สบน.ชี้แจงประเด็นการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)ที่ไม่เกินร้อยละ 60

ศุกร์ ๑๑ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๑:๐๒
นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชี้แจงประเด็นการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่ไม่เกินร้อยละ 60

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอชี้แจงว่าการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะดังกล่าวของไทยในปัจจุบันสอดคล้องกับการกำหนดเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สัดส่วนนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กระทรวงการคลังใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะตลอดมา โดยได้มีการทบทวนสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจและนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวเพื่อรองรับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและพื้นที่ทางการคลังกรณีเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ จากการประมาณการในระยะ 5 ปีข้างหน้า พบว่า ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังคงอยู่ภายใต้เพดานร้อยละ 60

โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มีผลบังคับและได้มีการกำหนดสัดส่วนทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่กำหนดเป็นเพียงกรอบความยั่งยืนทางการคลังเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น และยังมีการกำหนดสัดส่วนทางการเงินอื่นๆ อีกเพื่อรักษาวินัยทางการคลัง ได้แก่ สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Affordability) และสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด รวมทั้งกระทรวงการคลังได้เพิ่มเติมการวิเคราะห์สัดส่วนภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ (Interest payment/Revenue) ซึ่งเป็น อีกตัวชี้วัดที่ธนาคารโลกได้แนะนำและใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่ารัฐบาลมีความสามารถ ในการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและระยะปานกลางอีกด้วย

นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการมีวินัยทางการคลังให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน การคลังของรัฐได้มีประกาศเพื่อกำหนดสัดส่วนงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ (เงินต้น) ไว้ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบริหารหนี้สาธารณะของไทยที่ได้มีการกำหนดสัดส่วนดังกล่าวไว้ในกฎหมาย เพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังและสร้างความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ร้อยละ 60 เป็นระดับที่เอื้อต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศ รักษาวินัยทางการคลังและสามารถรองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ รวมทั้งกรอบการบริหาร หนี้สาธารณะต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จะช่วยให้การบริหาร หนี้สาธารณะเป็นไปด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ และเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเกิดความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ในระยะยาว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest