ม.หอการค้าไทย เผยดัชนี SMEs ไตรมาส 1/2562 ปรับลดทุกด้าน ชี้ลูกค้า SME D Bank มีภูมิคุ้มกันธุรกิจ สะท้อนมอบ “3เติม” มาถูกทาง

พฤหัส ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๑๗
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนี SMEs ประจำไตรมาส 1/2562 ปรับลดจากไตรมาส 4/2561 ทุกด้าน ทั้งดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ ดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจ ดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจ และดัชนีความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่ลูกค้า SME D Bank ยังแกร่งกว่าค่าเฉลี่ย สะท้อนยุทธศาสตร์มอบ"3เติม" คือ เติมทักษะ เติมเงินทุน และเติมคุณภาพชีวิต มาถูกทาง หนุนเอสเอ็มอีไทยมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจได้จริง

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank แถลงดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ SMEs และดัชนีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ประจำไตรมาสที่ 1/2562 จาก 1,249 ตัวอย่างทั่วประเทศ โดยสำรวจ 3 ดัชนี ได้แก่ 1.ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ SMEs (SMEs Situation Index) 2.ดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจ (SMEs Competency Index) และ 3.ดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจ SMEs (SMEs Sustainability Index) นำมาประมวลให้เห็นถึงดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ SMEs (SMEs Competitiveness Index)

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ ไตรมาส 1/2562 อยู่ที่ 43.7 ปรับตัวลด 0.3 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (4/2561) และคาดไตรมาส 2/2562 จะอยู่ที่ 43.5

ทั้งนี้ เมื่อลองเปรียบเทียบดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ ในกลุ่มที่เป็นลูกค้ากับกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าของ ธพว. จะพบว่า กลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าของ ธพว. ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจปรับจากระดับ 37.7 มาอยู่ที่ระดับ 37.4 ส่วนกลุ่มที่เป็นลูกค้า ธพว. ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจ จากระดับ 49.2 มาอยู่ที่ระดับ 49.0

ด้านดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจ ไตรมาสที่ 1/2562 อยู่ที่ระดับ 49.9 ปรับตัวลดลง 0.5 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และคาดไตรมาส 2/2562 จะอยู่ที่ 49.6 โดยกลุ่มที่เป็นลูกค้า ธพว. ดัชนีอยู่ที่ 57.8 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธพว. ดัชนีอยู่ที่ 42.2

และด้านดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจ ไตรมาสที่ 1/2562 อยู่ที่ระดับ 52.5 ปรับตัวลดลง 0.3 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และคาดไตรมาส 2/2562 จะอยู่ที่ 52.3 โดยเมื่อแยกเปรียบเทียบกลุ่มที่เป็นลูกค้า ธพว. กับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธพว. พบว่า กลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธพว. ดัชนีจากระดับ 45.6 มาอยู่ที่ระดับ 45.3 ขณะที่กลุ่มที่เป็นลูกค้า ธพว. จากระดับ 60.0 มาอยู่ที่ระดับ 59.6

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า จาก 3 ดัชนีข้างต้น นำมาสู่ ดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไตรมาสที่ 1/2562 พบว่า อยู่ที่ระดับ 48.7 ปรับตัวลดลง 0.3 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และคาดว่าในไตรมาสที่ 2/2562 จะอยู่ที่ระดับ 48.5

ทั้งนี้ เมื่อเทียบระหว่างกลุ่มที่เป็นลูกค้า ธพว. กับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธพว. พบว่า กลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธพว. ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน ลดลง 0.5 จุด จาก 42.1 มาอยู่ที่ 41.6 ด้านลูกค้า ธพว. ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน ลดลง 0.4 จุด จาก 55.9 มาอยู่ที่ 55.5

ส่วนความต้องการความช่วยเหลือ สนับสนุนหรือพัฒนากิจการจากภาครัฐนั้น กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ด้านภาษี เช่น การลดอัตราภาษี ปรับปรุงโครงสร้างภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า และภาษีที่ซ้ำซ้อน ด้านการตลาด เช่น ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงออนไลน์ ด้านสินเชื่อ เช่น ลดข้อจำกัดในการอนุมัติสินเชื่อ และการเข้าถึงให้ง่ายขึ้น ทั้งลดขั้นตอน ลดเอกสาร ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น และด้านพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน เป็นต้น

นายพงชาญ สำเภาเงิน รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการ SME D Bank กล่าวเสริมว่า แม้ผลสำรวจดัชนีต่างๆ ทั้งดัชนีสถานการณ์ธุรกิจฯ ดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจ ดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจฯ และดัชนีความสามารถในการแข่งขันฯ ประจำไตรมาสที่ 1/2562 จะปรับลดลง ทว่า สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้า ธพว. ยังมีค่าเฉลี่ยดัชนีสูงกว่าเกณฑ์ และสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธพว. บ่งบอกได้ดีว่า แนวทางสนับสนุนของ SME D Bank ที่มุ่งให้ความรู้คู่เงินทุน ควบคู่สนับสนุนสร้างคุณภาพชีวิต หรือที่เรียกว่า "3เติม" เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกิดความเข้มแข็งได้จริง

ดังนั้น SME D Bank จะเดินหน้ามอบ "3เติม" ให้แก่เอสเอ็มอีไทยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.เติมทักษะ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น อบรมสัมมนา จับคู่ธุรกิจ พี่เลี้ยงมืออาชีพ เป็นต้น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย 2.เติมทุน ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งธนาคารได้รับมอบหมายจากรัฐบาล เช่น สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เพื่อธุรกิจเกษตร แปรรูปอาหาร ท่องเที่ยวชุมชน ค้าปลีก-ค้าส่ง และอาชีพอิสระ คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ นิติบุคคล ปีที่ 1-3 เพียง 0.25% ต่อเดือน ส่วนบุคคลธรรมดา ปีที่ 1-3 เพียง 0.42% ต่อเดือน และ 3.เติมคุณภาพชีวิต ช่วยให้เข้าถึงสิทธิ์ประโยชน์และสวัสดิการภาครัฐ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงในอาชีพ และลดภาระให้ครอบครัว

"จากการมอบ 3 เติมของ SME D Bank ช่วยยกระดับเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เอสเอ็มอี แม้ว่าจะมีปัจจัยภายนอกมากระทบ ก็ยังมีภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ธุรกิจเข้มแข็ง และเติบโตยั่งยืนได้อย่างแท้จริง" นายพงชาญ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้