FSMARTปันผลระหว่างกาลจากกำไรงวด 6 เดือน0.30บาท/หุ้น ครึ่งปียอดเติมเงินทะลุ2.1หมื่นล.– เล็งต่อยอดธุรกิจใหม่เพิ่มรายได้

ศุกร์ ๑๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๐๘:๕๘
บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.30 บาท/หุ้น พร้อมจ่าย 4 ก.ย.นี้ โชว์ผลงาน 6 เดือนปี 2561 รายได้รวม 1,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% และกำไรสุทธิ 295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนไตรมาส 2 รายได้เพิ่มขึ้น 10% และ 5% ตามลำดับ ด้านยอดเติมเงินครึ่งปีกว่า 21,032 ล้านบาท ส่งผลมาร์เก็ตแชร์ตลาดรวมที่ 22% ครองผู้นำตลาดเติมเงินมือถือ ย้ำยังเน้นบริหาร ARPU เฉลี่ยเพิ่มอีก 5% และตั้งตู้อีก 10,000 ตู้ดันมูลค่าการใช้บริการเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อน เล็งต่อยอดธุรกิจขายซิมการ์ดและพิสูจน์ตัวตน (e-KYC / E-Wallet)ให้แบงก์ผ่านตู้บุญเติมเพิ่มรายได้ในอนาคต

นายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ FSMART ผู้นำช่องทางการชำระเงินที่มีเครือข่ายมากที่สุดในประเทศไทยผ่าน "ตู้เติมเงินออนไลน์บุญเติม" เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 6/2561 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท รวมเป็นเงิน 234 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับงวด 6 เดือน กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผลระหว่างกาลปี 2561 (Record date) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2561 และกำหนดจ่ายปันผลวันที่ 4 กันยายน 2561

ขณะที่ผลประกอบการงวด 6 เดือนปี 2561 บริษัทมีรายได้รวม 1,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1,484 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 275 ล้านบาท โดยในครึ่งปีแรกบริษัทสามารถติดตั้งตู้บุญเติมเพิ่มขึ้นอีก 5,695 ตู้ ทำให้ปัจจุบันมีตู้รวมทั้งสิ้น 130,348 ตู้ เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้มูลค่าเติมเงินทั้งบริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ บริการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร บริการเติมเงินออนไลน์ประเภทอื่น ๆ รวมทั้งบริการรับชำระบิลอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 25% หรือมีมูลค่าเติมเงินรวม 21,032 ล้านบาท จากจำนวนผู้ใช้บริการ 25 ล้านเลขหมาย และจำนวนการทำรายการผ่านตู้บุญเติม 2.2 ล้านรายการต่อวัน

ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 2 บริษัทมีรายได้รวม 849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% และมีกำไรสุทธิ 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 769 ล้านบาท กำไรสุทธิ 144 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการเชิงรุกเล็งจุดติดตั้งคุณภาพ เพื่อให้ยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ (ARPU) เพิ่มมาที่ 32,198 ต่อตู้ต่อเดือน รวมไปถึงบริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริการและบริหารให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

โดย "ตู้บุญเติม" ยังถือเป็นผู้นำตลาดตู้เติมเงินออนไลน์ ทั้งในส่วนของจำนวนตู้และมูลค่าการเติมเงิน ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด อยู่ที่ประมาณ 22% จากมูลค่าตลาดบริการโทรศัพท์มือถือประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Pre-Paid) รวมกว่า 1.33 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทยังคงรักษาแนวทางการทำงานด้วยกลยุทธ์จุดตั้งตู้บุญเติมที่มีคุณภาพ ทั้งจุดติดตั้งในพื้นที่ใหม่ และปรับเปลี่ยนในทำเลเดิม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการขายด้วยแคมเปญต่างๆ ทั้งรายการสะสมแต้มเพื่อชิงโชคและแลกของรางวัล รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆตามเทศกาลเพื่อตอบแทนลูกค้าที่ใช้บริการตู้บุญเติม

สำหรับการดำเนินงานในครึ่งปีหลังบริษัทเชื่อว่าจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่อง ด้วยฐานลูกค้าเดิมที่เป็นกลุ่มผู้นิยมใช้เงินสดในการใช้จ่าย รวมถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ใช้ "Be Wallet" แอพพลิเคชั่นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนมือถือ (E-wallet) โดยบริษัทจะเพิ่มการให้บริการใหม่อื่นๆ ที่ช่วยทำให้ตู้บุญเติมเป็นช่องทางที่ครบวงจรมากขึ้นและเพิ่มความสะดวกและตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด อาทิ เพิ่มธนาคารสำหรับโอนเงินอีก 2 ธนาคาร ตามนโยบายที่จะให้บริการประเภทโอนเงินบนตู้เติมเงินกับ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และฐานลูกค้าให้รู้จักกับตู้บุญเติม นอกจากนี้ จะเพิ่มบริการการชำระค่าตั๋วโดยสาร การชำระบิลสาธารณูปโภค การขายประกันภัย/ประกันอุบัติเหตุ และบริการอื่น ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัทในปัจจุบันยังคงมาจากธุรกิจให้บริการเติมเงินประมาณ 83% ส่วนที่เหลือเป็นการโอนเงิน และบริการอื่นๆ

ทั้งนี้ ในปีนี้บริษัทมีเป้าหมายจะติดตั้งตู้บุญเติมเพิ่ม 10,000 ตู้ ทำให้สิ้นปี 2561 มีตู้บุญเติมรวมทั้งสิ้น 134,653 ตู้ เพื่อสนับสนุนให้มูลค่าการใช้บริการผ่านตู้บุญเติมเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปี 2560 โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการบริหารจัดการยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ต่อเดือน (ARPU) ให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5% และผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งต่อยอดธุรกิจใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ โดยอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรในการพัฒนาธุรกิจใหม่ผ่านตู้เติมเงิน อาทิ การจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ และการรับพิสูจน์ตัวตน (e-KYC) ให้กับกลุ่มธนาคารและกลุ่ม e-Wallet ต่าง ๆ เป็นต้น โดยคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้ โดยทั้ง 2 บริการยังคงเกี่ยวโยงกับธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งเป็นโอกาสในการอำนวยความสะดวกทั้งผู้ใช้บริการและธนาคารพาณิชย์ที่จะเข้าสู่สังคมระบบดิจิทัลต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4