โครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ผ่านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

พุธ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๓๕
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังโดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ผ่าน กยศ. (โครงการฯ)

โครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับอาชีวศึกษาเห็นความสำคัญของสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 9) อุตสาหกรรมดิจิทัล และ 10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และ 3 อุตสาหกรรมหลักสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (3 โครงสร้างพื้นฐาน) ซึ่งประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมระบบราง 2) อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี และ 3) อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

โครงการฯ ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2562 – ปีการศึกษา 2566) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. โครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับปริญญาตรี โดยผู้กู้ยืมเงินที่เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นนิสิตและนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน เมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนด กยศ. จะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 0.5 และได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 30 อย่างไรก็ดี กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถสำเร็จการศึกษาหรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาตามสาขาที่กำหนดไว้หรือผิดนัดชำระหนี้ จะไม่ได้รับส่วนลดเงินต้น โดยจะต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ กยศ. กำหนด

2. โครงการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ในระดับอาชีวศึกษา โดยผู้กู้ยืมเงินที่เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน เมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนด กยศ. จะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 0.5 และได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 50 อย่างไรก็ดี กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถสำเร็จการศึกษาหรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาตามสาขาที่กำหนดไว้หรือผิดนัดชำระหนี้ จะไม่ได้รับส่วนลดเงินต้น โดยจะต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ กยศ. กำหนด

ทั้งนี้ กยศ. จะพิจารณากำหนดสถานศึกษาและสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน โดยสามารถกำหนดหรือปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม

กระทรวงการคลังคาดว่า การดำเนินโครงการฯ จะช่วยลดปัญหากำลังแรงงานส่วนเกินซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดทักษะที่ตรงกับสายงานที่ตลาดต้องการ และจะช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ประเทศมีกำลังแรงงานในอนาคตที่มีศักยภาพ รวมทั้งสร้างกำลังคนในสายอาชีวะ/สายวิชาชีพที่ยังขาดแคลน เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024