ทำกำไรใน “Futures-Options” ไม่ยาก ด้วยกลยุทธ์ Calendar Spread จับทางถูกเสี่ยงต่ำ

จันทร์ ๒๕ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๖:๓๕
วิทยากรโดย คุณธวัชชัย ทองดี

แม้เราจะมีประสบการณ์ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ TFEX มายาวนาน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเก่งและเอาชนะการซื้อขาย Futures-Options ในตลาด หรือหอบหิ้วกำไรกลับบ้านไปได้เสมอไป โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนโดยไม่ได้ดูว่า สิ่งที่เราลงทุนนั้นเหมาะสมกับเราหรือไม่

เช่นเดียวกับมุมคิดของ คุณธวัชชัย ทองดี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. เอเชีย เวลท์ ที่มาร่วมแชร์ไอเดียในงาน "TFEX Trader Day ค้นหาไอเดียเทรด สร้างกลยุทธ์ทำกำไร" ในหัวข้อ "จับจังหวะเทรด Futures-Options ให้กำไร" โดยตอกย้ำให้เห็นว่า หากเกมการลงทุนไม่เหมาะสมกับเรา แม้จะพยายามมากแค่ไหน กว่าจะรู้ตัว เงินหน้าตักก็หมด โดยเฉพาะพวกนักเก็งกำไร หรือแม้แต่นักเทคนิเคิลที่นั่งดูกราฟหรืออ่านกราฟแล้วก็ตาม เพราะตลาด Futures-Options มีผู้ร่วมตลาดที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรายย่อย รายใหญ่ ต่างชาติ หรือแม้แต่กองทุน

แม้จะเป็นเกมที่ไม่ง่ายสำหรับรายย่อย แต่รายย่อยต้องพยายามอ่านเกมให้ออก โดยการอ่านแรงซื้อแรงขาย หรือ Flows ของ Player ที่สำคัญให้ออก แล้วนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์เทรดเก็งกำไรแบบ Calendar Spread สวน ซึ่งรายย่อยอาจคิดว่าเป็นกลยุทธ์ที่ยาก แต่ในความเป็นจริงไม่ยากอย่างที่คิด

ทั้งนี้ อันดับแรก เราต้องดูภาพรวมของแรงซื้อแรงขาย หรือ Flows ของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติก่อน โดยในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2552 นักลงทุนต่างชาติมีแรงซื้อหุ้นเข้าพอร์ต ซึ่งช่วงนั้นดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 400 จุด จนถึงปัจจุบันไต่มาที่ระดับ 1,800 จุด ก่อนที่จะย่อตัวลงมาอยู่ที่ประมาณ 1,700 จุดในขณะนี้ ดังนั้น หากเปรียบเทียบแรงซื้อของต่างชาติตั้งแต่ปี 2552-2556 พบว่าต่างชาติซื้อสุทธิสะสมแตะ 2 แสนล้านบาท และยอดซื้อสะสมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีการขายออกมาบ้างก็ตาม

"ลองเทียบดัชนีจาก 400 จุดในปี 2552 กับดัชนีที่ขึ้นมาสูงสุดในช่วงต้นปี 2556 ที่ 1,640 จุด จังหวะนั้นต่างชาติซื้อเก็บตลอด แต่หลังจากปี 2556 เป็นต้นมา ต่างชาติก็เริ่มขายหุ้น จนถึงปัจจุบันขายสุทธิไปแล้ว 275,000 ล้านบาท"

คุณธวัชชัย ชี้ให้เห็นภาพมากขึ้นว่า แม้ตลาดทำนิวไฮหรือต่างชาติมีแรงซื้องัดกลับขึ้นมาบ้างในปี 2559 จากขายสุทธิ 200,000 ล้านบาท มีแรงซื้อกลับทำให้ยอดขายสุทธิเหลือ 50,000 ล้านบาท นั่นแสดงว่าต่างชาติมีแรงซื้อกลับเข้ามา 150,000 ล้านบาท จึงทำให้ดัชนีช่วงนั้นปรับจากระดับ 1,200 จุด ขึ้นไป 1500 จุด แต่หลังจากนั้นต่างชาติก็มีแรงขายออกมาอีก จนทำให้ปัจจุบันกลับมาเป็นแรงขายสุทธิ 275,000 ล้านบาท

"ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ต่างชาติจากซื้อสุทธิ 200,000 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็นขายสุทธิ 275,000 ล้านบาท หรือเป็นการขายสุทธิไปแล้ว 475,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการเทขายหนักมาก ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหน คือระหว่าง 1,600-1,800 จุด ส่วนแรงขายของเขาจะหมดเมื่อไรคงตอบยาก แต่ก็มีบางช่วงที่ขายไปแล้ว และยังอาจจะขายได้อีก เพราะหน้าตักเขายังมีกำไรเก่าอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นการขาย SET50 Index Futures ร่วมด้วย"

ส่วนเหตุผลที่มองว่านักลงทุนต่างชาติ อาจจะมีการขาย SET50 Index Futures ด้วย ก็ดูได้จาก ยอดซื้อขายสะสมของ SET50 Index Futures ในแต่ละวัน ถ้าต่างชาติ Net Long จะเป็นบวก แต่ถ้า Net Short ก็จะเป็นลบ เพราะต่างชาติจะเล่นตามเทรนด์ของเขา ดูพฤติกรรมดังกล่าวได้

อย่างไรก็ตาม ราวเดือนก.ค.-ส.ค. คาดว่านักลงทุนต่างชาติจะปิด Short Futures เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนจะประกาศผลการดำเนินงานไตรมาสสองออกมา ซึ่งแนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนมีโอกาสปรับตัวลดลง และในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วง Low Season ด้วย ดังนั้นมีโอกาสมากที่นักลงทุนต่างชาติจะ Rollover จากซีรี่ย์ M ไปซีรีย์ U แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า กองทุน และผู้ลงทุนรายย่อยมีโอกาสกลับมาร่วมกันซื้อสุทธิก็ได้ ดังนั้นสิ่งที่รายย่อยพอจะสู้หรือทำได้ คือ หาประโยชน์จาก Position การ Net Short ของนักลงทุนต่างชาติแสนล้านตรงนี้ ด้วยกลยุทธ์เล่นเก็งกำไรแบบ Calendar Spread คือ ถ้ามองว่าค่า Spread จะมีค่าสูงขึ้นให้ Long Spread ถ้ามองว่าค่า Spread จะมีค่าลดลงให้ Short Spread เนื่องจากเรารู้กรอบต่ำสุดของเขาแล้วว่าอยู่ในช่วงเดือน ก.ค.- ส.ค. โดยนักลงทุนต่างชาติก็จะ Rollover Short ไปยัง ซีรี่ย์ถัดไป

"Calendar Spread" เล่นไม่ยาก มีเพียง 2 Position ให้เลือกเปิดสถานะ นั่นก็คือ "Long หรือ Short" สัญญา Futures ต่างซีรี่ย์กัน โดยให้มองซีรีย์ไกลเป็นหลัก เช่น ถ้าเรามองว่า ค่า Spread จะมีค่าเพิ่มขึ้น เราก็จะ Long ซีรีย์ U สัญญาไกล (สัญญาหมดอายุเดือนกันยายน) ขณะเดียวกัน เราก็จะ Short ซีรี่ย์ M สัญญาใกล้ (สัญญาหมดอายุเดือนมิถุนายน) ซึ่งกลยุทธ์ลักษณะนี้เราเรียกกันว่า Long Spread

นอกจากนั้น จากข้อมูลการซื้อขายของต่างชาติ ซึ่งปัจุบันเป็นการขายสุทธิ (Net Short) SET50 Index Futures ในซีรีย์ M ดังนั้น เมื่อใกล้วันหมดอายุ หากเกิดการ Rollover สถานะ จากซีรีย์ M ไปซีรีย์ U ก็ทำได้โดยการ Short Spread คือ การ Long ซีรีย์ M (ปิดสัญญา) และเปิด Short ซีรีย์ U ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ค่า Spread ต่ำ และจะทำในกรณีที่อยากถือฝั่ง Short ต่อ โดยมักจะเกิดช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสัญญาหมดอายุ

คุณธวัชชัย ย้ำว่า กลยุทธ์การซื้อขาย Spread เป็นกลยุทธ์ที่ไม่มีความซับซ้อน และเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ลงทุนสามารถทำกำไรได้จริง อย่างไรก็ตาม สำหรับมือใหม่ลองทำความเข้าใจ แล้วค่อยไปเทรดจริง เพราะหากเราไม่เข้าใจ และนำไปใช้ผิดหรือเข้าผิดเกมจะทำให้เกิดความเสียหายได้เหมือนกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4