“ทิพยประกันภัย” กำไรสุทธิครึ่งปี 920 ล้าน ลุยช่องทางดิจิทัล หนุนสตาร์ทอัพ ก้าวสู่เป้าหมาย Digital Insurance

พฤหัส ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๐:๕๐
บมจ.ทิพยประกันภัย กำไรสุทธิ 6 เดือนแรก ปี2561 กว่า 920.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.66 % เบี้ยประกันภัยรับรวม 8,335.85 ล้านบาท " ดร.สมพร สืบถวิลกุล" เผยยึดหลักธรรมาภิบาลและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสินไหมลดลงกว่า 13.42% พร้อมประกาศเดินหน้าพัฒนาช่องทางดิจิทัล และสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพื่อผลักดันสู่เป้าหมาย Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบ

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 450.48 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.75 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 423.79 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.71 บาท คิดเป็นกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 26.69 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.30%

ขณะที่กำไรสุทธิสะสมงวด 6 เดือนแรก (1 ม.ค.-30 มิ.ย. 61) จำนวน 920.24 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.53 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 877.73 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.48 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 32.51 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.66%

โดยครึ่งปีแรกของปี 2561 นั้น ทิพยประกันภัย มีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 8,335.85 ล้านบาท ประกอบด้วย เบี้ยประกันอัคคีภัย 1,140.03 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 132.37 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 1,364.54 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล 3,442.03 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 2,256.88 ล้านบาท

ด้านฐานะการเงินของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 สินทรัพย์รวม 45,625.60 ล้านบาท หนี้สินรวม 38,068.64 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 7,556.96 ล้านบาท

ดร.สมพร กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จจากนโยบายบริหารงานภายในอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านการชดเชยค่าสินไหมและค่าใช้จ่ายในการจัดการสินไหมที่ลดลงกว่า 13.42 % มาอยู่ที่ 1,114.50 ล้านบาท ทำให้กำไรจากการรับประกันภัยก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงานเป็น 1,295.78 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.58% รวมถึงการขยายฐานลูกค้า ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"ทิพยประกันภัย ได้บริหารจัดการต้นทุนด้านการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่รวดเร็ว และถูกต้องเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ขณะเดียวกันได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดี ส่งผลให้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย" ดร.สมพร กล่าว

สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคตนั้น ดร.สมพร กล่าวว่า ทิพยประกันภัยได้พัฒนาช่องทางดิจิทัลและแอปพลิเคชันเพื่อรองรับลูกค้าที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วและตอบสนองความต้องการได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ล่าสุด "TIP InsureM" อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดจากอุบัติเหตุ ที่ต้องรอพนักงานสำรวจภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน โดยสามารถใช้ฟังก์ชันเคลมประกัน "Tip Flash Claim" ทำเคลมได้ด้วยตัวเองทันทีกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ รวมไปถึงฟังก์ชันอื่นๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าอีกมากมายง่ายๆเพียงแค่ปลายนิ้ว โดยสามารถโหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android

ดร.สมพร กล่าวต่อ สำหรับการเปิดตัวแอปพลิเคชัน "TIP InsureM" นี้เพื่อตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบัน ที่มีความเร่งรีบ ประกอบกับการหาข้อมูลหรือทำธุรกรรมต่างๆ เกือบทุกอย่างบนมือถือ Smartphone เราจึงต้องคิดค้นรูปแบบการให้บริการที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทุกขั้นตอนสามารถจบภายในแอปพลิเคชันนี้ ซึ่งจะมีฟังก์ชันที่หลากหลาย อาทิ ซื้อประกันภัยรถยนต์ , ประกันเดินทาง , ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล , ประกันอัคคีภัย หรือ การต่ออายุประกัน , การชำระเงิน , ดูข้อมูลต่างๆในกรมธรรม์ของตัวเองทุกกรมธรรม์ที่มีอยู่กับบริษัท หรือตรวจสอบความคุ้มครอง แม้กระทั่งการแจ้งเคลมประกันภัยออนไลน์ ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง จะช่วยให้ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดปัญหาการจราจรกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและกีดขวางการจราจร โดยลูกค้าสามารถทำเคลมได้ด้วยตัวเองตามขั้นตอนที่ปรากฏอยู่ง่ายๆ ไม่ต้องเสียเวลารอพนักงานสำรวจภัย นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันอื่นๆที่จะอำนวยความสะดวกในเรื่องของการค้นหาสาขาของทิพยประกันภัย อู่ซ่อมรถ หรือโรงพยาบาล สามารถทำได้โดยใช้การค้นหาเป็นระบบ AR ส่องไปยังทิศทางที่เราต้องการ ระบบก็จะแจ้งสถานที่ให้ทันที ทำให้ลูกค้ามีความสะดวกยิ่งขึ้น

ในปัจจุบัน "สตาร์ทอัพ" ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกันกับธุรกิจประกัน มีสตาร์ทอัพจำนวนมากได้เริ่มเข้ามาสู่ธุรกิจเกี่ยวกับประกันภัย ทั้งในส่วนที่เป็นการขายกรมธรรม์ และการให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ทิพยประกันภัยได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้มีแผนงานสนับสนุนสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับประกันภัย ให้สามารถพัฒนาธุรกิจหรือบริการ ด้านการประกันภัยในรูปแบบดิจิทัล โดยทิพยประกันภัยพร้อมที่จะให้ความรู้ด้านเทคนิค กฏระเบียบ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจประกันภัย รวมทั้งเป็นห้องทดลองให้สตาร์ทอัพมาทดลองเชื่อมต่อ ใช้งานกับระบบงานต่างๆ ของทิพยประกันภัย โดยปัจจุบันได้มีสตาร์ทอัพหลายรายที่ทำงานร่วมกับทิพยประกันภัย เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่จะเป็น Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest