดับแนวหน้าของโลก ภายใต้รูปแบบองค์กรที่มีสมาชิกทั่วโลกเป็นเจ้าของร่วมกัน เรามอบแพลตฟอร์มการรับและส่งข้อความทางการเงิน การกำหนดมาตรฐานการสื่อสาร ตลอดจนผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้แก่สมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและบูรณาการ การระบุตัวตน การวิเคราะห์ และการยึดปฏิบัติตามระเบียบด้านอาชญากรรมทางการเงิน

แพลตฟอร์มการรับและส่งข้อความทางการเงิน ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา ได้เชื่อมต่อกับธนาคาร สถาบันด้านหลักทรัพย์ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานภาคการเงิน และลูกค้าองค์กรกว่า 11,000 แห่ง ในมากกว่า 200 ประเทศและเขตปกครอง และแม้ SWIFT จะไม่ได้เป็นผู้จัดเก็บเงินหรือจัดการบัญชีในนามของลูกค้า แต่เราช่วยให้ชุมชนผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้อย่างปลอดภัย เกิดการแลกเปลี่ยนข้อความทางการเงินที่ได้มาตรฐานและไว้วางใจได้ อันเป็นการส่งเสริมธุรกรรมทางการเงินทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้าขายและการพาณิชย์ทั่วโลกด้วย

เราแสวงหาความเป็นเลิศในการดำเนินงานอย่างไม่หยุดนิ่ง ในฐานะผู้ให้บริการที่ได้รับความไว้วางใจจากสถาบันและองค์กรต่างๆ นอกจากนี้เรายังให้ความช่วยเหลือสมาชิกในการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และมองหาแนวทางในการลดต้นทุน ลดภาวะความเสี่ยง และขจัดกระบวนการอันไร้ประสิทธิภาพออกไป ผลิตภัณฑ์และบริการของเราช่วยส่งเสริมสมาชิกในกลุ่มในด้านต่างๆ ทั้งการเข้าถึงและผสานข้อมูล บรรลุเป้าหมายด้านระบบธุรกิจอัจฉริยะ มอบข้อมูลอ้างอิง และมอบเกณฑ์ปฏิบัติด้านอาชญากรรมทางการเงิน ขณะเดียวกัน SWIFT ยังช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มในภาคอุตสาหกรรมทางการเงิน ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติในตลาด สร้างมาตรฐาน และหารือประเด็นปัญหาหรือผลประโยชน์ร่วมของทุกฝ่าย

สำนักงานใหญ่ของ SWIFT ตั้งอยู่ที่ประเทศเบลเยียม โดยธรรมาภิบาลและการสอดส่องดูแลในระดับสากลของ SWIFT ได้ช่วยตอกย้ำถึงความเป็นกลางและเป็นสากลภายใต้โครงสร้างความร่วมมือระหว่างกัน ในขณะที่เครือข่ายสำนักงานทั่วโลกของ SWIFT ได้มอบความครอบคลุมศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญทุกแห่ง

กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.swift.com หรือติดตามข้อมูลผ่านทาง Twitter: @swiftcommunity และ LinkedIn: SWIFT

ที่มา: S.W.I.F.T.SCRL

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest