บลจ.ไทยพาณิชย์ แนะกลยุทธ์ลงทุน LTF-RMF ช่วงโค้งสุดท้ายปี 61 ชู 4 กองเด่น SCBLTSE-SCBLTT- SCBRM4- SCBRMPOP

พฤหัส ๒๐ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๓๘
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยถึงกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ว่า ยังคงแนะนำให้ลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของกองทุน LTF ที่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้ลงทุน เพราะมีความน่าจะเป็นสูงที่รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์จากการลงทุนในกองทุน LTF ถึงเพียงปี 2562 และมองว่าช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีกองทุน LTF อยู่ในพอร์ต เมื่อเทียบต้นปีราคาจากตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวลงมา 8% ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าสนใจเข้าลงทุนแม้ว่าในปัจจุบันสภาพตลาดยังมีความผันผวนอยู่

สำหรับในระยะสั้นจนถึงสิ้นปีนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ คาดว่า ตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ อยู่ที่ประมาณ 1,600 – 1,650 จุด โดยมองว่าตลาดในปีนี้จนถึงปลายปียังคงไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก ซึ่งปัจจัยหลักๆ ที่มีผลกระทบต่อตลาดเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่ สงครามการค้า และการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ซึ่งอาจยืดเยื้อถึงช่วงต้นปีหน้า แต่ปัจจัยภายในประเทศไม่มีสิ่งใดที่น่ากังวล อย่างไรก็ตามมองว่าหลังจากมีการเลือกตั้งในปี 2562 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะส่งผลให้นโยบายเศรษฐกิจต่าง ๆ เกิดความคืบหน้าซึ่งเป็นผลดีต่อตลาดภายในประเทศ

โดยบลจ.ไทยพาณิชย์มีกองทุนเด่นที่แนะนำ คือ กองทุน LTF แนะนำให้ลงทุนในกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว ซีเล็คท์ (SCBLTSE) มีนโยบายบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active) ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดที่สม่ำเสมอ โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นสูง ทั้งหุ้นขนาดใหญ่ กลางและเล็ก ประมาณ30 - 50 ตัว เน้นในหุ้น Growth เป็นหลัก และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวทาร์เก็ต (SCBLTT) ซึ่งมีนโยบายบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active) เน้นโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพ โดยเลือกลงทุนแบบผสมผสาน ระหว่างหุ้นที่มีอัตราการจ่ายปันผลสูงกับหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นสูง ประมาณ 60 - 80 ตัว เน้นหุ้น Value เป็นหลัก

ส่วนกองทุนรวม RMF แนะนำให้ลงทุนในกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRM4) มีนโยบายลงทุนแบบเชิงรุก (Active) โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณผ่าน Machine Learning เพื่อคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุนประมาณ 60 - 80 ตัว และสามารถปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุน และเลือกพิจารณาปัจจัยการลงทุนที่มีผลต่อการสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาดตามสภาวะตลาดในแต่ละขณะ และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Population Trend เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMPOP) ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Fidelity Global Demographics Funds ที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทั้งการเพิ่มจำนวนประชากร การขยายตัวของชนชั้นกลางและสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเทรนด์ในระยะยาว ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นไปอีกไม่ต่ำกว่า 50 ปีข้างหน้า เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาว ในขณะที่มีความผันผวนต่ำกว่ามาตรฐานการลงทุนในหุ้นโดยทั่วไป

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน LTF และ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Centerโทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๑ เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๖:๓๖ ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๖:๐๐ STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๖:๓๗ ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๖:๑๖ HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๖:๒๑ ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๕:๒๗ เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น