ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจและค่าเงินตลาดเกิดใหม่ และ สงครามการค้ารุนแรงขึ้น ต่อเศรษฐกิจไทย

จันทร์ ๑๐ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๑:๕๒
วิกฤติเศรษฐกิจและการดิ่งลงของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆยกเว้นดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ควรรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนผลกระทบสงครามการค้ารุนแรงขึ้นและส่งผลต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาสสี่ปีนี้ และ กระทบต่อส่งออกไทยไปอาเซียน

15.00 น. 9 กันยายน พ.ศ. 2561 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความเห็นและวิเคราะห์ถึงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มลุกลามเพิ่มขึ้นพร้อมผลกระทบสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ว่า การลุกลามของวิกฤติเศรษฐกิจและการดิ่งลงของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น รวมทั้งเงินทุนระยะสั้นเก็งกำไรไหลเข้าตลาดตราหนี้ของไทยเพิ่มขึ้นและกดดันให้เงินบาทแข็งค่าเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจเกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาททำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย โดยเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆยกเว้นดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ควรรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพราะจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกกระทบต่อภาคส่งออกขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ

การอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงของค่าเงินในตุรกี อาร์เจนตินา เวเนซูเอลา อินโดนีเซีย อินเดียและจะเกิดขึ้นกับฟิลิปปินส์บราซิล ต่อไป ทำให้ภาระหนี้สินต่างประเทศของประเทศเหล่านี้ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงอยู่แล้วเพิ่มขึ้นอีกจากการอ่อนค่าของเงินสกุลท้องถิ่น ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้อาจจะเกิดขึ้นในบางประเทศและจะมีผลกระทบต่อสถาบันการเงินและเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ปล่อยกู้ให้กับประเทศเหล่านี้ สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่มีฐานะแข็งแกร่งขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจะกลับมาอ่อนแออีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ผลกระทบจากการขยายวงของสงครามทางการค้าจะทำให้ปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสี่ ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาผลของการทำประชาพิจารณ์ที่รัฐบาลสหรัฐฯจะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มเติมมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์หรือไม่ หากมีการตัดสินใจเดินหน้าเก็บภาษีจากจีนเพิ่มเติมอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ คาดว่าจีนจะทำการตอบโต้ทางการค้าในระดับเดียวกัน จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกค่อนข้างมาก ข้อมูลล่าสุด สหรัฐอเมริกามีตัวเลขขาดดุลการค้าในเดือนกรกฎาคมสูงกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สูงสุดในรอบ 5 เดือน หากสถานการณ์การขาดดุลการค้าสหรัฐฯยัง

เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการใช้มาตรการตั้งกำแพงภาษีและกีดกันการค้าต่อประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ไทย ต่อไปเพื่อลดการขาดดุลการค้า จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ซึ่งต้องอาศัยรายได้จากการส่งออก

วิกฤติค่าเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย และ อาจลามไปที่ฟิลิปปินส์จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยไปอาเซียน ไทยส่งออกไปอินโดนีเซียประมาณ 4% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้ ภูมิภาคอาเซียนเชื่อมโยงกันหมด เช่น สิงคโปร์มีสัดส่วนการส่งออกไปอินโดนีเซีย 8% ก็จะได้รับผลกระทบ และไทยก็พึ่งพาตลาดสิงคโปร์ค่อนข้างมาก

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางของประเทศในตลาดเกิดใหม่จะไม่สามารถหยุดยั้งอัตราเงินเฟ้อสูงรุนแรงและการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงของค่าเงินได้ การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ลดการขาดดุลงบประมาณ ลดภาระหนี้สินต่างประเทศ คือ ทางออกของวิกฤติค่าเงิน ประเทศที่มีการเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดล้วนมีค่าเงินที่มีเสถียรภาพและไม่เป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีให้อ่อนค่าลง

ผลกระทบจากวิกฤติค่าเงินในตลาดเกิดใหม่นั้นยังกระทบไทยค่อนข้างจำกัด ขณะนี้ประเทศไทยมีการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับ 45-47 พันล้านดอลลาร์ มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ มีหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นไม่มาก อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานยังค่อนข้างต่ำ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของภาคธุรกิจแม้นเพิ่มขึ้นแต่ยังคงเป็นการกู้เงินในประเทศเป็นหลัก หากเกิดกระแสเงินไหลออกและต้องชำระหนี้ต่างประเทศ ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถรับมือได้

ดร. อนุสรณ์ ตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจไทยอาจมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สาธารณะและฐานะทางการคลังเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปหากไม่มีการปฏิรูปรายได้ภาครัฐทั้งระบบภาษีและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขด้วยการสร้าง "ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ" ไทยยังมีปัญหาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ยังค่อนข้างสูงอยู่ หลังปี พ.ศ. 2546 สัดส่วนรายได้ของครัวเรือนต่อรายได้ประชาชาติลดลงเรื่อยๆ สะท้อนว่า การที่จีดีพีเติบโตดีอาจไม่ได้หมายถึงรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ทั้งปีของครัวเรือนโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 สะท้อนรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยลดลง และมูลค่าหนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น มูลค่าหนี้ครัวเรือนโดยรวมของทุกกลุ่มรายได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมาจากการกู้ยืมของรายได้สูงเป็นหลัก

แม้นการเลือกตั้งในปีหน้าจะไม่ได้ทำให้ประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยเต็มใบแต่เป็นระบอบกึ่งประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่เชื่อว่าจะส่งผลบวกต่อภาคการลงทุน การเปิดเสรีการค้า มากกว่าระบอบรัฐประหารอย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็สามารถเริ่มต้นเจรจาการค้าและการลงทุนกับอียูได้ มีการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายค้าน มีเสรีภาพมากขึ้น หากหลังการเลือกตั้งสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้ก็จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital