ผลสำรวจเอชเอสบีซีเผยว่าบริษัทไทยพร้อมเดินหน้าตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มองภาพรวมการค้าระหว่างประเทศเป็นบวก

ศุกร์ ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๗:๑๑
**ร้อยละ 97 ของธุรกิจในไทยใช้ข้อมูลและการประมวลผลเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานของธุรกิจ เทียบกับสัดส่วนเพียงร้อยละ 78 ของบริษัททั่วโลก**

**ร้อยละ 92 ของบริษัทไทยระบุว่าภาพรวมการค้าระหว่างประเทศสดใส**

จากการที่ประเทศไทยมีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ธุรกิจของไทยจึงมีมุมมองเชิงบวกต่อโอกาสการค้าระหว่างประเทศ อ้างอิงจากรายงานการสำรวจล่าสุด HSBC Navigator: Now, next and how for business ที่ได้ดำเนินการสำรวจบริษัทกว่า 8,500 แห่งใน 34 ประเทศทั่วโลก เพื่อประเมินมุมมองในการดำเนินธุรกิจและความคาดหวังต่อกิจกรรมการค้าและการเติบโตของธุรกิจ

ธุรกิจในประเทศไทย (ร้อยละ 92) มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ เทียบกับบริษัทในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก (ร้อยละ 78) โดยบริษัทไทยให้เหตุผลว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 50) และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (ร้อยละ 44) เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่สนับสนุนมุมมองเชิงบวก ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดจากประเทศไทย (ร้อยละ 96) มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การค้าในปัจจุบัน โดยมีความเชื่อมั่นที่สูงกว่าบริษัททั่วโลกเล็กน้อย (ร้อยละ 81)

นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่จะได้เห็นภาพรวมการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศไทย และย่อมจะเป็นแนวโน้มที่เรากำลังเห็นจากลูกค้าของเรา จากการที่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยขยายตัว เราคาดหวังว่าจะมีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในเทคโนโลยี ระบบดิจิทัล และการบริหารจัดการข้อมูล"

โอกาสทางธุรกิจกำลังมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตสำหรับบริษัทในประเทศไทย โดยข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย จะช่วยเพิ่มโอกาสและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ และในทำนองเดียวกัน ธุรกิจไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกภาพอาเซียน (ร้อยละ 83) และข้อตกลงการค้าเสรี ASEAN-China (ร้อยละ 74) จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ดี บริษัทไทยก็ยังมีความกังวลในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยร้อยละ 81 ของบริษัทไทย เชื่อว่ารัฐบาลทั่วโลกกำลังปกป้องธุรกิจภายในประเทศของตนเองมากขึ้น เทียบกับสัดส่วนเฉลี่ยของบริษัททั่วโลก (ร้อยละ 63)

การดำเนินธุรกิจในสถานการณ์ที่มีความท้าทาย บริษัทไทยหลายแห่งขณะนี้กำลังหันมาให้ความสนใจต่อผลิตภาพ (Productivity) และกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามของไทยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97) มีการใช้ข้อมูลและการประมวลผลเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัททั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 75 ทั้งนี้ บริษัทในประเทศไทยยังมีมุมมองเชิงบวกจากประโยชน์ที่จะได้รับจากนวัตกรรม เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิต (ร้อยละ 84) Internet of Things (ร้อยละ 78) และ Industry 4.0 (ร้อยละ 78)

มากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทในประเทศไทย กล่าวว่า พวกเขากำลังลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเติบโตยอดขาย (ร้อยละ 56) และเจาะฐานลูกค้า (ร้อยละ 56 เช่นกัน) รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (ร้อยละ 55) โดยเป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายริเริ่มไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งมุ่งหมายที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางแห่งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ