ความเสี่ยงจากภาวะเงินตึงตัวในตลาดการเงินไทยและผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

จันทร์ ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๐๘:๒๑
คาดว่าจะเกิดภาวะเงินตึงตัวและสภาพคล่องลดลงในระบบการเงินโลก ภาวะเงินตึงตัวจะส่งผลกระทบต่อหุ้นกู้ไทยกลุ่ม non-investment grade ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากการเติบโตยังต่ำกว่าศักยภาพและอัตราเงินเฟ้อต่ำ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้นหักล้างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนข้างหน้ายังไม่ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก ควรรอดูคามชัดเจนของทิศทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองก่อน

ไม่ควรนำแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐหรือธนาคารกลางในต่างประเทศมาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณานโยบายการเงินของ กนง เนื่องจากไทยมีสถานะทุนสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ความเสี่ยงสำคัญจะอยู่ที่ปัจจัยทางการเมืองมากกว่า

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้คุณภาพสินเชื่อเพื่อการบริโภคและสินเชื่อ SMEs แย่ลง เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นและกระทบกับภาคส่งออกซึ่งตัวเลขล่าสุดเดือน พ.ย. ได้กลับมาติดลบอีก ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะสามารถอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ต่อไปหากเงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป การปรับอัตราดอกเบี้ยยังเพิ่มภาระทางการคลังอีกด้วยจากช่วงที่ผ่านมาที่รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก

13.00 น. 23 ธ.ค. 2561 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประเมินว่า จะเกิด ภาวะเงินตึงตัวและสภาพคล่องลดลงในระบบการเงินโลก ภาวะเงินตึงตัวจะส่งผลกระทบต่อหุ้นกู้ไทยกลุ่ม non-investment grade ตลาดหุ้นกู้ไทยที่มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินตึงตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในต่างประเทศ หุ้นกู้ระยะยาวส่วนใหญ่ของไทยเป็นกลุ่ม Investment grade แต่กลุ่ม non-investment grade หรือ กลุ่มหุ้นกู้ด้อยคุณภาพต่ำเติบโตในระดับที่สูงกว่า ภาวะดังกล่าวสะท้อนถึงความเปราะบางหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผู้ประกอบการไทยที่ออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการต่ออายุหุ้นกู้เพิ่มขึ้น โครงสร้างตลาดตราสารหนี้ไทยที่หุ้นกู้ส่วนใหญ่จ่ายอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบคงที่ (Fixed Rate) จึงทำให้ระยะสั้นนี้ อัตราดอกเบี้ยอาจยังไม่ปรับสูงขึ้นทันที ส่วนหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ที่จ่ายอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบดอกเบี้ยลอยตัวจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ภาคธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการต่ออายุหุ้นกู้ (Roll-over risk) ส่วนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ยังมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ มีความเข้มแข็งทางการเงินสูง รายได้ของบริษัทยังครอบคลุมภาระรายจ่ายด้านดอกเบี้ย ส่วนบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นมีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งบริษัทที่มีอัตราส่วน Interest Coverage Ratio (ICR) ต่ำกว่า 1.5 จะมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น หุ้นกู้เสี่ยงส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในธุรกิจพลังงาน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่สัดส่วนการออกหุ้นกู้เสี่ยงของสองอุตสาหกรรมยังไม่สูงนัก ส่วนบริษัทที่ออกหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจเหล็ก ธุรกิจกลุ่มกาเกษตร ธุรกิจอุปกรณ์และเครื่องจักร ธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ ใน 1-2 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นบริษัที่มีความเสี่ยงสูง

การผิดนัดชำระหนี้ของบางธุรกิจอาจส่งผลให้การระดมทุนหรือการต่ออายุหุ้นกู้ (roll-over) ของธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆทำได้ยากขึ้น ทำให้ Risk premium และ ต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ในฐานะอดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากการเติบโตยังต่ำกว่าศักยภาพและอัตราเงินเฟ้อต่ำ และในช่วง 6 เดือนข้างหน้ายังไม่ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก ควรรอดูคามชัดเจนของทิศทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากความเสี่ยงของปัจจัยทางการเมืองก่อน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้นหักล้างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา การแจกเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการช้อปช่วยชาติ จะไม่มีผลต่อการการกระตุ้นภาคการบริโภคมากนัก รายได้ครัวเรือนเกษตรยังมีแนวโน้มลดลงจากราคาตกต่ำขณะที่หนี้สินครัวเรือนยังคงทรงตัวในระดับสูง

ไม่ควรนำแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐหรือธนาคารกลางในต่างประเทศมาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณานโยบายการเงินของ กนง เนื่องจากไทยมีสถานะทุนสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ความเสี่ยงสำคัญจะอยู่ที่ปัจจัยทางการเมืองมากกว่า

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้คุณภาพสินเชื่อเพื่อการบริโภคและสินเชื่อ SMEs แย่ลง เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นและกระทบกับภาคส่งออกซึ่งตัวเลขล่าสุดเดือน พ.ย. ได้กลับมาติดลบอีก ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะสามารถอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ต่อไปหากเงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป

การปรับอัตราดอกเบี้ยยังเพิ่มภาระทางการคลังอีกด้วยจากช่วงที่ผ่านมาที่รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4