กสิกรไทยเดินหน้าโครงการ "น่านเพาะพันธุ์ปัญญา" สร้างภูมิความรู้แนวใหม่ให้เยาวชน

พุธ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๕๔
กสิกรไทยหนุนโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาต่อเนื่อง ร่วมกับ ม.พะเยา เดินหน้า "น่านเพาะพันธุ์ปัญญา" ประเดิมปีการศึกษา 62 เลือก 30 โรงเรียนในน่านร่วมพัฒนาตามกระบวนการและแนวคิดแบบเพาะพันธุ์ปัญญา มุ่งสร้างภูมิความรู้เยาวชนรุ่นใหม่ผ่านงานวิจัยเพื่อการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น หลังประสบความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยในกลุ่มนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการให้ใช้กระบวนการคิดในรูปแบบการวิจัยได้อย่างยั่งยืน

ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2555-2561) โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาซึ่งสำนักงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทยสนับสนุนทุนวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อหาคำตอบของวิธีการพัฒนาการศึกษาผ่านโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ โดยอาศัยโครงงานฐานวิจัยเป็นเครื่องมือกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน การแสวงหาคำตอบ การคิดวิเคราะห์-คิดสังเคราะห์ผ่านกระบวนการ "ถามคือสอน สะท้อนคิดคือเรียน เขียนคือคิด" ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่สอดรับกับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ทั้งยังพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ นอกจากนี้ โครงการเพาะพันธุ์ปัญญายังได้น้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหลักการสำคัญบนหลักคิดที่อาศัยฐานความรู้คู่คุณธรรม อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การผนวกแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับชุดความคิดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ (STEM) พัฒนาเป็น "SEEEM Concept ของโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา" มีองค์ประกอบที่ครบทั้งวิทยาศาสตร์ (Science) เศรษฐศาสตร์ (Economics) นิเวศวิทยา (Ecology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) คณิตศาสตร์ (Mathematics) ด้วยการบ่มเพาะชุดความรู้นี้ให้กับครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มุ่งหวังในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา ด้วยการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เยาวชนในสังคม ซึ่งจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา จากพื้นฐานแนวคิดเด็กนักเรียนที่ได้รับความรู้และสร้างความเข้าใจพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย (Research-Based Learning: RBL) พบว่า นักเรียนสามารถคิดโจทย์โครงงานที่มีความซับซ้อนได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสะท้อนแนวความคิดควบคู่ไปกับคุณธรรมที่เห็นได้อย่างเด่นชัดจากตัวนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาที่เห็นได้ชัดเจนจากพัฒนาการด้านความคิดและการเรียนรู้ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทำให้ธนาคารกสิกรไทย และมหาวิทยาลัยพะเยา เตรียมนำแนวทางที่ได้จากการดำเนินโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา 6 ปีในจังหวัดพะเยาและเชียงรายมาขยายผลกับการพัฒนาเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.2-ม.3) ให้กับโรงเรียนในจังหวัดน่านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 โรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นเครือข่ายถ่ายทอดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืน ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากกระบวนการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย ภายใต้บริบทท้องถิ่นเพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตระหนักในความสมดุลของระบบนิเวศน์ นำศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นโจทย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีคุณค่าและมูลค่าต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชนและสังคมท้องถิ่น โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และอื่น ๆ แก่ครูแกนนำ การใช้เทคนิคการวิจัยเชื่อมโยงความรู้อย่างเป็นธรรมชาติและเป็นระบบ มาพัฒนาการเรียนการสอนของห้องเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย อีกทั้งพัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการดำเนินงานโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญาร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อสร้างความยั่งยืนและขับเคลื่อนสมัชชาการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดน่านเป็นต้นแบบในการปรับใช้กับพื้นที่อื่นต่อไป

ดร.อดิศวร์ กล่าวในตอนท้ายว่า จังหวัดน่านมีความเข้มแข็งเรื่องเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ประชาชนยังคงยึดมั่นอย่างหนียวแน่น แต่ก็ยังมีประเด็นอ่อนไหวเมื่อความเจริญที่เข้ามาซึ่งมีผลต่อความพยายามในการรักษาป่าไม้และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดน่านซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ดังนั้นการสร้างความรู้ในแนวเพาะพันธุ์ปัญญา จะช่วยเยาวชนได้เข้าใจและผูกพันกับชุมชนในเชิงลึก พร้อมที่จะปกป้องและสร้างความสมดุลระหว่างคน ศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทักษะกระบวนการดังกล่าวจะถ่ายทอดผ่านครูแกนนำ และนักเรียนโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญาในการออกแบบและจัดการเรียนการสอนแบบ RBL เพื่อนำไปถ่ายทอดและขยายผลแนวคิดเพาะพันธุ์ปัญญาสู่การจัดทำหลักสูตรที่ผสานแนวคิดที่บูรณาการเข้ากับสาระวิชาต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาด้านการศึกษาและเชื่อมโยงการสร้างหลักคิดในบริบทใกล้เคียงต่อไป เช่น ชุดข้อมูลและความรู้เรื่องป่าไม้ที่เกิดสามารถบูรณาการกับโครงการรักษ์ป่าน่าน เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4